25 ม.ค. นัดบุกทำเนียบ ขอเพิ่มวันทำประมง 30 วัน-ค้านติด AIS เรือประมง

23 ม.ค. 2565 | 09:49 น.
อัปเดตล่าสุด :23 ม.ค. 2565 | 16:50 น.

มาแน่ๆ ประมง 22 จังหวัด นัดเคลื่อนพล บุกทำเนียบ 25 ม.ค. ตรงกับ “วันประชุม ครม.” ร้อง “บิ๊กตู่” ขอเพิ่มวันทำประมง 30 วัน ผวาธุรกิจเจ๊ง ตกงานพุ่ง -ค้านกรมสรรพสามิต ติด AIS เรือประมง

มงคล สุขเจริญคณา

 

นายมงคล สุขเจริญคณา ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์สมาคมการประมงแห่งประเทศไทย  เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ในวันที่ 25 มกราคม นี้ สมาคม 22 จังหวัด นัดบุกทำเนียบ มี 2 เรื่อง ได่แจ้งให้สมาคมการประมงแห่งประเทศไทย ทราบแล้วร่วมด้วย มี 2 เรื่องด้วยกัน ได้แก่ เรื่องที่ 1 เรื่องค้าน “กรมสรรสามิต” ติด AIS เรือทุกลำ" โดยก่อนหน้านี้ อ้างติดให้ฟรี ทางกรรมการได้มีการถามในที่ประชุมว่า ถ้าติดแล้วเกิดชำรุดเสียหาย ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย แต่กลับไม่มีคำตอบให้ชาวประมง ซึ่งชาวประมง เห็นว่า นี่กำลังจะผลักภาระให้ชาวประมง และหลังจากนี้จะมีการยื่นหนังสือขอขยายวันทำการประมง เพิ่มด้วยอีก 30 วันในปีการประมง

 

2. เรื่อง "ขอเพิ่มวันทำการประมง 30 วัน"  จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ “โควิด-19”  ที่เกิดขึ้นในขณะนี้นอกจากจะส่งกระทบจนเกิดเป็นวิกฤติเศรษฐกิจของประเทศแล้ว ยังส่งผลกระทบกับการประกอบอาชีพของชาวประมง ทั้ง  22 จังหวัดชายทะเลเป็นอย่างมาก จนอาจไม่สามารถประกอบอาชีพประมงต่อไปได้ เนื่องจากมีภาระค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นในขณะที่มีรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่ายซึ่งผลกระทบนี้ เป็นปัญหาสืบเนื่องมาจากหน่วยงานที่ดูแลด้านการประมงมีการควบคุมวันทำประมง

 

โดยไม่สะท้อนความเป็นจริงในปัจจุบัน ที่ชาวประมงต้องแบกภาระต้นทุนที่สูงขึ้น การกำหนดให้เรือประมงสามารถทำการประมงได้เพียง  240 วัน หรือเป็นเวลา 8  เดือน ในขณะที่ชาวประมงต้องมีภาระค่าใช้จ่ายด้านแรงงานที่ต้องจ่ายทั้ง  12 เดือน ทั้งยังมี ค่าใช้จ่ายประจำในครอบครัวที่ต้องจ่ายเป็นประจำทุกวัน แต่เรือประมง ต้องจอดเป็นเวลา 4  เดือน จึงทำให้เกิดปัญหาการขาดทุนสะสม

 

25 ม.ค. นัดบุกทำเนียบ ขอเพิ่มวันทำประมง 30 วัน-ค้านติด AIS เรือประมง

เนื่องจากรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย ประกอบกับธนาคารก็ไม่ปล่อยสินเชื่อให้กับชาวประมง จึงส่งผลกระทบทำให้เกิดปัญหาการขาดสภาพคล่องในอาชีพประมง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่เกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19

 

อนึ่ง จากปัญหาผลกระทบดังกล่าวข้างตัน ภาครัฐสามารถแก้ไขได้โดยไม่ต้องใช้งบประมาณในการแก้ไขปัญหาแต่อย่างใด เพียงแค่เพิ่มวันทำการประมงในปีการประมง อีกจำนวน ๓0 วัน เพื่อให้ชาวประมง สามารถออกทำการประมงได้ในภาวะที่เกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด- 19 เพื่อให้มีรายได้เพียงพอกับภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น และช่วงนี้วันทำการประมงของขาวประมงเริ่มใกล้จะหมดแล้ว จะทำให้เรือประมงต้องจอดกันมากมายหลายพันลำ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศชาติ