เงินเยียวยาร้านอาหาร ประกันสังคมแบ่ง 3 กลุ่ม ม.33 ม.40 รับเงินกี่บาทดูที่นี่

03 ธ.ค. 2564 | 20:03 น.
อัปเดตล่าสุด :07 ธ.ค. 2564 | 17:54 น.

เงินเยียวยาร้านอาหาร สำนักงานประกันสังคมสรุปเยียวยาแล้ว 3 กลุ่ม ผู้ประกันตนมาตรา 33 และ มาตรา 40 รับเงินเท่าไหร่เช็คด่วน

จากกรณีที่ สำนักงานประกันสังคม ได้โอนเงินเยียวยาผู้ประกันตนที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดเชื้อโควิด 19 โดยรอบแรกพื้นที่สีแดงเข้ม 3 จังหวัด รอบที่สองเพิ่มอีก 10 จังหวัด และ รอบที่สามเพิ่มอีก 16 จังหวัด รวมพื้นที่สีแดงเข้มทั้งสิ้น 29 จังหวัด

 

แยกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

  • 10 จังหวัด กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร นราธิวาส ปัตตานี ยะลา และสงขลา
  • 3 จังหวัด ชลบุรี ฉะเชิงเทรา และพระนครศรีอยุธยา
  • 16 จังหวัด กาญจนบุรี ตาก นครนายก นครราชสีมา ประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี เพชรบุรี เพชรบูรณ์ ระยอง ราชบุรี ลพบุรี สมุทรสงคราม สระบุรี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี และอ่างทอง

สำหรับเงินเยียวยามาตรา 33 

  • พื้นที่ 13 จังหวัดรับเงินเยียวยา 2 เดือนเดือนละ 2,500 บาท รวม 5,000 บาท พื้นที่ 16 จังหวัดรับเยียวยา 2,500 บาท

 

มาตรา 39

  • พื้นที่สีแดงเข้ม 29 จังหวัด จำนวน 5,000 บาท

 

 มาตรา 40

  • พื้นที่สีแดงเข้ม 13 จังหวัดรับเงินเยียวยา 10,000 บาท
  • และ 16 จังหวัด รับเงิน 5,000 บาท

 

เยียวยาแล้ว 1 แสนล้าน

ขณะที่ นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกรัฐบาล เผยว่า รัฐบาลได้เริ่มทยอยโอนเงินเยียวยาเข้าบัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกกับบัตรประชาชนของผู้ประกันตนมาตรา 33 มาตรา 39 มาตรา 40 ที่ได้รับผลกระทบใน 9 ประเภทกิจการ ครอบคลุมพื้นที่สีแดงเข้ม 29 จังหวัด

โดยสำนักงานประกันสังคม (สปส.) ได้จ่ายไปแล้ว 100,807,738,500 บาท ครอบคลุม นายจ้าง 176,769 แห่ง และผู้ประกันตน 12,096,818 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 26 พ.ย. 64)

 

พร้อมแล้วเยียวยาสถานบันเทิง 3 กลุ่ม

 

เมื่อวานนี้ นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานการประชุมร่วมกับ น.ส.สุนทราลักษณ์ เพ็ชรกูล ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนงาน สำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ และผู้แทนกลุ่มคนกลางคืน อาทิ ตัวแทนนักดนตรี ผู้จัดงานคอนเสิร์ต สมาพันธ์เครือข่ายคนบันเทิงอาชีพแห่งประเทศไทย ฯ

นายสุชาติ กล่าวว่า สำหรับแนวทางการช่วยเหลือ จะแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ 

 

กลุ่มที่ 1 นายจ้าง ประกันสังคมมาตรา 33 

  • ให้ลงทะเบียนโครงการเอสเอ็มอี (โครงการส่งเสริมและรักษาระดับการจ้างงาน) ต่ออีก 1 เดือน เพื่อช่วยเหลือนายจ้างกลุ่มนี้ 3 เดือน โดยไม่มีภาษี 
  • รัฐบาลให้นโยบายการเยียวยาหัวละ 3,000 บาท ตามจำนวนลูกจ้างต่อเดือน

 

กลุ่มที่ 2 ลูกจ้างที่อยู่ในระบบประกันสังคมมาตรา 33 

  • จะให้สำนักงานประกันสังคม (สปส.) เยียวยาว่างงานจากเหตุสุดวิสัยจ่าย ร้อยละ 50 และจ่ายอีก 5,000 บาท จากรัฐบาล (ม.33 เรารักกัน)

 

นายสุชาติ กล่าวว่า กลุ่มลูกจ้างที่อยู่ในระบบประกันสังคมตามมาตรา 33 ที่อยู่ในธุรกิจ ผับ เธค บาร์ ทั้งเด็กเสริฟ พ่อครัว เสมียนบัญชี เราก็ดูแล โดยให้สำนักงานประกันสังคมออกประกาศเยียวยา 50% เหตุสุดวิสัยขาที่ 1 ส่วนขาที่ 2 หากไม่เพียงพอในการใช้จ่ายก็จะขอในส่วนของเงินกู้สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (ศสช.) ซึ่งตั้งตัวเลขไว้ 5,000 บาท แต่ต้องรอหารืออีกครั้งวันนี้

 

ทั้งนี้หากอยู่ในระบบประกันสังคมจะได้ 2 ขา โดยให้ประกันสังคมช่วย 50 เปอร์เซ็นต์ อีกส่วนขอเงินกู้จากรัฐบาล

 

กลุ่มที่ 3 ลูกจ้างที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคม มาตรา 40

  • จะได้รับเงินเยียวยาจากรัฐบาล คนละ 5,000 บาทโดยใช้เงินกู้จากรัฐบาล 
  • ต้องให้สมาคม/สมาพันธ์รับรอง 

 

“ผู้ที่เป็นศิลปินอิสระที่ไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคม อาจจะต้องขึ้นทะเบียนประกันสังคมตามมาตรา 40 ซึ่งคาดการณ์ทั้งประเทศจะมีไม่เกิน 1 แสนคน แต่ปัญหาอยู่ที่การรับรอง จึงขอให้สมาคมต่างๆรับรองบุคลากรคนของท่าน  ทั้งนี้วันนี้จะมีการหารือเพื่อให้ได้ข้อสรุปนำเสนอต่อศสช.ในการพิจารณาเงินกู้ของกระทรวงการคลัง และนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา”

 

 

สุชาติ ชมกลิ่น

นายสุชาติ กล่าวอีกว่า ได้ตรวจสอบตัวเลขในระบบพบว่า ทั้งประเทศคาดว่าอยู่ที่ประมาณไม่เกิน 1.5-2 แสนราย ซึ่งจะต้องใช้เม็ดเงินกู้จากรัฐบาลเยียวยาประมาณ 750-1,000 ล้านบาท ส่วนผู้ที่เกินอายุเกิน 65 ปี ซึ่งไม่เข้าข่ายมาตรา 40 ประกันสังคม จะประสานให้กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) สำรวจตัวเลขและเป็นผู้ดูแลเยียวยาต่อไป

 

ทั้งนี้ จะเร่งเยียวยาภายในเดือนนี้ และแผนการเยียวยาจะให้ 1 เดือน ก่อน เนื่องจากคาดว่าในวันที่ 16 มกราคม 2565 ผับ บาร์ คาราโอเกะ อาจจะสามารถกลับมาเปิดให้บริการได้.