การทางพิเศษแห่งประเทศไทย(กทพ.)เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจภายใต้สังกัดกระทรวงคมนาคม มีบทบาทสำคัญเกี่ยวกับการพัฒนาระบบทางพิเศษ(ทางด่วน) เชื่อมการเดินทางสำหรับประชาชนผู้ใช้ทางได้อย่างสะดวกรวดเร็วลดความแออัดคับคั่งจราจรบนท้องถนนในเขตเมืองที่กำลังวิกฤติ ส่งผลให้มีปริมาณผู้ใช้ทางด่วนเพิ่มมากขึ้น
วันที่27 พฤศจิกายน 2564 ครบรอบวันคล้ายวันก่อตั้งการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) 49 ปี โดยเมื่อวันที่26 พฤศจิกายน 2564 นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ ประธานกรรมการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) กระทรวงคมนาคม เป็นประธาน
นายสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข ผู้ว่าการ กทพ. เปิดเผยว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา กทพ. ได้มุ่งมั่นแก้ไขปัญหาการจราจร ในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ตามแผนงานและภารกิจที่ได้รับมอบหมายให้สอดคล้องตามนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงคมนาคม ที่มุ่งเน้นในการพัฒนาเครือข่ายระบบทางพิเศษให้เชื่อมโยงกันอย่างบูรณาการ ช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินทางของประชาชน
โดยปัจจุบัน กทพ. ได้เปิดให้บริการทางพิเศษรวม 8 สายทาง รวมระยะทาง 224.6 กิโลเมตร ประกอบด้วยทางพิเศษเฉลิมมหานคร ทางพิเศษศรีรัช ทางพิเศษฉลองรัช ทางพิเศษบูรพาวิถี ทางพิเศษอุดรรัถยา ทางพิเศษสายบางนา-อาจณรงค์ ทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี-สุขสวัสดิ์) และทางพิเศษสายศรีรัช-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร นอกจากทางพิเศษทั้ง 8 สายทาง
ที่เปิดให้บริการแก่ผู้ใช้ทางพิเศษมาอย่างต่อเนื่อง กทพ. ยังคงก้าวต่อไปด้วยความมุ่งมั่น เพื่อพัฒนาโครงข่ายระบบทางพิเศษ เชื่อมโยงระบบคมนาคม และอำนวยความสะดวกในการเดินทางแก่ประชาชน โดยคำนึงถึง ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
ขณะนี้มีโครงการทางพิเศษที่อยู่ระหว่างการดำเนินการเร่งด่วน 3 โครงการ ประกอบด้วย
นอกจากนี้ การทางพิเศษฯ ยังได้รับมอบหมายให้ดำเนิน โครงการ 2 โครงการในจังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญของภาคใต้ และถือเป็นทางพิเศษสายแรกที่ก่อสร้างเป็นอุโมงค์ในภูมิภาค คือ โครงการทางพิเศษสายกะทู้ - ป่าตอง ระยะทาง 3.98 กม. และโครงการทางพิเศษสายเมืองใหม่ - เกาะแก้ว - กะทู้ ซึ่งเป็นส่วนที่เชื่อมต่อไปยังสนามบินภูเก็ต เพื่อรองรับการเดินทางและท่องเที่ยว
ขณะนี้อยู่ระหว่างจัดทำร่าง TOR จ้างที่ปรึกษา เพื่อศึกษาความเหมาะสมทางด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ การเงิน และผลกระทบสิ่งแวดล้อมโดยเร็วที่สุดและเพื่อให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของผู้คนในยุคปัจจุบัน กทพ. ได้นำเทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่ทันสมัยมาเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและการให้บริการแก่ผู้ใช้ทางพิเศษ เช่น การพัฒนาศูนย์ควบคุมระบบจราจรอัจฉริยะ (ITS Center) การพัฒนาระบบ e - Service
เพื่อให้บริการเอกสารทางอิเล็กทรอนิกส์ แก่ผู้ใช้บริการทางพิเศษ และล่าสุดได้เปิดศูนย์บริหารการจราจรทางพิเศษ (Expressway Traffic Management Center) ซึ่งเป็นศูนย์สั่งการด้านการจราจรแบบ Single Command เรียบร้อยแล้ว นอกจากนี้ ในด้านการจัดเก็บค่าผ่านทาง ได้เพิ่มทางเลือกใหม่ด้วยการติดตั้งระบบเก็บค่าผ่านทางอัตโนมัติ แบบไม่มีไม้กั้น Multi-lane Free Flow หรือ M-Flow ตามนโยบายของกระทรวงคมนาคมโดยร่วมกับกรมทางหลวง ในการบูรณาการให้เป็นไปในรูปแบบและมาตรฐานเดียวกัน เพื่อแก้ไขปัญหารถติดหน้าด่านเก็บค่าผ่านทาง โดยมีการดำเนินงาน เป็น 3 ระยะ คือ
“และเพื่อก้าวเข้าสู่ปีที่ 50 การทางพิเศษแห่งประเทศไทย จะยังคงพัฒนาศักยภาพต่อไป เพื่อให้ทางพิเศษเป็นทางเลือกที่คุ้มค่า ปลอดภัย ได้มาตรฐาน สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ ส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนไทยได้อย่างยั่งยืน” นายสุรเชษฐ์ฯ กล่าวในท้ายที่สุด