มติคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่19 ตุลาคมเห็นชอบแนวทาง เยียวยาผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19กรณี แบ่งจ่ายชำระค่าสิทธิ์การเช่าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ ให้กับ เครือเจริญโภคภัณ์หรือกลุ่มซีพี ผู้ถือหุ้นใหญ่บริษัทรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อม 3 สนามบิน จำกัด ที่ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัทเอเชีย เอราวัน จำกัด ตามข้อเสนอคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายก รัฐมนตรี เป็นประธาน, การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท. )ฯลฯ นั้น
นายสุวิช คุมานนท์ ประธานสมาพันธ์คนงานรถไฟ(สพ.รฟ.) มีหนังสือถึง นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท. ) ระบุกรณีรฟท.จะโอน สิทธิลงทุนในแอร์พลอร์ต เรลลิงก์ ให้กับภาคเอกชนคู่สัญญา ต้องชำระเงินให้การรถไฟฯจำนวน 10,671ล้านบาทก่อน ตามสัญญาร่วมลงทุนรถไฟความเร็วสูงเชื่อม3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ลงวันที่ 24 ตุลาคม 2562 ที่ต้องส่งมอบสิทธิ์ลงทุนในกิจการแอร์พลอร์ต เรลลิ้งก์ ภายใน 24เดือน
เป็นเงินจำนวน หนึ่งหมื่นหกร้อยเจ็ดสิบเอ็ดล้านเก้าหมื่นบาท (10,671,05.,000)บาท เอกชนจึงมีสิทธิเข้าไปดำเนินกิจการเชิง
พาณิชย์ในแอร์พอร์ต เรลลิงก์ได้ ทั้งนี้ กิจการแอร์พลอร์ต เรลลิ้งก์เป็นบริษัทลูกของรฟท.ที่มีสภาพพร้อมในการให้บริการโดยสารแก่ประชาชนอยู่แล้วและกิจการเข้าสู่จุดคุ้มทุนและเริ่มสูงเกิจการที่มีกำไรหากได้รับการส่งเสริมสนับสนุนที่ดีเมื่อเอกชนได้สิทธิลงทุนบริหารกิจการดังกล่าวก็สามารถดำเนินกิจการต่อหารายได้โตยไม่ต้องลงทุนใหม่ และยังสามารถนำสถานีและพื้นที่รอบสถานนีไปพัฒนาเชิงพาณิชย์ และยังได้พื้นที่ดินย่านมักกะสันประมาณ 150ไร่ พื้นที่ดินศรีราชาประมาณ 25ไร่ เป็นพื้นที่คิดค่าเช่าเปรียบเทียบจาก
ราคาประเมินมิใช่จากราคาตลาด สัญญาเช่าระยะยาว 50ปี และยังได้สทธิเช่าต่ออีก 49ปี เอกชนสามารถไปพัฒนาเชิงพาณิชย์ได้ทันทีหลังได้สิทธิ์ เอกชนจึงได้ประโยชน์จากโครงการนี้เป็นอย่างมาก
อย่างไรก็ตามขอย้ำว่า รฟท. ต้องรับชำระเงินจำนวน 10,671 ล้านบาท ก่อนการส่งมอบสิทธิต่างๆในกิจการแอร์พลอร์ล เรลลิงก์ให้แก่เอกชนจึงเรียนมาเพื่อให้การบริหารเกิดประโยชน์สูงสุดแก่การรถไฟฯ ประเทศชาติและประชาชนด้วย จักขอบคุณยิ่ง