เคลียร์ 11 ประเด็น ถาม-ตอบ “อาคเนย์-ไทยประกันภัย” ขอเลิกกิจการ

31 ม.ค. 2565 | 06:23 น.
อัปเดตล่าสุด :31 ม.ค. 2565 | 13:43 น.

เคลียร์ 11 ประเด็น ถาม-ตอบ กรณี “อาคเนย์ประกันชีวิต-ไทยประกันภัย” ยื่นขอเลิกกิจการธุรกิจประกันวินาศภัย ต่อ คปภ.

จากกรณีที่บริษัท อาคเนย์ประกันภัย จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ได้ยื่นคำขอเลิกประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยต่อคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)

 

แน่นอนว่าหลายคนอาจมีความสงสัยเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวว่ามีความคืบหน้าอย่างไรบ้าง อ่านรายละเอียดใน 11 ประเด็นถาม-ตอบ อาคเนย์-ไทยประกันภัย เลิกกิจการ ดังนี้ 

ถาม

บริษัท อาคเนย์ประกันภัย จำกัด (มหาชน) และบริษัท ไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) มีหนังสือยื่นคำขอต่อสำนักงาน คปภ.เพื่ออะไร

ตอบ

บริษัท อาคเนย์ประกันภัย จํากัด (มหาชน) และบริษัท ไทยประกันภัย จํากัด (มหาชน) ได้มีหนังสือยื่นคําขออนุญาตเลิกประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย ตามมาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยบริษัทได้ขอให้ มีผลเป็นการเลิกบริษัททันทีนับตั้งแต่วันที่แผนการเลิกประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย ของบริษัทได้รับอนุญาตจากบอร์ด คปภ. และทั้ง 2 บริษัทจะคืนใบอนุญาตประกอบธุรกิจ ประกันวินาศภัยต่อไป รวมถึงขอให้มีการอนุมัติให้กองทุนประกันวินาศภัยเป็นผู้เข้ามา อํานวยการที่เกี่ยวข้องกับการเลิกประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยของบริษัทตามหลักเกณฑ์ และแนวทางที่กองทุนประกันวินาศภัยกําหนด

เคลียร์ 11 ประเด็น ถาม-ตอบ “อาคเนย์-ไทยประกันภัย” ขอเลิกกิจการ

ถาม

เมื่อสํานักงาน คปภ. รับคําขออนุญาตเลิกประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยของบริษัททั้ง 2 แล้ว สํานักงาน คปภ. ได้ดําเนินการอย่างไร

ตอบ

สํานักงาน คปภ. ได้มีการตั้งคณะทํางานพิจารณาคําขอเลิกประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย ซึ่งมีรองเลขาธิการ ด้านกํากับ เป็นประธานคณะทํางาน และมีรองเลขาธิการ ด้านตรวจสอบ และรองเลขาธิการ ด้านกฎหมาย คดี และคุ้มครองสิทธิประโยชน์ รวมถึง ผู้ช่วยเลขาธิการสายงานที่เกี่ยวข้องเป็นคณะทํางาน โดยได้มีการประชุมเพื่อพิจารณา เรื่องนี้อย่างรอบคอบ ต่อมาสํานักงาน คปภ. ได้นําเรื่องเข้าคณะอนุกรรมการกฎหมาย เพื่อพิจารณาเรื่องดังกล่าว โดยให้บริษัทได้มีโอกาสเข้าร่วมชี้แจงด้วย และคณะอนุกรรมการฯ มีความเห็นว่า บอร์ด คปภ. ยังไม่สามารถพิจารณาอนุญาต ให้บริษัทเลิกกิจการได้ เนื่องจากการที่บอร์ด คปภ. จะพิจารณาอนุญาตให้บริษัท เลิกกิจการได้ บริษัทต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลา เพื่อพิทักษ์ประโยชน์ของผู้เอาประกันภัย ผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัย หรือ ผู้มีส่วนได้เสียให้ครบถ้วนก่อนตามที่บอร์ด คปภ. กําหนดตามมาตรา 57 ให้เสร็จสิ้นก่อน บอร์ด คปภ. จึงจะอนุญาตให้บริษัทเลิกกิจการได้

เคลียร์ 11 ประเด็น ถาม-ตอบ “อาคเนย์-ไทยประกันภัย” ขอเลิกกิจการ

ถาม

สํานักงาน คปภ.ได้เสนอคําขอเลิกกิจการของทั้ง 2 บริษัท ต่อบอร์ด คปภ.ผลเป็นอย่างไร

ตอบ 

สํานักงาน คปภ. ได้นําเรื่องดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมบอร์ด คปภ. ครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2565 โดยบอร์ด คปภ. ได้พิจารณาข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย และความเห็นของคณะอนุกรรมการกฎหมายโดยละเอียดแล้วมีมติว่าเพื่อให้ เป็นไปตามความในมาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไข เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 จึงให้รับคําขอกรณี บริษัท อาคเนย์ประกันภัย จํากัด (มหาชน) และบริษัท ไทยประกันภัย จํากัด (มหาชน) ขอเลิกประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย และเพื่อพิทักษ์ประโยชน์ของผู้เอาประกันภัย ผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัย หรือผู้มีส่วนได้เสีย จึงได้กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาที่ให้บริษัททั้งสองปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามที่กฎหมาย กําหนด เมื่อบริษัทฯ ดําเนินการตามหลักเกณฑ์ฯแล้ว ให้เสนอสํานักงาน คปภ. ตรวจสอบ แล้วนําเสนอบอร์ด คปภ. เพื่อพิจารณาต่อไป

เคลียร์ 11 ประเด็น ถาม-ตอบ “อาคเนย์-ไทยประกันภัย” ขอเลิกกิจการ

ถาม

บอร์ด คปภ. มีมติเป็นอย่างไร ในกรณีที่บริษัททั้ง 2 ขอให้กองทุน ประกันวินาศภัยเป็นผู้เข้ามาอํานวยการที่เกี่ยวข้องกับการเลิกประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยของบริษัท 

ตอบ

ประเด็นที่บริษัท อาคเนย์ประกันภัย จํากัด (มหาชน) และบริษัท ไทยประกันภัย จํากัด (มหาชน) ขอให้กองทุนประกันวินาศภัยเป็นผู้เข้ามาอํานวยการที่เกี่ยวข้องกับ การเลิกประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยของบริษัทตามหลักเกณฑ์และแนวทางที่ กองทุนประกันวินาศภัยกําหนดนั้น บอร์ด คปภ. เห็นว่าตามมาตรา 79 บัญญัติให้กองทุน ประกันวินาศภัยมีหน้าที่คุ้มครองเจ้าหนี้ซึ่งมีสิทธิได้รับชําระหนี้ที่เกิดจากการ เอาประกันภัย ในกรณี “บริษัทถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย” และเพื่อพัฒนาธุรกิจประกันวินาศภัยให้มีความมั่นคงและเสถียรภาพ” แต่ไม่รวมกรณี บริษัทขอเลิกประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยเองตามมาตรา 57 ดังนั้นกองทุนประกัน วินาศภัยจึงไม่สามารถเข้ามาดําเนินการในขั้นตอนการเลิกประกอบธุรกิจตามคําขอ ของทั้งสองบริษัทดังกล่าว

เคลียร์ 11 ประเด็น ถาม-ตอบ “อาคเนย์-ไทยประกันภัย” ขอเลิกกิจการ

ถาม

บอร์ด คปภ.ได้กําหนด หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาที่ให้บริษัท ทั้งสองปฏิบัติให้ครบถ้วนอย่างไร 

ตอบ

เพื่อพิทักษ์ประโยชน์ของผู้เอาประกันภัย ผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัย หรือผู้มีส่วนได้เสีย บอร์ด คปภ. ได้กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาที่ กําหนดให้ทั้งสองบริษัทปฏิบัติให้ครบถ้วนตามที่กฎหมายกําหนดดังนี้ 1. วิธีจัดการหรือการโอนภาระผูกพันตามกรมธรรม์ประกันภัยทุกประเภทที่ยังมีผล ผูกพันอยู่ไปยังบริษัทประกันภัยผู้รับโอน ให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้

1.1 ให้บริษัทผู้ขอเลิกกิจการแจ้งรายชื่อบริษัทที่จะรับโอนกรมธรรม์ประกันภัย ให้สํานักงาน คปภ. พิจารณาให้ความเห็นชอบก่อน

1.2 สิทธิประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทที่รับโอนไปต้องเท่ากับหรือไม่ ด้อยกว่าสิทธิประโยชน์ที่ได้รับความคุ้มครองตามผลผูกพันของกรมธรรม์ประกันภัยเดิม 2. ช่องทางและวิธีการบอกกล่าวฯ ให้ผู้เอาประกันภัย ผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ ประกันภัย และผู้มีส่วนได้เสียทราบและใช้สิทธิตามกฎหมาย จะต้องเป็นการ ดําเนินการโดยชอบด้วยกฎหมาย เช่น การบอกกล่าวเจ้าหนี้อันเนื่องมาจากการ เปลี่ยนตัวลูกหนี้ตามมาตรา 350 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 3. การโอนหรือการขอรับเงินสํารองตามมาตรา 23 (1) ที่บริษัทประกันภัยวางไว้กับ นายทะเบียน ตามมาตรา 24 จะกระทําได้ต่อเมื่อ

3.1 บริษัทได้โอนภาระผูกพันตามกรมธรรม์ประกันภัยที่ยังมีผลผูกพันอยู่ และมีการ แปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวผู้รับประกันภัยเสร็จสิ้นแล้ว

3.2 บริษัทประกันภัยสามารถแสดงหลักฐานให้เห็นว่าไม่มีหนี้สินหรือภาระผูกพันตาม สัญญาประกันภัยแล้ว 4. ให้บริษัทผู้ขอเลิกกิจการดําเนินการดังต่อไปนี้

4.1 แสดงแผนงานรายละเอียดของการจัดการทรัพย์สินและหนี้สินทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับ กิจการประกันวินาศภัยและกิจการที่ได้รับอนุญาตให้ดําเนินการตามมาตรา 28 ให้สํานักงาน คปภ. ทราบ

4.2 ต้องจัดการทรัพย์สินและหนี้สิน ตามข้อ 4.1 ให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา ที่กําหนดในข้อ 5 และในกรณีที่ไม่สามารถดําเนินการดังกล่าวได้ บริษัทต้องโอนทรัพย์สิน และภาระผูกพันไปยังผู้รับโอน โดยแสดงหลักฐานว่าผู้รับโอนยินยอมรับโอนทรัพย์สิน และหนี้สินดังกล่าวด้วย

4.3 รายงานผลการดําเนินการตามข้อ 4.2 ให้แก่สํานักงาน คปภ. ทราบ 5. ระยะเวลาของการดําเนินการ ให้เป็นไปตามที่สํานักงาน คปภ. ร่วมกับบริษัท กําหนด ทั้งนี้ ให้บริษัทแจ้งให้สํานักงาน คปภ. ทราบภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับ หนังสือแจ้งจากสํานักงาน คปภ.

5.ระยะเวลาของการดำเนินการให้เป็นไปตามที่สำนักงาน คปภ.ร่วมกับบริษัทกำหนด ทั้งนี้ ให้บริษัทเเจ้งให้สำนักงาน คปภ.ทราบภายใน 7 วัน นับตั้งเเต่ที่ได้รับหนังสือเเจ้งจากสำนักงาน คปภ.

 

เคลียร์ 11 ประเด็น ถาม-ตอบ “อาคเนย์-ไทยประกันภัย” ขอเลิกกิจการ

ถาม 

ขั้นตอนต่อไปสํานักงาน คปภ. จะต้องดําเนินการต่อไปอย่างไร

ตอบ

สํานักงาน คปภ. ได้มีหนังสือแจ้งผลการพิจารณาคําขออนุญาตเลิกประกอบธุรกิจประกัน วินาศภัย รวมทั้งหลักเกณฑ์และเงื่อนไขข้างต้นแก่บริษัท อาคเนย์ประกันภัย จํากัด (มหาชน) และบริษัท ไทยประกันภัย จํากัด (มหาชน) แล้ว และได้ประชุมร่วมกับบริษัท เพื่อทําความเข้าใจ และดําเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และ ระยะเวลาการเลิกกิจการตามมาตรา 57 โดยบอร์ด คปภ. ได้มอบหมายคณะอนุกรรมการ กฎหมายช่วยกํากับดูแลในกรณีมีปัญหาในทางปฏิบัติ ทั้งนี้ จะรายงานความคืบหน้าเพื่อให้ บอร์ด คปภ. พิจารณาดําเนินการตามกฎหมายในการประชุมครั้งถัดไป และในระหว่างที่ บริษัทยังไม่ได้รับอนุญาตให้เลิกกิจการจาก บอร์ด คปภ. บริษัทยังต้องประกอบธุรกิจ ตามปกติดังนั้น ผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์สามารถเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน จากบริษัทได้เช่นเดิม

เคลียร์ 11 ประเด็น ถาม-ตอบ “อาคเนย์-ไทยประกันภัย” ขอเลิกกิจการ

ถาม

เมื่อทั้งสองบริษัทได้ดําเนินการตาม หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และ ระยะเวลาที่กําหนดให้ครบถ้วนตามที่กฎหมายกําหนดแล้ว สํานักงาน คปภ. จะดําเนินการต่อไป อย่างไร

ตอบ

เมื่อบริษัทได้ดําเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาข้างต้นครบถ้วน แล้ว แจ้งผลการดําเนินการมายังสํานักงาน คปภ. จะได้นําเสนอให้บอร์ด คปภ. พิจารณาอนุญาตเลิกกิจการต่อไป

เคลียร์ 11 ประเด็น ถาม-ตอบ “อาคเนย์-ไทยประกันภัย” ขอเลิกกิจการ

ถาม

สิทธิของประชาชนที่เป็นผู้เอาประกันภัย ผู้รับประโยชน์ หรือผู้มีสิทธิ " เรียกร้องตามสัญญาประกันภัย กับบริษัททั้งสองมีอย่างไร

ตอบ

ประชาชนที่เป็นผู้เอาประกันภัย ผู้รับประโยชน์ หรือผู้มีสิทธิเรียกร้องตามสัญญา ประกันภัย ยังได้รับความคุ้มครองตามสัญญาประกันภัยทุกประเภทที่ได้ทําไว้กับ ทั้ง 2 บริษัท และในกรณีที่มีเหตุและเป็นไปตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัยกําหนด ประชาชนสามารถใช้สิทธิในการยื่นเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนกับบริษัทได้ ทั้งนี้ใน ระหว่างนี้ทั้งสองบริษัทยังไม่ได้เลิกการประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย

เคลียร์ 11 ประเด็น ถาม-ตอบ “อาคเนย์-ไทยประกันภัย” ขอเลิกกิจการ

ถาม

ในกรณีที่ประชาชนผู้เอาประกันภัยกับทั้ง 2 บริษัท มีความประสงค์ที่จะบอกเลิกกรมธรรม์และขอคืนเบี้ยประกันภัย จะต้องทําอย่างไร 

ตอบ 

ประชาชนผู้เอาประกันภัยสามารถติดต่อไปยังบริษัทประกันภัยทั้งสอง เพื่อแจ้งความ ประสงค์ขอยกเลิกกรมธรรม์ได้ โดยบริษัทประกันภัยทั้งสองจะต้องคืนเบี้ยประกันภัย ไม่น้อยกว่ามูลค่าเบี้ยประกันภัยที่เหลืออยู่ตามกรมธรรม์ประกันภัย (ทั้งนี้ การยกเลิกกรณี นี้จะต่างจากกรณีที่บริษัทประกันภัยบอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยโดยผู้เอาประกันภัย ไม่ยินยอม ซึ่งจะขัดต่อคําสั่งนายทะเบียนที่ 38/2564)

เคลียร์ 11 ประเด็น ถาม-ตอบ “อาคเนย์-ไทยประกันภัย” ขอเลิกกิจการ

ถาม

ในกรณีที่บริษัทมีข้อเสนอในการคืนเบี้ยประกันภัย หรือผลประโยชน์อื่นใด ที่ผู้เอาประกันภัยเห็นว่าเป็นประโยชน์ เพื่อให้คุ้มครองตามกรมธรรม์ ประกันภัยโควิดเดิมสิ้นสุดลง สามารถทําได้หรือไม่

ตอบ 

บริษัทสามารถเสนอทางเลือกต่างๆ ให้แก่ผู้เอาประกันภัย แต่ต้องเป็นการให้สิทธิ ผู้เอาประกันภัยเลือกโดยสมัครใจ ซึ่งหากผู้เอาประกันภัยเห็นว่าเป็นประโยชน์ และตกลงด้วย ก็สามารถทําได้ตามหลักการของกฎหมายทั่วไป แต่หากผู้เอาประกันภัย มิได้ตกลงด้วย ความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยเดิมก็ยังคงมีผลบังคับอยู่ต่อไป

เคลียร์ 11 ประเด็น ถาม-ตอบ “อาคเนย์-ไทยประกันภัย” ขอเลิกกิจการ

ถาม

ประชาชนผู้เอาประกันภัยที่ยื่นขอเคลมเงินหรือค่าสินไหมทดแทน ประกันภัยกับทั้ง 2 บริษัทแล้ว แต่ถูกปฏิเสธ หรือบริษัทไม่ดําเนินการ ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน จะต้องทําอย่างไร

ตอบ

สามารถใช้สิทธิในการยื่นข้อร้องเรียนด้านการประกันภัยเพื่อขอความเป็นธรรม ต่อสํานักงาน คปภ. รวมทั้งสํานักงาน คปภ. ภาค/เขต/จังหวัดได้ทั่วประเทศ และหากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามได้ที่สายด่วน คปภ. 1186

เคลียร์ 11 ประเด็น ถาม-ตอบ “อาคเนย์-ไทยประกันภัย” ขอเลิกกิจการ