ธปท.ส่งสัญญาณกิจกรรมทางเศรษฐกิจเดือนตุลาคมมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องจากเดือนกันยายน ขณะที่ไตรมาส 3 เศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบรุนแรงจากการแพร่ระบาดและมาตรการควบคุมการระบาดที่เข้มงวด
นางสาวชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้อำนายการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ภาพรวมเศรษฐกิจในเดือนกันยายน 2564 พบว่าเศรษฐกิจเดือนกันยายนเครื่องชี้หลายตัวปรับตัวดีขึ้น หลังมีการทยอยผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาดหนุนการใช้จ่ายในประเทศเพิ่มขึ้นการส่งออกฟื้นตัวตามเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าและปัญหา supply chain disruption จากการปิดโรงงานในไทยที่คลี่คลายแต่การขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์และตู้คอนเทนเนอร์ยังยืดเยื้อกดดันภาคการผลิตและการส่งออกต่อเนื่อง
ทั้งนี้ ภาพรวมเศรษฐกิจในเดือนกันยายนพบว่าเครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชนขยายตัว3.9%จากหดตัว2.1%ในเดือนสิงหาคมโดยการบริโภคเอกชน เพิ่มขึ้นในเกือบทุกหมวดจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้น หลังจาก7เดือนที่ปรับลดลง แต่ ยังอยู่ในระดับที่ค่อนข้างต่ำรวมทั้งยอดจำหน่ายสินค้าหมวดคงทน รถยนต์ส่วนบุคคล รถจักรยานยนต์และรถยนต์เชิงพาณิชย์ที่เพิ่มขึ้น อีกปัจจัยที่คือแรงสนับสนุนจากมาตรการภาครัฐ พยุงกำลังซื้อ
สำหรับตลาดแรงงานปรับตัวดีขึ้นบ้างเห็นได้จากความเชื่อมั่นของผู้ประกอบอาชีพอิสระปรับดีขึ้น และสัญญาณแรงงานที่ย้ายถิ่นฐานลดลงจากก่อนหน้าและเริ่มเห็นการย้ายเข้าสู่พื้นที่อุตสาหกรรมแต่ภาพรวมของตลาดแรงงานยังคงมีความเปราะบางจากจำนวนผู้ประกันตนมาตรา 39 ที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องสะท้อนถึงแรงงานที่ยังไม่สามารถกลับสู่ระบบได้
ด้านการลงทุนขยายตัว 1.5%จากที่หดตัว 2.3%ในเดือนก่อนหลักๆมาจากภาวะอุปสงค์ที่ดีขึ้นแล้วความเชื่อมั่นภาคธุรกิจที่ปรับดีขึ้นโดยดัชนีการลงทุนที่เพิ่มขึ้นจะมาจากทั้งเครื่องจักรและอุปกรณ์ รวมทั้งหมวดก่อสร้างที่มียอดขายคอนกรีตดีขึ้นภายหลังการผ่อนคลายมาตรการปิดแคมป์ก่อสร้าง ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นด้านการลงทุนไม่ว่าภาคการผลิตหรือภาคการผลิตปรับดีขึ้นจากเดือนสิงหาคมแต่ยังอยู่ต่ำกว่าระดับค่าเฉลี่ยของปี 63 และ 62และความเชื่อมั่นในภาคบริการยังอยู่ในระดับต่ำกว่า 50
ส่วนการใช้จ่ายภาครัฐที่ไม่รวมเงินโอนขยายตัวต่อเนื่องจากระยะเดียวกันปีก่อน โดยรายจ่ายประจำกลับมาขยายตัว จากการซื้อสินค้าและบริการและบุคลากรอยู่ที่ 5.8% สำหรับรายจ่ายลงทุนหดตัว 14.8% จากฐานสูงปีก่อนตามการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณของรัฐบาลกลาง และการเบิกจ่ายลงทุนของรัฐวิสาหกิจหดตัว0.2%
ด้านต่างประเทศเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่ฟื้นตัว เห็นได้จากสหรัฐและจีน สถานการณ์ดีขึ้น แต่การผลิตหลายประเทศยังได้รับผลกระทบจากปัญหาซัพพลายดิสรับชั่น ไม่ว่าจะเป็นเซมิคอนดักเตอร์หรือตู้คอนเทนเนอร์ที่ยังยืดเยื้อ ขณะที่ภูมิภาคเอเชียมีสัญญาณที่ดีขึ้นจากสถานการณ์ระบาดคลี่คลาย
อย่างไรก็ดีการฟื้นตัวที่ดีขึ้นตามอุปสงค์ของประเทศคู่ค้าส่งผลให้ภาคการส่งออกไทยเดือนกันยายนขยายตัวได้ 2.0% จากที่หดตัว 3.7% ในเดือนสิงหาคม โดยการส่งออกดีขึ้นทุกหมวดเช่น หมวดยานยนต์ผงกหัวขึ้นจากการส่งออกไปเวียดนาม ออสเตรเลีย ญึ่ปุ่น และอลูมิเนียมที่ส่งไปสหรัฐและอินเดีย หรือฮาร์ดดิสไดร์ฟไป สหรัฐ ฮ่องกง
สำหรับภาคการผลิตอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ยังล้อไปกับภาคการส่งออก โดยหลักๆมาจากการเพิ่มขึ้นตามอุปสงค์ที่ฟื้นตัวทั้งในและต่างประเทศรวมทั้งปัญหาการปิดโรงงานชั่วคราวในไทยที่คลี่คลายลง รวมถึงการผลิตอาหารกระป๋องและภาคบริการที่เพิ่มขึ้น เครื่องใช้ไฟฟ้า อย่างไรก็ดีด้านการผลิตยังมีแรงกดดันจากปัญหา supply ดิสรับชั่นอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติโดยรวมอยู่ในระดับต่ำ 12,237คนและปรับลดลงจากเดือนสิงหาคมอยู่ที่ 15,105คนซึ่งหลักๆมาจาก 2ประเทศคือ สหรัฐและอังกฤษ ประกาศประเทศไทยมีความเสี่ยงสูงสำหรับการเดินทาง แม้ปัจจุบันจะถอดออกจากประเทศเสี่ยงแล้วก็ตาม ขณะที่ดุลบัญชีเดินสะพัดเดือนกันยายนขาดดุล 1.3 พันล้านดอลลาร์ซึ่งน้อยกว่าเดือนสิงหาคมอยู่ที่ 2.5 พันล้านดอลลาร์
สำหรับอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทในเดือนกันยายนโดยรวมทรงตัวช่วงต้นเดือนแข็งค่าจากสัญญาณเปิดประเทศ จำนวนผู้ติดเชื้อที่ปรับลด แต่ครึ่งปีหลังเงินบาทกลับมาอ่อนค่า จากปัจจัยความกังวลของการดำเนินนโยบายธนาคารกลางจะผ่อนคลายนโยบายการเงิน ความกังวลจากบริษัทเอเวอร์แกรนด์ใน จีนและภาครัฐมีการทยอยออกพันธบัตรมากกว่าตลาดคาด แต่เทียบประเทศคู่ค้าคู่แข่งค่าเงินบาทอยู่ในระดับทรงตัวใกล้เคียงกับเดือนสิงหาคม ทั้งนี้ เงินบาทอ่อนค่าลงในเดือนตุลาคมตามเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้น แต่ช่วงหลังจากรัฐบาลประกาศเปิดประเทศเงินบาทกลับมาแข็งค่า
สำหรับอัตราเงินเฟ้อทั่วไปปรับเพิ่มขึ้นเป็น 1.68%จาก 2 ปัจจัยคือ มาตรการลดค่าไฟฟ้าและค่าน้ำประปาของภาครัฐที่สิ้นสุดลง อีกส่วนคือ ราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศที่ปรับตัวเพิ่มตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกส่วนเงินเฟ้อพื้นฐาน 0.19%ปรับขึ้นเล็กน้อยจากมาตรการลดค่าน้ำค่าไฟของภาครัฐที่สิ้นสุดลงเช่นกัน
นางสาวชญาวดีกล่าวเพิ่มเติมว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจเดือนตุลาคมมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องจากเดือนกันยายน โดยผลสำรวจผู้ประกอบการระหว่างวันที่ 1-20 ตุลาคมพบว่า หลายธุรกิจปรับตัวฟื้นตัวขึ้นเช่นภาคการผลิตตลาดส่งออกส่งตัวตามคำสั่งซื้อต่างประเทศโดยเฉพาะกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
ขณะที่ภาคบริการมีสัญญาณดีขึ้น ทั้ง โรงแรม อัตราการเข้าพัก หรือ ร้านอาหารและด้านขนส่งสินค้าดีขึ้น ขณะที่ภาคการค้า ยอดขายในห้างสรรพสิรค้าดีขึ้น แต่สินค้าอุปโภคบริโภคอาจฟื้นตัวได้จำกัดโดยสินค้าคงทนยอดขายยังไม่ดีตามกำลังซื้อที่อ่อนแอส่วนภาคอสังหาริมทรัพย์เริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัวในกลุ่มบ้านแนวราบการก่อสร้างทรงตัวตามการลงทุนที่ยังฟื้นตัวได้ช้าและได้รับผลกระทบจากราคาวัสดุก่อสร้าง และค่าแรงที่ยังสูง
สำหรับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วมภาคการผลิตอุตสาหกรรม เนื่องจากโรงงานส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในพื้นที่ดอนที่น้ำท่วมไม่ถึงรวมทั้งภาคอุตสาหกรรมมีบทเรียนจากเหตุการณ์น้ำท่วมปี 2554 และมีการเตรียมมาตรการรองรับไว้แล้ว สำหรับภาคเกษตรได้รับความเสียหายประมาณ 5.3 ล้านไร่ เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบ 4.6 แสนรายซึ่งธปท. ประเมินมูลค่าความเสียหายภาคเกษตรจะส่งผลต่อ GDP ลดลง 0.05 ถึง 0.1 %ตามลำดับซึ่งต้องติดตามพายุ "ญาโตะส์"
"โดยสรุปภาวะเศรษฐกิจในเดือนกันยายนปรับตัวดีขึ้นหลังทยอยผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาดส่งผลให้การใช้จ่ายในประเทศเพิ่มขึ้น การส่งออกสินค้าเพิ่มขึ้นตามเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่ฟื้นตัวและปัญหาซัพพลายดิสรัปชั่นจากการปิดโรงงานในไทยที่คลี่คลายลงอย่างไรก็ตามการขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์และตู้คอนเทนเนอร์อย่างยืดเยื้อและกดดันภาคการผลิตการส่งออก
สำหรับไตรมาส 3 ได้รับผลกระทบค่อนข้างมากจากการระบาดของสายพันธุ์เดลต้าเศรษฐกิจในไตรมาส 3 จึงได้รับผลกระทบรุนแรงแต่มีจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นบ้างหลังจากเปิดแซนบ็อกในเดือนกรกฎาคม และล่าสุดเดือนตุลาคมกิจกรรมทางเศรษฐกิจยังฟื้นตัวได้ต่อเนื่องยังต้องติดตามสถานการณ์ปัญหา ซัพพลายดิสรัปชั่นทางการขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์และตู้คอนเทนเนอร์รวมถึงราคาพลังงานหรือวัตถุดิบที่เร่งตัวขึ้นและอุทกภัย"