3 พฤศจิกายน 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ที่ประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ บอร์ด สปสช. ครั้งที่ 12/2564 เมื่อวันที่ 1 พ.ย. 2564 ที่มีนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธาน ได้มีมติเห็นชอบ (ร่าง) ประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง ประเภทและขอบเขตของบริการสาธารณสุข พ.ศ. 2564 โดยมอบสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เสนอประธานกรรมการเพื่อพิจารณาลงนามและประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป
สำหรับ (ร่าง) ประกาศฯ ฉบับนี้ สืบเนื่องมาจากมติบอร์ด สปสช.ครั้งที่ 2/2563 เมื่อวันที่ 3 ก.พ. 2563 ที่ได้เห็นชอบข้อเสนอแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหากรณีประชาชนถูกหน่วยบริการเรียกเก็บค่าบริการ ซึ่งหน่วยบริการไม่มีสิทธิที่จะเรียกเก็บ (Extra Billing) โดยได้มอบคณะอนุกรรมการกำหนดประเภทและขอบเขต
ในการให้บริการสาธารณสุข ทำความชัดเจนเรื่องสิทธิประโยชน์ และทบทวนระเบียบหรือประกาศที่เกี่ยวข้อง พร้อมมอบคณะอนุกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์การดำเนินงานและการบริหารจัดการกองทุน ปรับปรุงระบบสนับสนุนทางการเงินอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดเงื่อนไขที่ทำให้เกิด Extra Billing
รศ.พญ.ประสบศรี อึ้งถาวร ประธานคณะอนุกรรมการกำหนดประเภทและขอบเขตในการให้บริการสาธารณสุข เปิดเผยว่า (ร่าง) ประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง ประเภทและขอบเขตของบริการสาธารณสุข พ.ศ.2564 เป็นการทบทวนระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปี 2544
และรวบรวมประกาศคณะกรรมการฯ ที่เคยมีมาตั้งแต่ปี 2546 รวมกว่า 31 ฉบับ มาจัดกลุ่มและรวมในฉบับเดียวกันประเภทใหม่ เพื่อให้เกิดความชัดเจนเกี่ยวกับสิทธิในการได้รับบริการสาธารณสุขตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ว่าครอบคลุมค่าใช้จ่ายในบริการใดบ้าง รวมทั้งบริการใดบ้างที่ไม่ครอบคลุม
ในส่วนของเนื้อหาภายใต้ (ร่าง) ประกาศฯ ฉบับนี้ ได้บรรจุประเภทและขอบเขตของบริการสาธารณสุขที่มีความจำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต ซึ่งบุคคลมีสิทธิจะได้รับรวม 13 รายการ ได้แก่
8.การบริบาลทารกแรกเกิด
9.บริการรถพยาบาล หรือบริการพาหนะรับส่งผู้ป่วย
10.บริการพาหนะรับส่งผู้ทุพพลภาพ
11.การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายและจิตใจ
12.บริการสาธารณสุขด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะ
13.บริการสาธารณสุขอื่นที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิตที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนดเพิ่มเติม
ขณะที่บริการสาธารณสุขที่ไม่อยู่ในประเภทและขอบเขตของบริการและไม่สามารถรับค่าใช้จ่ายได้ คือ
ส่วนกรณีการป้องกันไม่ให้เกิด Extra Billing ประกาศฉบับนี้ได้มีการเพิ่มความชัดเจนในข้อที่ระบุไว้ว่า บุคคลผู้มีสิทธิที่เข้ารับบริการตามประเภทและขอบเขตของบริการสาธารณสุขที่กำหนดในประกาศนี้ จะได้รับความคุ้มครองโดยไม่ต้องจ่ายค่าบริการ ยกเว้นเฉพาะกรณี 1.เป็นการร่วมจ่ายค่าบริการตามประกาศฯ ว่าด้วยการร่วมจ่าย
2.เป็นการบริการที่เป็นข้อยกเว้น ไม่คุ้มครองตามที่กำหนด 3.เป็นการเข้ารับบริการที่ไม่ใช่หน่วยบริการประจำของตน หรือหน่วยบริการปฐมภูมิในเครือข่ายหน่วยบริการที่เกี่ยวข้อง โดยไม่มีการส่งต่อ หรือไม่ใช่กรณีที่มีเหตุสมควร กรณีอุบัติเหตุ เจ็บป่วยฉุกเฉิน
ส่วนบริการที่เคยเป็นข้อยกเว้น และได้รับการเสนอให้เป็นสิทธิที่จะได้รับในฉบับนี้ เช่น การบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาและสารเสพติดที่ไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดที่มีกำหนดเกี่ยวกับการให้บริการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด การบริการสาธารณสุขที่เกี่ยวกับอุบัติเหตุการประสบภัยจากรถที่ไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
การรักษาภาวะมีบุตรยากและการผสมเทียม ยกเว้นการดำเนินการที่เกี่ยวกับการตั้งครรภ์แทน (Surrogacy) และการรักษาโรคเดียวกันที่ต้องใช้ระยะเวลารักษาตัวในโรงพยาบาลประเภทผู้ป่วยใน เกินกว่า 180 วัน รศ.พญ.ประสบศรี กล่าว