กสิกรไทยมองบวกเศรษฐกิจไทยปี 64 ขยับเป็น 0.2%จาก-0.5%

27 ต.ค. 2564 | 06:15 น.
อัปเดตล่าสุด :27 ต.ค. 2564 | 13:30 น.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดปีหน้าจีดีพีขยายตัว 3.7% เหตุยังมีปัจจัยเสี่ยงทั้ง “ราคาน้ำมัน เงินเฟ้อ โควิด และภาระค่าครองชีพ” มองไตรมาส4บวก 3.6%แนวโน้มทั้งปีนี้โต 0.2% “วัคซีนและภาครัฐ”หนุน

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองเศรษฐกิจไทยปี 2564 ดีขึ้นกว่าเดิม รับคลายล็อกดาวน์และมาตรการเปิดประเทศที่เร็วกว่าที่มองไว้เดิม หลังการกระจายวัคซีนที่เร่งตัวขึ้นกว่าที่ประเมินไว้ในเดือนสิงหาคม 2564 นอกจากนี้ เศรษฐกิจไทยยังมีแรงส่งจากผลการเบิกจ่ายภาครัฐที่ออกมาดีกว่าคาดด้วย

กสิกรไทยมองบวกเศรษฐกิจไทยปี 64 ขยับเป็น 0.2%จาก-0.5%

นางสาวณัฐพร ตรีรัตน์ศิริกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด มองว่า ผลจากการคลายล็อกดาวน์และการเปิดประเทศที่เร็วขึ้นนี้ ทำให้ปรับเพิ่มคาดการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 1.5 แสนคน มาเป็น 1.8 แสนคน ดังนั้น ในภาพรวมแล้ว จึงทบทวนประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2564 โดยปรับเพิ่มคาดการณ์ขึ้นจากหดตัว -0.5% มาอยู่ที่ 0.2% ขณะที่ไตรมาส4เทียบช่วงเดียวกันกับปีก่อนหดตัว 5% แต่กลับมาเป็นบวก 3.6%หลังผ่านจุดต่ำสุดในไตรมาส3 ที่หดตัว 3% และเมื่อเทียบไตรมาส 2หดตัว 4.4%

อย่างไรก็ตาม ผลกระทบจากน้ำท่วมและภาระการครองชีพที่สูงขึ้นจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นอย่างมาก ตลอดจนความเสี่ยงที่การแพร่เชื้อในประเทศจะกลับมาหลังเปิดประเทศยังเป็นปัจจัยที่ทำให้การปรับประมาณการเศรษฐกิจในปี 2564 เป็นไปอย่างจำกัด

กสิกรไทยมองบวกเศรษฐกิจไทยปี 64 ขยับเป็น 0.2%จาก-0.5%

กสิกรไทยมองบวกเศรษฐกิจไทยปี 64 ขยับเป็น 0.2%จาก-0.5%

 

 

ส่วนปี 2565 นางสาวณัฐพร มองว่า เศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวที่ 3.7% จากความครอบคลุมของประชากรที่จะได้รับวัคซีนเกินกว่า 70% ซึ่งจะช่วยลดความจำเป็นที่จะต้องใช้มาตรการล็อกดาวน์ลง และการดำเนินธุรกิจไม่หยุดชะงัก นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยหนุนจากการส่งออก การใช้จ่ายครัวเรือนที่ฟื้นตัวจากฐานที่ต่ำและการกลับมาบริโภคหลังจากอั้นไว้ในช่วงล็อกดาวน์ ขณะที่ ปัจจัยเสี่ยงจะอยู่ที่ราคาพลังงานสูงและเงินเฟ้อ อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไทยยังไม่ได้เข้าสู่ภาวะ Stagflation โดยมองเงินเฟ้อในปี 2565 ที่ 1.6% บนเงื่อนไขที่ราคาน้ำมันโลกไม่ได้ยืนอยู่ในระดับสูงมากกว่า 100 ดอลลาร์ฯ ต่อบาร์เรลเป็นระยะเวลายาวต่อเนื่อง

กสิกรไทยมองบวกเศรษฐกิจไทยปี 64 ขยับเป็น 0.2%จาก-0.5%

          ทั้งนี้ หากราคาน้ำมันปรับตัวสูงจะกดดันภาระค่าครองชีพของผู้บริโภคแม้ภาครัฐจะตรึงราคาน้ำมันดีเซลไม่ให้เกิน 30บาทต่อลิตร  เพราะผลสำรวจครัวเรือนไตรมาส 3ยังพบว่า ครัวเรือน 73%รายได้ปรับลดลง และครัวเรือนส่วนใหญ่ยังคงมีรายจ่ายที่เพิ่มขึ้นสวนทางรายได้ที่ปรับลดลง และยังมีภาระหนี้บ้าน  รถยนต์ และบัตรเครดิต ซึ่งภาระค่าครองชีพของครัวเรือนจะเป็นปัจจัยต่อเศรษฐกิจไทยในปี 2565

          “ปี65มองจีดีพีเติบโต 3.7%ซึ่งอยู่ในกรอบที่จำกัดเพราะโควิดยังอยู่ และมีความเสี่ยงจากราคาน้ำมันและเงินเฟ้อ ซึ่งขึ้นอยู่กับราคาพลังงาน และปัญหาคอขวด  ซึ่งต้องอัพเดตตัวเลขภายใน 3เดือน หากราคาน้ำมันปรับเพิ่มไตรมาส 1ปีหน้าแล้วย่อตัวลงในระยะข้างหน้าหรือราคาน้ำมันไม่คงอยู่ในระดับสูงนานและหากสายพันธุ์ไวรัสโควิดไม่กลายพันธุ์ภาคธุรกิจก็ไม่สะดุด”

 

กสิกรไทยมองบวกเศรษฐกิจไทยปี 64 ขยับเป็น 0.2%จาก-0.5%

กสิกรไทยมองบวกเศรษฐกิจไทยปี 64 ขยับเป็น 0.2%จาก-0.5%

นางสาวเกวลิน หวังพิชญสุข ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด กล่าวเพิ่มเติมถึงผลกระทบจากน้ำท่วม โดยระบุว่าส่วนใหญ่ผลกระทบน่าจะอยู่ในปี 2564 โดยสถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นในช่วงเดือนกันยายนถึงตุลาคม 2564 คาดว่าจะสร้างความเสียหายให้กับทั้งภาคเกษตร ซึ่งน่าจะกระทบทั้งหมดประมาณ 6-7 ล้านไร่ รวมถึงนอกภาคเกษตร ที่สำคัญคือ ภาคบริการและแรงงานรับจ้างรายวันที่ได้รับผลกระทบจากการที่ธุรกิจหยุดชะงักลงบางพื้นที่กว่า 30 จังหวัดกินเวลา 10-15วัน  ดังนั้น โดยรวมแล้ว คาดว่ากระทบเศรษฐกิจไทยประมาณ 2.5 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 0.16% ของจีดีพี ซึ่งน้อยกว่าเหตุการณ์น้ำท่วมในปี 2551, 2553 และ 2560 ที่ผ่านมา และได้รวมผลกระทบข้างต้นในประมาณการจีดีพีปี 2564 แล้ว

         

         

สำหรับผลกระทบต่อราคาน้ำมันสูงต่อธุรกิจในปี 2564 นางสาวเกวลิน มองว่า ในกรณีที่ราคาน้ำมันดีเซลในระยะที่เหลือของปีนี้ อยู่ในช่วง 25.0-29.2 บาทต่อลิตร จะมีผลให้ต้นทุนการผลิตของภาคธุรกิจ เพิ่มขึ้นประมาณ 0.55-0.73% และต้นทุนขนส่งเพิ่มขึ้นประมาณ 0.33-0.44% หรือรวมกันธุรกิจจะมีต้นทุนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นราว 1% แต่ท่ามกลางภาวะที่ราคาน้ำมันชนิดอื่นๆ ปรับขึ้นแรงกว่าน้ำมันดีเซลที่ยังมีกลไกการดูแลราคาจากภาครัฐ รวมถึงการที่ต้นทุนอื่นๆ โน้มเพิ่มขึ้นในภาวะที่ยอดขายยังไม่กลับมา ก็ย่อมจะเพิ่มโจทย์การฟื้นตัวให้กับภาคธุรกิจ ขณะที่ ยังต้องติดตามสถานการณ์ราคาน้ำมันต่อในปีหน้าด้วย

“บนสมมติฐานจากราคาน้ำมันดีเซลปรับเพิ่ม15%จากสิ้นปีก่อนจะส่งผลต้นทุนเฉลี่ยเพิ่ม 1%แต่ขึ้นอยู่กับภาครัฐที่พยายามจะควบคุมให้ราคาไม่เกิน 30บาท/ลิตร แต่ภาคธุรกิจจะเจอต้นทุนที่เพิ่มจากหลายด้านรวมทั้งแรงงาน”

สำหรับแนวโน้มทิศทางค่าเงินบาทสิ้นปีคาดว่าจะเคลื่อนไหวในกรอบ 32.5-34บาท/ดอลลาร์(ค่ากลาง 32.75บาท/ดอลลาร์