พรุ่งนี้วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565 เป็นวันแรกให้ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย สิทธิบัตรทองที่ไม่สมัครใจทำล้างไตผ่านทางช่องท้องสามารถมาเลือกใช้วิธีฟอกไตด้วยเครื่องไตเทียมได้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ตามมติ คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ บอร์ด สปสช. ได้อนุมัติอย่างเป็นทางการ เพื่อเป็นทางเลือกให้แก่ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย จะเริ่มวันที่ 1 ก.พ. 2565 เป็นต้นไป (ซึ่งเดิมผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายรายใหม่หลัง 1/10/51 จะต้องรับบริการล้างไตทางช่องท้องก่อน แต่วันที่ 1 ก.พ. 2565 เป็นต้นไปสามารถเลือกได้ว่าจะล้างทางช่องท้องหรือฟอกไตด้วยเครื่อง)
ฟอกไต คืออะไร
ฟอกไต (Hemodialysis) คือ วิธีการหนึ่งในการรักษาผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย หรือไตวายเฉียบพลันจากสาเหตุต่าง ๆ โดยจุดประสงค์ที่ทำการฟอกไตก็เพื่อกรองและกำจัดของเสียที่สะสมอยู่ในเลือดออกไป และช่วยให้สมดุลในร่างกายของผู้ป่วยโรคไตอยู่ในภาวะที่ใกล้เคียงปกติที่สุดในขณะที่ไตไม่สามารถทำหน้าที่ในการกรองของเสียได้อีกต่อไป
แนวปฏิบัติของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าต้องได้รับการบำบัดทดแทนไต (ฟอกไต)
ผู้ป่วยรายเดิม (ก่อน 1 ก.พ. 2565)
(หากต้องการเปลี่ยนมาใช้วิธีฟอกเลือกด้วยเครืองไตเทียม)
(กรณีแพทย์อนมัติ/แนะนำ)
เข้ารับบริการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ไม่เกิน 3 ครั้งต่อสัปดาห์
หมายเหตุ: กรณีหน่วยบริการที่ท่านฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมไม่ได้ขึ้นทะเบียนกับ สปสช. โทรสายด่วน 1330 เพื่อตรวจสอบรายชื่อหน่วยบริการฯ ที่ขึ้นทะเบียนกับ สปสช.ที่ท่านสามารถใช้บริการได้
ผู้ป่วยรายใหม่ (ตั้งแต่ 1 ก.พ.65 เป็นต้นไป)
แพทย์และผู้ป่วยจะตัดสินใจร่วมกันเพื่อเลือกวิธีการบำบัดทดแทนไตที่เหมาะสม (ไม่บังคับให้ใช้วิธีล้างไตผ่านช่องท้องเป็นทางเลือกแรกอีกต่อไป)
ผู้ป่วยสมัครใจฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม รับบริการตามกระบวนการต่อไป
ปัจจุบันมีผู้ป่วยที่ล้างไตด้วยวิธีฟอกเลือด 24,256 ราย และมีอีก 6,546 รายที่ไม่สมัครใจล้างไตทางช่องท้องแล้วเลือกจ่ายเงินเอง รวมเป็น 30,802 ราย ขณะที่ผู้ป่วยล้างไตทางหน้าท้องมี 32,892 ราย ซึ่งต้นทุนการล้างไตด้วยวิธีฟอกเลือดอยู่ที่ 197,700 บาท/ราย ส่วนต้นทุนการล้างไตทางหน้าท้องอยู่ที่ 227,300 บาท/ราย ทำให้ สปสช.มีค่าใช้จ่ายการล้างไตทางหน้าท้องและฟอกเลือดประมาณ 12,271 ล้านบาท โดยงบประมาณในปี 2565 จะเป็นการใช้งบเหลือจ่าย แต่ในปีถัดๆไป จะต้องพิจารณาจัดสรรงบประมาณให้ครอบคลุมการดำเนินการในส่วนนี้ด้วย.
ที่มา: สปสช.