ฐานเศรษฐกิจ เกาะติดมาตรการเยียวยาเอสเอ็มอี หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า “โครงการส่งเสริมและรักษาระดับการจ้างงานในธุรกิจ SMEs” ที่คณะรัฐมนตรี(ครม.)วันที่ 19 ตุลาคม 64 เห็นชอบโครงการและอนุมัติกรอบวงเงินโครงการจากพ.ร.ก.เงินกู้จำนวน 37,521.6900 ล้านบาท โดยมีกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน เป็นหน่วยงานรับผิดชอบโครงการ ซึ่งจะจ่ายให้กับนายจ้าง 3,000บาท ต่อหัวของลูกจ้าง แต่ไม่เกิน 200 คน เป็นเวลา 3 เดือน เท่ากับว่า หากบริษัทใดมีพนักงาน 200 คน จะได้รับเงินเยียวยา 1.8 ล้านบาท
แต่ก็มีหลายธุรกิจ สถานประกอบการ นายจ้าง สอบถามเข้ามาว่า แล้วนายจ้างจะต้องมีคุณสมบัติ เงื่อนไขอย่างไร ถึงจะได้รับเงินเยียวยาเอสเอ็มอีจากรัฐบาลในรอบนี้
ฐานเศรษฐกิจ ตรวจสอบข้อมูลจากกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงานพบข้อมูลดังนี้
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
1.เป็นนายจ้างภาคเอกชนที่อยู่ในระบบประกันสังคม (ฐานทะเบียนข้อมูลประกันสังคม มาตรา 33 สถานะ Active) ที่มีลูกจ้างรวมทุกสาขาไม่เกิน 200 คน ณ วันที่ 16 ต.ค. 2564 เพื่อตรวจสอบขนาดกิจการที่มีสถานะเป็น SMEs
2.ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ ส่งเสริมการจ้างงานเอสเอ็มอี.doe.go.th ตั้งแต่วันที่ 20 ต.ค. - 20 พ.ย. 2564
เงื่อนไขการจ่ายเงินอุดหนุน
1.รัฐจ่ายเงินอุดหนุนให้แก่นายจ้าง ตามจำนวนลูกจ้างสัญชาติไทย จำนวนไม่เกิน 200 คน ที่อยู่ในฐานทะเบียนข้อมูลประกันสังคม มาตรา 33 สถานะ Active ณ วันที่ 16 พ.ย. 2564
2.รับเงินอุดหนุน 3,000 บาท/คน/เดือน ระยะเวลา 3 เดือน (พ.ย. 2564 - ม.ค. 2565)
3.นายจ้างต้องรักษาระดับการจ้างงาน (ณ วันที่ 16 พ.ย. 2564) ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 95 ในระหว่างเข้าร่วมโครงการ
4. จ่ายเงินอุดหนุนเป็นรายเดือน ผ่านบัญชีธนาคารที่นายจ้างแจ้ง ทุกวันทำาการวันสุดท้ายของเดือน
5.นายจ้างที่ได้รับอนุมัติเข้าร่วมโครงการ
เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง