นายรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี นำทัพผู้บริหารร่วมประกาศความมุ่งมั่นในวาระก้าวขึ้นสู่ปีที่ 109 ยกระดับแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนสู่แนวทาง ESG 4 Plus ได้แก่
1.มุ่ง Net Zero ปี 2050 2.Go Green 3.Lean เหลื่อมล้ำ 4.ย้ำร่วมมือ Plus เป็นธรรม โปร่งใส โดยภารกิจหลักเอสซีจีนับต่อจากนี้ คือการบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2050 ด้วยการปรับปรุงกระบวนการผลิต และพัฒนาธุรกิจคาร์บอนต่ำ ระดมปลูกต้นไม้ 3 ล้านไร่ ต่อยอดสร้าง 130,000 ฝาย ลดสังคมเหลื่อมล้ำ ตั้งเป้าสร้างอาชีพที่ตลาดต้องการ 20,000 คน พร้อมร่วมมือกับทุกภาคส่วน ภายใต้การดำเนินงานอย่างโปร่งใสและเป็นธรรม
นายธรรมศักดิ์ เศรษฐอุดม ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่-การเงินและการลงทุน เอสซีจี เล่าถึงธุรกิจใหม่ SCG Cleanergy จะเป็นหัวหอกด้านธุรกิจพลังงานสะอาดทั้งแสงอาทิตย์
และ นายยุทธนา เจียมตระการ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ การบริหารกลาง เอสซีจี กล่าวถึงการพัฒนา Innovative People และเร่งทำ Open Innovation และลงทุนอย่างต่อเนื่องใน Deeptech และ Startups เพื่อสร้างนวัตกรรมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น การสร้างวัสดุคุณภาพสูงเพื่อกักเก็บพลังงานไฟฟ้า เทคโนโลยีเพื่อใช้ในการดูดกลับและกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์
นายนิธิ ภัทรโชค กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เอสซีจี และนายชนะ ภูมี ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง กล่าวถึงการเพิ่มนวัตกรรมรักษ์โลกภายใต้ฉลาก SCG Green Choice เป็น 2 เท่า ภายในปี 2030 ที่ปัจจุบันมีนวัตกรรม “ปูนไฮบริดซีเมนต์” ที่สามารถลดโลกร้อนได้ถึงปีละ 6 แสนตัน และยังเสริมทัพด้วยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในงานก่อสร้างทั้ง 3D Printing , Drone และ BIM ช่วยลดเวลา ลดของเหลือทิ้งในไซต์งานอีกด้วย
นายธนวงษ์ อารีรัชชกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี กล่าวถึงแผนพัฒนาผลิตภัณฑ์ “SCG Green Polymer” นวัตกรรมพอลิเมอร์ที่ใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน ลดโลกร้อน ตอบโจทย์ธุรกิจและลูกค้าที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม มีเป้าหมายการผลิต 200,000 ตันภายในปี 2025
นายวิชาญ จิตร์ภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เอสซีจีพี กล่าวถึงการสร้างสรรค์บรรจุภัณฑ์ที่จะต้องนำกลับมารีไซเคิล ใช้ซ้ำ หรือย่อยสลายได้ 100% ในปี 2050
ปัญหาโลกร้อน การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสิ้นเปลือง ความเหลื่อมล้ำของรายได้ กำลังเป็นวิกฤตอย่างรุนแรง ซึ่งการบรรเทาวิกฤตเหล่านี้เริ่มได้จากสิ่งเล็กๆ ใกล้ตัวที่กลับช่วยโลกได้เช่นเดียวกับทฤษฎีผีเสื้อขยับปีก (Butterfly Effect
ในงาน “SCG ESG Pathway เริ่มด้วยกัน เพื่อเรา เพื่อโลก” SCG ได้บอกเล่าเรื่องราวในการกู้ 3 วิกฤตโลกที่ทุกคนสามารถเริ่มทำได้โดยใช้ ESG (Environmental, Social, Governance) กรอบการพัฒนาที่สอดคล้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืนหรือ Sustainable Development ซึ่งมีภาคประชาชนที่เริ่มนำไปใช้โดยเปลี่ยนจากสิ่งเล็กๆ ใกล้ตัวแล้ว เช่น
นิว-ชัยพล จูเลี่ยน พูพาร์ต ที่เปลี่ยนตนเองโดยเลือกซื้อนมขวดแรกหรือขนมปังแถวแรกที่ใกล้หมดอายุก่อน เพื่อช่วยลอาหารบนชั้นใน Supermarket คุณกชกร วรอาคม นักภูมิสถาปนิกที่บอกเล่าการแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำด้วยแนวคิดเมืองยืดหยุ่นและออกแบบเมืองให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
นอกจากนี้ ยังมี นายณรงค์ศักดิ์ ชื่นสุชน เจ้าของสวนมะพร้าว จ.ราชบุรี นำเทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์ OpiBreath มาใช้ช่วยยืดอายุการเก็บของมะพร้าวให้สดใหม่ได้นานถึง 60 วัน นอกจากช่วยลดขยะอาหารยังช่วยให้ชุมชนสวนมะพร้าวมีรายได้ เช่นเดียวกับ ด.ช.เสกสรรค์ พรชนันทกุล เล่าถึงปัญหาของถุงนมโรงเรียนหลังจากดื่มหมดก็กลายเป็นขยะส่งกลิ่นรบกวน
วไลลักษณ์ จินต์หิรัญย์กุล นักพัฒนาโปรเจ็กต์จากเอสซีจี เคมิคอลส์ ได้นำถุงนมมารีไซเคิลเปลี่ยนเป็นเก้าอี้และกระถางต้นไม้สวยๆ ที่นอกจากจะใช้ประโยชน์ได้แล้ว ยังช่วยลดขยะไปในตัว