สืบเนื่องจาก สำนักงานบริหารมหาสมุทรและบรรยากาศแห่งชาติ (NOAA) กระทรวงพาณิชย์สหรัฐอเมริกาได้เสนอกฎหมาย Marine Mammal Protection Act (MMPA) เพื่อคุ้มครองสัตว์ทะเลเลี้ยงถูกด้วยนมมิให้ได้รับอันตรายจากการทำประมง โดยกำหนดให้ประเทศที่ส่งออกสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำไปสหรัฐอเมริกาจะต้องแสดงให้เห็นว่ามีการทำประมงที่ไม่ทำอันตรายต่อสัตว์น้ำทะเลที่เลี้ยงลูกด้วยนม ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 เป็นต้นไป มีความคืบหน้าตามลำดับ
นายมงคล สุขเจริญคณา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายประมงแห่งชาติ เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ผลการศึกษาที่กรมประมงได้ทำรายงาน จาก 11 เครื่องมือประมง ขณะนี้มีการปรับลดเหลือ 3 เครื่องมือประมง ที่มีรายงานว่าเป็นสาเหตุการเกยตื้นของสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนม โดยที่ทั้งลอบและอวนติดตา เป็นเครื่องมือประจำที่ใช้ทำการประมงได้ทั้งในเขตและนอกเขตทะเลชายฝั่ง
ส่วนอวนลาก ในรายงานก็อ้างว่าเป็นเครื่องมือเคลื่อนที่ ต้องทำการประมงนอกเขตทะเลชายฝั่งเท่านั้น แหล่งทำประมงลอบที่ระดับความลึกน้ำ 3-30 เมตร การวางลอบมีทั้งวางตอนเช้ามืดเป็นเวลา 4-6 ชั่วโมง หรือวางตอนเย็นตลอดทั้งคืน ส่วนอวนติดตา ทำประมงได้ทั้งกลางวันและกลางคืน โดยวางอวน 30 นาที จนถึง 2 วัน ขึ้นอยู่กับชนิดสัตว์น้ำเป้าหมายและอวนลากจะลากอวนด้วยความเร็วต่ำ 3-4 น็อต เป็นเวลา 3-6 ชั่วโมง ในเวลากลางวัน หรือ 8-9 ชั่วโมงในเวลากลางคืน
ส่วนโลมาสามารถว่ายน้ำ ด้วยความเร็ว 8-30 น็อต หากเปรียบเทียบ อวนลาก เปรียบ “รถจักรยาน” ขณะที่โลมา เปรียบดั่ง "รถบิ๊กไบค์" แต่กรมประมงเอาเครื่องมืออวนลากเข้าไปเกี่ยวข้องถึงไม่มีน้ำหนัก
นายมงคล กล่าวว่า วันนี้หลักฐานชัดเจน จากเหตุการณ์วันที่ 22 พ.ย. ที่ผ่านมา บริเวณหน้าอ่าวเตล็ด อ.ขนอม น้องต๊ะ เป็นเด็กที่แสนจะน่ารักอีกแล้ว ได้ขับเรือมณีชมโลมา บังเอิญหันไปเห็นแม่โลมากระโดดโชว์ จึงได้ขับเรือเข้าไปใกล้ๆ แล้วพบลูกโลมาติดอวนลอยอยู่ คาดว่าเป็นการส่งสัญญาณเพื่อให้เข้าไปช่วยเหลือ เพราะแม่โลมากระโดดสูงมาก น้องต๊ะจึงได้กระโดดลงไปช่วยชีวิตโลมาตัวน้อยที่ติดอวนอยู่ตามที่เห็นในคลิป หลักฐานชัดขนาดนี้ กรมประมงรู้หรือยังว่าโลมาติดเครื่องมือประมงอะไร โลมาเป็นปลาผิวน้ำ จะไปติดเครื่องมือหน้าดินได้อย่างไร
“ผมคิดว่าวันนี้ถ้าช้ากว่านี้หน่อยเดียวได้มีข่าวออกว่าโลมาเกยตื้นที่ อ.ขนอมแน่นอน ผมจึงอยากจะชื่นชมน้องต๊ะ ไต๋เรือได้มีจิตสำนึกในการช่วยเหลือโลมาอย่างมากในครั้งนี้ นอกจากนี้ยังมีชาวประมงทั้งประเทศที่ได้เห็นคลิปนี้ต่างแห่ชื่นชมกับการกระทำของน้องกันมากมาย เมื่อ "กรมประมง" ทราบความจริงแล้วเป็นเครื่องมือชนิดไหนที่มีผลต่อสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนม จึงอยากให้ถอดเครื่องมือ "อวนลาก" ออกจากเครื่องมือเสี่ยงทันที เพราะไม่เกี่ยวกันเลย”
อนึ่ง ผลการศึกษาโครงการการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการปรับเปลี่ยนเครื่องมือประมงวิธีการทำการประมงเพื่อป้องกันการเติดโดยบังเอิญของสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนม ผลการศึกษา มีสาระข้อความว่า สัตว์ทะเลหายาก สัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนม เช่น เต่า พะยูน โลมา และวาฬ เป็นตัชนีชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศ จากรายงานการช่วยเหลือสัตว์ทะเลหายากเกยตื้น 3 ปีย้อนหลัง พบว่ามีจำนวนเฉลี่ยปีละ 400 ตัว
โดยแบ่งเป็นเต่ทะเลร้อยละ 57 “โลมา” และ “วาฬ” ร้อยละ 38 และ “พะยูน” ร้อยละ 5 สาเหตุการเกยตื้นของเต่าทะเลและพะยูนเกิดจากการติดเครื่องมือประมงร้อยละ 74 และ 89 ตามลำดับ ส่วน “โลมา” และ “วาหมี” บ้างที่ติดเครื่องมือประมง แต่ส่วนใหญ่มากกว่าร้อยละ 60 ป่วยตามธรรมชาติ
เครื่องมือประมงประเภทลอบ อวนติดตา และฮวนลาก มีรายงานว่าเป็นสาเหตุของการเกยตื้นของสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนม โดยที่ทั้งลอบและอวนติดตาเป็นเครื่องมือประจำที่ ใช้ทำการประมงได้ทั้งในและนอกเขตทะเลชายฝั่ง ส่วนอวนลากเป็นเครื่องมือเคลื่อนที่ ต้องทำการประมงนอกเขตทะเลชายฝั่งเท่านั้น
แหล่งทำประมงลอบที่ระดับความลึกน้ำ 3-30 เมตร การวางลอบมีทั้งวางตอนเช้ามีดเป็นเวลา 4-6 ชั่วโมง หรือวางตอนเย็นตลอดทั้งคืน ส่วนอวนติดตาทำประมงทำได้ทั้งกลางวันและกลางตื่นโดยวางอวน 30 นาที จนถึง 2 วันขึ้นอยู่กับชนิดสัตว์น้ำเป้าหมาย และถวนลากจะลากอวนด้วยความเร็วต่ำ 3-4 น้อต เป็นเวลา 3-6 ชั่วโมงในเวลากลางวัน หรือ 8-9 ชั่วโมง ในเวลากลางคืน
จากรายงานการเกยตื้นของสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนมที่มีสาเหตุมาจากลอบ เกิดขึ้นกับโลมาชนิดFinless porpoise (Neophocaena phocaenoides) ที่จังหวัตระยอง สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และสงขลา โลมาชนิด Indo-pacific humpback dolphin (Neophocaena phocaenoides) ที่ จังหวัดตราดระยอง เพชรบุรี ประจวบศีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และสงขลา
สาเหตุมาจากอวนติดตาเกิดขึ้นกับพะยูน (Dugong dugong) และโลมาชนิด Bottlenose Dolphin (Tursiops aduncus) ที่จังหวัดระนอง สตูล ตรัง และพังงา โลมาชนิต Fintess porpoise (Neophocaena phocaenoides) ที่จังหวัดระยอง สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และสงขลา
"โลมา" ชนิต Indo-pacific humpback dolphin (Neophocaenaphocoenoides) และโลมาชนิต Irawaddy dalphin (Orcaella brevirostris) ที่จังหวัดตราด ระยอง ชลบุรี สมุทรปราการ สมุทรสาคร เพชรบุรี ประจวบศีรีชันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ตานี และนครศรีธรรมราช สาเหตุมาจาก "อวนลาก" เกิดขึ้นกับโลมาชนิด Finless porpolse (Neophocaena phocoenoides) และวาฬชนิด Bryde's whale (Balaenoptera eden/) ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และสงขลา
ดังนั้น เพื่อลดผลกระทบที่เกิดจากการทำประมงลอบ อวนติตตา และฮวนลากที่มีต่อสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนม เพื่อปรับเปลี่ยนเครื่องมือประมงและวิธีทำการประมงลอบ อวนติดตา และอวนลากให้เหมาะสมในพื้นที่ที่มีสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนมอาศัยอยู่ เช่น การทดลองติด Weak แnk และการลดเวลาการทำประมงสอบ เพื่อป้องกันการจับสัตว์ทะเลเลี้ยงถูกด้วยนม
หรืออการทดลองใช้เชือกสีต่างกัน และการสถิติเวลาการทำประมงสอบ เพื่อป้องกันการจับสัตว์ทะเลเลี้ยงถูกด้วยนม หรือ การทดลองติดเครื่องส่งสัญญาณ (GPS) แทนการใช้เชือกสายทุ่น (Ropeless) และการลดเวลาการทำประมงลอบ เพื่อป้องกันการจับสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนม
หรือการทตลองติดเครื่องส่งสัญญาณ (Pinger) และการลดเวลาการทำประมงอวนติดตา เพื่อป้องกันการจับสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนม หรือการทดลองติด Tie down และการลดเวลาการทำประมงอวนติดตา เพื่อป้องกันการจับสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนม
สิ่งต่างๆ เหล่านี้ยังเป็นผลการศึกษา ส่วนจะเลือกวิธีไหนนั้น ไม่เกินปีหน้า จะต้องเห็นเป็นรูปธรรม ดังนั้นใน 3 เครื่องมือที่จะมีผลกระทบ จะต้องติดตามต่อไป ว่าเครื่องมือดังกล่าว "สำนักงานบริหารมหาสมุทรและบรรยากาศแห่งชาติ " จะยอมให้ประเทศไทยผ่อนปรนเครื่องมือดังกล่าวนี้ได้แค่ไหน