“พาณิชย์”สั่งผู้ผลิตตรึงราคาสินค้าต่อ เร่งแก้หมู-น้ำมันปาล์มแพง

21 ม.ค. 2565 | 10:44 น.
อัปเดตล่าสุด :21 ม.ค. 2565 | 17:50 น.

“พาณิชย์”สั่งผู้ผลิตตรึงราคาสินค้าต่อ เร่งแก้หมู-น้ำมันปาล์มแพง  พร้อมหารือผู้ผลิต สมาคมที่เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยดูแลค่าครองชีพให้ผู้บริโภค เร่งแก้ปัญหาหมูแพง สั่งนัดหารือแก้ปมน้ำมันปาล์มแพง ให้เกษตรกร ผู้ผลิต ผู้บริโภคอยู่ได้  

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้กรมการค้าภายใน เรียกประชุมผู้ผลิต ผู้ประกอบการ ผู้ค้า สมาคมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อจับมือกันตรึงราคาสินค้าในหมวดสำคัญ ๆ ต่อชีวิตประจำวัน ซึ่งมีสินค้าสำคัญหลายรายการที่ดำเนินการสำเร็จแล้ว เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า น้ำอัดลม บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ซอสปรุงรส ไข่ไก่ เนื้อไก่ และขอให้หารือผู้ผลิตในรายการสินค้าจำเป็นอื่น ๆ เพิ่มเติม เพื่อช่วยดูแลค่าครองชีพให้กับประชาชน

“พาณิชย์”สั่งผู้ผลิตตรึงราคาสินค้าต่อ  เร่งแก้หมู-น้ำมันปาล์มแพง

 

 

ส่วนภาพรวมสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน ที่ต้องขออนุญาตจากกรมการค้าภายในในการปรับขึ้นราคา ยังไม่มีการอนุญาตให้ปรับราคาแต่อย่างใด เพราะนโยบายต้องตรึงไว้ให้ได้มากที่สุด แต่จะยึดหลักต้องให้ทุกฝ่ายอยู่ได้ เป็นธรรม ทั้งเกษตรกร ผู้ประกอบการ ผู้บริโภค และถ้าใครทำผิดกฎหมาย ละเมิดข้อตกลง มีการกักตุน ค้ากำไรเกินควร ก็ให้ดำเนินคดีลงโทษสูงสุด
“พาณิชย์”สั่งผู้ผลิตตรึงราคาสินค้าต่อ  เร่งแก้หมู-น้ำมันปาล์มแพง
 

สำหรับ การแก้ไขปัญหาสินค้าที่ยังมีราคาแพงอยู่ เช่น เนื้อหมู ปัจจุบันทุกฝ่ายทราบแล้วว่าหมูในระบบขาดแคลนด้วยสาเหตุอะไร และนายกรัฐมนตรีได้เข้ามาช่วยดู ช่วยสั่งการ โดยทางแก้ ต้องแก้ทั้งระบบ เมื่อทราบว่าปริมาณขาด ต้องเร่งเพิ่มปริมาณขึ้นมา เพื่อให้ดีมานด์ ซัปพลายสมดุล คือ เร่งส่งเสริมการเลี้ยง โดยรัฐบาลมีมติ ช่วยเงินกู้ ดอกเบี้ยต่ำพิเศษ 3 หมื่นล้านบาท ซึ่งกรมปศุสัตว์จะเร่งประสานเกษตรกร ผู้เลี้ยงรายย่อย ให้มาเลี้ยงมากขึ้น และกรมปศุสัตว์เองก็เร่งผลิตลูกหมูออกมาเพิ่มอีกทาง ส่วนอาหารสัตว์ ที่เป็นต้นทุน ได้มีความเห็นบางส่วนปรับลดภาษี เป็นหน้าที่กระทรวงการคลังที่จะไปพิจารณา และค่าขนส่ง ราคาน้ำมัน เป็นเรื่องของกระทรวงพลังงาน ที่จะดำเนินการ

“พาณิชย์”สั่งผู้ผลิตตรึงราคาสินค้าต่อ  เร่งแก้หมู-น้ำมันปาล์มแพง

ทางด้านการแก้ไขปัญหาขาดแคลนเนื้อหมู และมีการเสนอให้นำเข้าเนื้อหมู เป็นอำนาจกรมปศุสัตว์ที่จะพิจารณา และอนุญาตให้นำเข้า ซึ่งในส่วนของกระทรวงพาณิชย์ ได้สั่งห้ามส่งออกหมูชั่วคราว เพื่อให้หมูเข้าระบบ 1 ล้านตัว มีการดูแลหมูตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง จากหน้าฟาร์ม ผู้ค้าส่ง ค้าปลีก ตรวจสอบการเลี้ยง การเก็บสต๊อก และดำเนินการตามกฎหมายกับผู้ที่ฉวยโอกาส ค้ากำไรเกินควร

“พาณิชย์”สั่งผู้ผลิตตรึงราคาสินค้าต่อ  เร่งแก้หมู-น้ำมันปาล์มแพง
         
สำหรับไข่ไก่ ปัจจุบันได้ข้อยุติแล้ว มีการกำหนดราคาไข่คละหน้าฟาร์มที่ฟองละ 2.90 บาท ผู้ค้าส่ง และขายปลีก ก็ต้องจำหน่ายตามช่วงราคาที่เหมาะสม และไก่ เนื้อไก่ ได้กำหนดให้เป็นสินค้าควบคุม ซึ่งจะมีการเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติวันที่ 25 ม.ค.2565 โดยมีมาตรการให้ผู้เลี้ยงไก่ที่มีปริมาณการเลี้ยงตั้งแต่ 100,000 ตัวขึ้นไป และโรงชำแหละไก่ที่มีกำลังการผลิตมากกว่า 4,000 ตัวต่อวัน แจ้งปริมาณ สต๊อก และต้นทุนราคาจำหน่ายทุกเดือน

“พาณิชย์”สั่งผู้ผลิตตรึงราคาสินค้าต่อ  เร่งแก้หมู-น้ำมันปาล์มแพง
         
ขณะที่ปัญหาน้ำมันปาล์ม เป็นการบ้านข้อยาก โดยผลปาล์มราคาดีขึ้นมาก ซึ่งก่อนที่จะเข้ามาทำหน้าที่ที่กระทรวงพาณิชย์ ราคาผลปาล์มดิบกิโลกรัมละ 2 บาทกว่า วันนี้ 11 บาท เกษตรกรพอใจ ราคาดีมาก แต่พอราคาดี ก็ไปกระทบผู้ประกอบการ กระทบการบริโภค ซึ่งตรึงได้ระยะเวลาหนึ่ง แต่ถ้าไปล็อกมาก ๆ อาจทำให้น้ำมันปาล์มขาดอีก เพราะผู้ผลิตไม่ผลิต จึงต้องหาความสมดุล เกษตรกรขายได้ราคาดี ผู้ผลิต ทำออกมาป้อนตลาด ผู้บริโภคไม่ต้องรับภาระสูงเกินควร ซึ่งกระทรวงพาณิชย์จะเข้าไปช่วยดูอีกครั้ง เชิญทุกฝ่ายมาหารือ เพื่อหาทางออกร่วมกัน และมีความสมดุลทั้ง 3 ฝ่าย เกษตรกร ผู้ผลิต ผู้บริโภค

“พาณิชย์”สั่งผู้ผลิตตรึงราคาสินค้าต่อ  เร่งแก้หมู-น้ำมันปาล์มแพง