6 พ.ย.2564 - "ฐานเศรษฐกิจ" เกาะติดสถานการณ์ "ราคาข้าวไทย" ความทุกข์ยากชาวนา ยุคโควิด - น้ำท่วม เปิดปมร้อน ทำไม? ข้าวกิโลละ 5 บาทถูกกว่ามาม่า ! เจาะสัมภาษณ์พิเศษ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ "มัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข " หนึ่งในทีม JurinSvengerS
5 ถาม 5 คำตอบ ชาวนา และข้าว
1.ทำไมข้าวราคาถูก
มัลลิกา : เพราะบาทแข็งก่อนหน้านี้แล้วเพิ่งจะอ่อนลงมานี่เอง ขณะเดียวกันผู้ประกอบการส่งออกก็มีปัญหาเรื่องเกี่ยวกับสถานการณ์โควิดแล้วขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ในการขนส่งทางเรือซึ่งเราก็แก้สถานการณ์ทุกระลอกประจวบกับเพราะน้ำท่วมฝนลงตอนเก็บเกี่ยวข้าวทำให้ข้าวมีความชื้นมากกว่า30-40%ชาวนาไม่มีที่เก็บก็ขายในความชื้นที่มากซึ่งข้าวปกติความชื้นต้องไม่เกิน 15%
แต่อย่างไรก็ตามชาวนาท่านก็จะได้ส่วนต่างราคาข้าวที่ตกลงช่วงนี้จากโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว จะสังเกตเห็นว่าโครงการสองปีที่ผ่านมาชาวนาได้เฮ!ตลอด แต่มาช่วงต้นฤดูปีการผลิตปีนี้เท่านั้นซึ่งเป็นปีที่3ของรัฐบาลที่สถานการณ์หลายอย่างมาประจวบกัน
2.ค่าต้นทุน ค่าส่วนต่าง ค่าน้ำท่วม ได้เมื่อใด
มัลลิกา : น้ำท่วมลงทะเบียนในพื้นที่และได้รับตามสิทธิของเหตุที่จังหวัดนั้นๆประกาศภัยพิบัติซึ่งเรื่องนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับผิดชอบและดำเนินการอยู่ ค่าส่วนต่างของโครงการประกันรายได้เกษตรกรงวดแรกของปีการผลิตนี้ได้ 9พ.ย.64 และงวดที่2-3-4 จ่ายตามไป เนื่องจากงวดแรกนั้นประกาศราคาเกณฑ์กลางจากอนุกรรมการเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2564 ส่วนงวดที่ 2-3-4 ประกาศราคาเกณฑ์กลางเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2564
ส่วนค่าไถหว่านหรือเงินช่วยต้นทุนการผลิตนั้น ภาษาทางการเรียกโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตร ไร่ละ 1,000 บาทได้ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ อยู่ระหว่างนำเสนอคณะรัฐมนตรี ทางท่านรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์"จุรินทร์"นำเข้าขออนุมัติแล้วจาก นบข.หรือคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติแล้วและด้วยเป็นก้อนงบประมาณที่มากและบริหารจัดการเพื่อให้ถูกระเบียบบกฎหมายวินัยการเงินการคลังจึงต้องหารืออย่างรอบคอบกับกระทรวงการคลังและทุกฝ่ายแล้วกำลังจะนำเข้าขออนุมัติครม.ต่อไป แล้วเมื่อครม.เคาะก็จะจ่ายตามมาหลังจากนี้
3.ทำไมข้าวกิโลละ 5 บาทถูกกว่ามาม่าอีก
มัลลิกา: เป็นดราม่าจุดประเด็นจากพรรคการเมืองหนึ่งที่เคยทำจำนำข้าวแล้วเกิดการทุจริตอย่างมโหฬารแต่เขาไม่อธิบายข้อเท็จจริง คือ เลือกที่จะพูดข้อมูลด้านเดียวแต่ความจริงคือข้าวตกต่ำที่สุด มากกว่านี้เมื่อกว่า 10 ปีที่แล้วนะคะ แต่ในวันนี้ข้าวราคาตกเรายอมรับแต่ ชาวนาได้ส่วนต่างจากราคาข้าวที่ตกลงนั้นจากหลักประกันของรัฐบาลซึ่งตรงนี้ตัวแทนพรรคการเมืองนั้นเลี่ยงที่จะพูดถึงและไม่อธิบายประชาชน ความจริงจะดีมากเลยถ้าท่านเป็นผู้แทนแล้วอธิบายให้ประชาชนทราบถึงระเบียบกฏเกณฑ์ขั้นตอนในนโยบายปัจจุบันไม่ใช่บิดเบือนสร้างฝันถึงนโยบายอดีตซึ่งเต็มไปด้วยการทุจริต แต่ส่วนต่างในโครงการประกันรายได้ชาวนานั้น
เงินทุกบาทเข้าบัญชีเกษตรกรโดยตรงไม่มีใครสามารถเบียดบังทำการทุจริตได้เลยแม้แต่บาทเดียว เพียงแต่เมื่อสถานการณ์ราคาข้าวไม่ดีก็จะเป็นภาระงบประมาณของรัฐบาลมากหน่อยแต่ถ้าค่าราคาดีเหมือนกับพืชชนิดอื่นที่เราบริหารจัดการราคาพุ่งเกินรายได้ที่ประกันไว้ก็ไม่ตกเป็นภาระของงบประมาณคือไม่ต้องจ่าย เช่น ปาล์มน้ำมันที่ราคาถึงกิโลละ 9 บาท ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กิโลละ 9-10 บาท มันสำปะหลังกิโลละ 2.70 บาท และยางพารา เป็นต้น ส่วนผลเม้เราก็บริหารจัดการให้ราคาดีเพราะบริหารตลาดและผลักดันการส่งออกไปตลาดที่ใกล้และเร็ว
ส่วนเรื่องข้าว นอกจากโครงการประกันรายได้เกษตรกรรัฐบาลยังดูแลด้วยมาตรการเสริมซึ่งมีทั้งสินเชื่อชะลอการขายคือเก็บข้าวไว้ก่อนให้มันแห้งค่อยขายราคาดีค่อยเอาออกมาขาย สินเชื่อสหกรณ์กลุ่มเกษตรกรเพื่อเก็บรวบรวมข้าวและชดเชยดอกเบี้ยสำหรับผู้ประกอบ ซึ่งมาตรการทั้งหมดคลอดออกมาพร้อมกันยอมรับว่าการจัดการด้านงบประมาณกับกระทรวงการคลังค่อนข้างช้ากว่าปีที่1และปีที่2 ทำให้ผู้ประกอบการโรงสีสหกรณ์กลุ่มการเกษตรรมาตรการเสริม 3 ตัวนี้จากครม.ด้วย และเมื่อ 4 พฤศจิกายนเพิ่งเคาะผ่าน
4.แล้วจะทำยังไงให้ข้าวแพง
มัลลิกา : ใช้ยุทธศาสตร์ข้าวไทยปี63-67 และยุทธวิธี"ตลาดนำการผลิต" จะร่วมมือกันระหว่างกระทรวงเกษตรและกระทรวงพาณิชย์ 1.เดินหน้าส่งออกข้าวโดยผลิตให้ตรงกับตลาดซึ่งกำลังทำอยู่ ส่งเสริมตลาดข้าวพรีเมียม แปรรูป และบุกตลาดโดยเปิดตลาดใหม่ ฟื้นตลาดเก่า ลุยเพิ่มปริมาณในตลาดเดิม ด้วยการส่งเสริมการขายการสร้างมาตรฐานที่ปลอดภัยให้กับผู้บริโภคซึ่งปัจจุบันรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์"จุรินทร์" ดำเนินงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดกับภาคเอกชนในรูปแบบ กรอ.พาณิชย์ เพื่อลดอุปสรรคในการส่งออกและแก้ไขปัญหาทุกอย่างอย่างทันท่วงที
รองนายกรัฐมนตรี"จุรินทร์" เป็นประธานคณะอนุกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์เข้าไทยปี 2563-2567 เป้าหมายทำให้ไทยเป็นผู้นำการผลิตการตลาดข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวคุณภาพของโลกภายใต้หลักการตลาดนำการผลิตมี 4 ด้านคือ
5.ระยะอันใกล้นี้จะผลักดันการส่งออกอย่างไร ในสถานการณ์โควิด
มัลลิกา : 1.รองนายกฯจุรินทร์ สั่งการให้เร่งเจรจาการเปิดด่านทุกเส้นทางเพื่อระบายสินค้าส่งออกของไทยทุกชนิดเพื่อเพิ่มรายได้ที่จะนำเข้าประเทศซึ่งได้รับความร่วมมืออย่างดีจากประเทศที่เกี่ยวข้องกับการค้าชายแดนและผ่านแดน และตลอด 9 เดือนที่ผ่านมาของปีนี้แม้ทุกประเทศเจอสถานการณ์วิกฤติแต่ประเทศไทยสามารถพักดันการส่งออกด้านชายแดนและผ่านแดนได้เป็นอย่างดีและเราจะทำต่อไป เรื่องสินค้าข้าวก็เช่นกัน 2.การส่งออกตลาดโลก แถวเน้นขยายตลาดในเขต Rcep ซึ่งมีประชากรรวมกันครึ่งโลกผู้บริโภคจำนวนมากและในต้นปีหน้าจะเป็นการเริ่มใช้เงื่อนไขด้าน FTA ระหว่างกันเราจะขยายตลาด และบุกตลาดทั้งประเทศหลักและเมืองรอง
รวมทั้งแผนการส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศในกิจกรรมระดับโลกเราจะเข้มงวดกับ 58 พื้นที่ทูตพาณิชย์ของเราเพื่อความสำเร็จเชิงนโยบายทุกฝ่ายต้องทำงานเชิงรุก และตอนนี้การส่งออกข้าวกระเตื้องมา 2 เดือนแล้วเป้าหมายสิ้นปีนี้จะต้องได้ไม่ต่ำกว่า 6 ล้านตัน ตอนนี้มาตรการเสริมออกก็จะยิ่งคึกคักมากขึ้นแต่ช่วงสองเดือนที่ผ่านมาผู้ประกอบการไปขออนุญาตการส่งออกข้าวเพิ่มขึ้น 3.รองนายกฯจุรินทร์ได้เร่งรัดกรมการค้าต่างประเทศให้ติดตามการเจรจากับทางการจีนที่ยังต้องซื้อข้าวไทยที่ค้างตามข้อตกลงเดิมอยู่อีกประมาณกว่า 2 แสนตัน จังหวะนี้ค่าเงินบาทอ่อนค่าราคาข้าวไทยปรับลดลงมาอยู่ในระดับที่แข่งขันได้มากขึ้นน่าจะเป็นผลบวกกับการเจรจา
6.อยากบอกอะไรกับชาวนา
มัลลิกา: พี่น้องเกษตรกรชาวนาและตัวแทนชาวนาซึ่งอยู่ในคณะทั้งอนุกรรมการราคากลางและกรรมการนโยบายและยุทธศาสตร์ข้าวแห่งชาติ ทราบถึงความจิงใจของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาเพราะตลอด2ปีที่ผ่านมาเรารับมือทำงานเชิงรุกด้วยกันมาอย่างดีจะสังเกตว่าไม่เคยมีม็อบเลย และวันนี้รัฐบาลกับกระทรวงพาณิชย์ก็จะเดินหน้าแก้ไขด้วยความจริงใจแต่ด้วยหลายปัจจัยที่ท้าทายการทำงานของรัฐบาลและกระทรวงพาณิชย์แต่เราก็จะทำให้ได้ไวและจะทำให้ได้จริง
โครงการประกันรายได้เกษตรกรพืช 5 ชนิด กำลังเดินหน้าปีที่3ของรัฐบาลและหนึ่งในนั้นคือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวหรือชาวนา งวดแรกจ่ายส่วนต่างวันที่ 9 พฤศจิกายน 64 จากนั้นก็ตามไปเราช่วยเกษตรกรผู้ปลูกข้าว 4.68 ล้านครัวเรือน เข้าหอมมะลิประกันรายได้ที่ 15,000 บาทต่อตัน(14ตัน) เข้าหอมมะลินอกพื้นที่ 14,000 บาทต่อตัน(16ตัน) ข้าวหอมปทุม 11,000 บาทต่อตัน(25ตัน) เข้าเจ้า 10,000 บาทต่อตัน (30ตัน) และข้าวเหนียว 12,000 บาทต่อตัน(16ตัน)
ชาวนาจะได้เงินสองกระเป๋าคือได้จากการขายข้าวหากราคาตกต่ำก็จะได้เงินส่วนต่างเข้ากระเป๋าชาวนาเองแต่ถ้าราคาข้าวดีขึ้นกว่ารายได้ที่ประกันไว้ตามนั้น และก็แปลว่าเกษตรกรจะได้เงินกระเป๋าเดียวจากราคาข้าวแต่เป็นราคาที่สูงจากการยกระดับราคานั่นเอง
ไทม์ไลน์จ่ายเงินโครงการรายได้เกษตรกร (ส่วนต่างราคาข้าว)