จากกรณีที่ ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. จะออกใช้ธนบัตรชนิดราคา 20 บาท ที่เปลี่ยนวัสดุการพิมพ์เป็นพอลิเมอร์ เพื่อพัฒนาคุณภาพให้ประชาชนได้ใช้ธนบัตรที่มีสภาพใหม่ สะอาด และใช้งานได้นานขึ้น เนื่องจากธนบัตรชนิดราคา 20 บาท เป็นธนบัตรที่ประชาชนใช้จ่ายมากที่สุด มีการหมุนเวียนเปลี่ยนมือบ่อย จึงทำให้ธนบัตรมีสภาพเก่ากว่าธนบัตรชนิดราคาอื่น
อัพเดทล่าสุด นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. เปิดเผยว่า ธนบัตรพอลิเมอร์ ชนิดราคา 20 บาท จะเริ่มออกใช้หมุนเวียนในวันที่ 24 มีนาคม 2565 นี้ โดยประชาชนสามารถเบิกถอนผ่านสาขาธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจทุกแห่ง สำหรับธนบัตรกระดาษ ชนิดราคา 20 บาท ที่ใช้หมุนเวียนอยู่ในปัจจุบัน ยังคงสามารถใช้จ่ายได้ตามปกติต่อไป
สำหรับจุดสังเกต 8 จุด ธนบัตรพลิเมอร์ ชนิดราคา 20 บาท ดังนี้
ลักษณะต่อต้านการปลอมแปลง "ใหม่"
1. วัสดุพอลิเบอร์
ที่ใช้พิมพ์ธนบัตร เป็นผลาสติกชนิดพิเศษ มีการเคลือบผิว
และมีความเหนี่ยวแกร่ง
2. ช่องใสทรงหยดน้ำ
ㆍ มองเห็นทะลุทั้งสองด้าน
ㆍ มีลายดุนนูน เป็นตัวเสข "20" ขนาดเล็ก
3. ภาพเงาพระบรมสาทิสลักษณ์
มองเห็นได้ชิดเจนทั้งสองด้าน
คล้ายลายน้ำ
4. แถบสีเทา
มีข้อความ"20 บาท 20 BAHT"
ขนาดเล็กกายในแถบ
5. ช่องใสทรงพุ่มข้าวบิณฑ์และ
ตัวเลข 20 ที่อยู่ด้านล่าง
ㆍ มองเห็นทะลุทั้งสองด้าน
ㆍ จะเห็นเป็นสีเหลือนแดง
ลักษณะพิเศษภายใต้รังสีเหนือม่วง
หมวดอักษรและเลขหมาย และลวดลายพิมพ์ด้วยหมึกพิมพ์พิเศษ
จะเปลี่ยนสีและเรืองแสงกายใต้รังสีเหนือม่วง
6. ลวดลายเส้นนูน
*พระบรมสาทิสลักษณ์ ภาพพระตราประจำพระองค์
ตัวอักษรและตัวเลขแจ้งชนิดราคา
ลายพุ่มข้าวบิณฑ์ที่เบื้องขวาของพระบรมสาทิสลักษณ์
กายในมีตัวเลข "20"
ㆍรูปดอกไม้2 ดอก สัญลักษณ์แทนเลข "2" ในอักษรเบรลล์
สำหรับผู้บกพร่องทางสายตาใช้สัมผัส
7.ภาพซ้อนทับ
*พระครุฑพ่าห์ด้านหน้าและด้านหลังพิมพ์ในตำแหน่งตรงกัน
จะเห็นภาพซ้อนกับกันสนิท
8. ตัวเลขแฝง
ㆍ ตัวเลข "20" ซ่อนในลายประดิษฐ์สีเขียวเข้ม.
ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย