สกัดบิ๊กดาต้าเหลือข้อมูลหน้าเดียว"iMap"คู่มือตัดสินใจผู้บริหาร

15 ธ.ค. 2564 | 09:23 น.
อัปเดตล่าสุด :15 ธ.ค. 2564 | 17:01 น.

GISTDA จับมือสำนักงานการวิจัยฯ และจังหวัดภูเก็ต ต่อยอด COVID-19 iMap Platform สู่การพัฒนาระบบการแสดงผลที่สำคัญอย่างแม่นยำ ตรงเป้า  สำหรับการตัดสินใจของผู้บริหารระดับพื้นที่-จังหวัด

วันที่ 14 ธันวาคม 2564 ที่ห้องดวงชนก 1-2 โรงแรมดวงจิตต์ รีสอร์ท แอนด์ สปา จังหวัดภูเก็ต  สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ  GISTDA ร่วมมือกับสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ในสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) ได้วิจัยโครงการพัฒนาระบบบริหารสถานการณ์ รองรับการแพร่ระบาดโควิด-19 เพื่อพัฒนาเป็นเครื่องมือสำหรับใช้ประกอบการตัดสินใจ โดยนายปิยพงศ์ ชูวงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธาน 
    

นางกานดาศรี ลิมปาคม รองผู้อำนวยการ GISTDA กล่าวว่า โครงการพัฒนาระบบบริหารฯนี้ เป็นโครงการที่ใช้ภูมิสารสนเทศ มาช่วยวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาด จนนำไปสู่การควบคุมพื้นที่ได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ พร้อมขยายระบบให้รองรับผู้ใช้งานได้เพิ่มขึ้น

 สกัดบิ๊กดาต้าเหลือข้อมูลหน้าเดียว\"iMap\"คู่มือตัดสินใจผู้บริหาร

 สกัดบิ๊กดาต้าเหลือข้อมูลหน้าเดียว\"iMap\"คู่มือตัดสินใจผู้บริหาร

รวมถึงพัฒนาเพื่อให้รองรับการบริหารจัดการในระดับพื้นที่/จังหวัด ให้เป็นระบบการแสดงผล (Dashboard) เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจในการกำหนดมาตรการต่างๆ ในระดับพื้นที่ให้กับ 5 จังหวัดต้นแบบ อาทิ เชียงใหม่ เชียงราย ตาก ชลบุรี และภูเก็ต 

 

ภูเก็ตเป็นจังหวัดที่มีความสำคัญด้านการท่องเที่ยว มีสภาพเป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศไทย และเป็นจังหวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของประเทศไทย เมื่อเกิดการระบาดของโควิด-19 จึงได้รับผลกระทบมาก  GISTDA ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบบูรณาการข้อมูล ที่เรียกว่า “COVID-19 iMap Platform” ขึ้น เพื่อเป็นเครื่องมือให้กับศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง (ศปม.) และศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรคจังหวัด (ศปกจ.) 

 สกัดบิ๊กดาต้าเหลือข้อมูลหน้าเดียว\"iMap\"คู่มือตัดสินใจผู้บริหาร

 สกัดบิ๊กดาต้าเหลือข้อมูลหน้าเดียว\"iMap\"คู่มือตัดสินใจผู้บริหาร

โดยเชื่อมโยงข้อมูลด้านภูมิสารสนเทศที่มีอยู่จำนวนมาก เช่น ข้อมูลที่ตั้งของสถานที่ ข้อมูลด้านสาธารณสุข ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ และด้านประชากร จากหน่วยงานทั้งหมด 9 กระทรวง รวม 17 หน่วยงาน อาทิ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการคลัง กระทรวงมหาดไทย กระทรวงพาณิชย์ กองบัญชาการกองทัพไทย และสภากาชาดไทย พัฒนาเป็นระบบศูนย์กลางข้อมูล (Data Center) 

 

เพื่อนำไปใช้ในการติดตาม เฝ้าระวัง วิเคราะห์ วางแผน สนับสนุนการทำงาน ประกอบการตัดสินใจในการบริหารจัดการทรัพยากรด้านสาธารณสุข ฟื้นฟูสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 รวมถึงมีข้อมูลประกอบการตัดสินใจเพื่อการบริหารจัดการสถานการณ์อย่างทันท่วงที
    

 สกัดบิ๊กดาต้าเหลือข้อมูลหน้าเดียว\"iMap\"คู่มือตัดสินใจผู้บริหาร

นางกานดาศรี กล่าวต่อว่า COVID-19 iMap Platform เป็นระบบที่ใช้บริหารสถานการณ์ในระดับประเทศ แต่เนื่องจากบริบทที่แตกต่างกันไปในแต่ละจังหวัดตามภูมิภาค ทำให้ต้องจำเป็นที่ต้องส่งเสริม และลงไปแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เฉพาะพื้นที่  

 

ในปีงบประมาณ 2564 GISTDA ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ดำเนินงานวิจัยโครงการพัฒนาระบบบริหารสถานการณ์ รองรับการแพร่ระบาดโควิด-19 ซึ่งนอกจากการขยายระบบเพื่อให้สามารถรองรับผู้ใช้งานได้เพิ่มขึ้นแล้ว

 สกัดบิ๊กดาต้าเหลือข้อมูลหน้าเดียว\"iMap\"คู่มือตัดสินใจผู้บริหาร

ยังมีการพัฒนาเพิ่มเติมเพื่อให้รองรับการบริหารจัดการในระดับพื้นที่/จังหวัด โดยขยายขอบข่ายการเชื่อมโยงข้อมูลให้ครอบคลุม นำข้อมูลเหล่านี้นำมาวิเคราะห์ร่วมกัน และแสดงผลในรูปแบบของแผนที่ดิจิทัลและระบบการแสดงผล (เป็นการนำข้อมูลมาสรุปให้เห็นเป็นภาพในหน้าเดียว) สำหรับรองรับการเปลี่ยนแปลง หรือมาตรการต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

 

เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ ในการกำหนดมาตรการต่าง ๆ  ในระดับพื้นที่ของจังหวัดต้นแบบ เมื่อมีการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติของรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

 

พื้นที่ศึกษาที่เป็นตัวแทนของบริบทต่าง ๆ ในครั้งนี้ จะดำเนินการวิเคราะห์เชิงลึกในด้านสาธารณสุข และด้านเศรษฐกิจ ในมิติของสาธารณสุข ทีมผู้วิจัยได้พัฒนาดัชนีชี้วัดความปลอดภัยต่อการติดเชื้อโควิด-19 หรือ “COVID-19 Safety Index” ขึ้น โดยใช้กระบวนการวิเคราะห์ ปัจจัยต่าง ๆ ในหลากหลายมิติ ทั้งด้านสถานการณ์การติดเชื้อ ด้านศักยภาพ/ความเพียงพอของระบบสาธารณสุข ด้านความหนาแน่นของประชากรและพื้นที่เสี่ยง และการจัดสรรวัคซีน ซึ่งมีส่วนแสดงผล 3 ส่วน คือ 
    1.) แสดงผลการวิเคราะห์ความปลอดภัยของพื้นที่ต่อการติดเชื้อโควิด-19 เพื่อแก้ไขสถานการณ์ได้อย่างตรงจุด 
    2.) แสดงผลการคาดการณ์รายได้จากภาคการท่องเที่ยว เมื่อจังหวัดเริ่มมีการฟื้นตัว และ 
    3.) แสดงผลภาพรวมสถานการณ์โควิด-19 ในระดับอำเภอ และการพัฒนา Dashboard COVID-19 iMAP Platform มาใช้ในพื้นที่จังหวัดตาก 
    สกัดบิ๊กดาต้าเหลือข้อมูลหน้าเดียว\"iMap\"คู่มือตัดสินใจผู้บริหาร  

"จะทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของจังหวัดมีระบบ เพื่อใช้บริหารจัดการสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด – 19 และการท่องเที่ยวในระดับพื้นที่ มีข้อมูลเชิงลึกที่ถูกต้อง แม่นยำ สามารถวางแผน และกำหนดมาตรการสำหรับเตรียมความพร้อม เพื่อการบริหารจัดการเชิงพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนสามารถบูรณาการข้อมูลจากทุกภาคส่วน เพื่อสังเคราะห์และตรวจสอบความถูกต้อง ก่อนการเผยแพร่สู่ภาคประชาชนผ่านระบบเดียวกัน” นางกานดาศรี กล่าว