อัพเดท ผลวิเคราะห์ “น้ำมันรั่วมาบตาพุด” กระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเล หรือไม่

31 ม.ค. 2565 | 14:54 น.
อัปเดตล่าสุด :31 ม.ค. 2565 | 21:55 น.

ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันออก เปิดผลรายงานผลการวิเคราะห์ติดตามคราบน้ำมัน และผลการติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรทางทะเลกรณีน้ำมันดิบรั่วไหลจากท่อใต้ทะเลของทุ่นรับน้ำมันดิบกลางทะเล บริเวณมาบตาพุด จังหวัดระยอง ณ วันที่ 31 มกราคม 2565

จากกรณีน้ำมันดิบรั่วไหลจากท่อใต้ทะเลของทุ่นรับน้ำมันดิบกลางทะเลบริเวณมาบตาพุด จังหวัดระยอง ของบริษัท สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด (มหาชน) โดยเกิดเหตุ เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2565 และได้มีการควบคุมสถานการณ์โดยใช้สารเคมีขจัดคราบน้ำมัน (Oil Dispersant) แล้ว นั้น ศวทอ. เฝ้าระวังสูงสุด ป้องกันผลกระทบทรัพยากรทางทะเล กรณีน้ำมันดิบรั่วไหลจากท่อกลางทะเลบริเวณมาบตาพุด จังหวัดระยองโดยผลการติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรทางทะเลในวันที่ 31 มกราคม 2565 รายละเอียดดังนี้

 

1. ระบบนิเวศปะการังและชายหาด  ผลการสำรวจทรัพยากรปะการังบริเวณอ่าวพร้าว เกาะเสม็ด เวลา 15.00-17.00 น. บริเวณหาดทราย (ความยาวหาด 300 ม.) และหาดหินทั้งด้านในและด้านนอกของอ่าว รวมถึงแนวปะการังตรงบริเวณน้ำตื้นจนถึงขอบแนวปะการัง ที่น้ำลึกประมาณ 5 ม. ไม่พบคราบน้ำมันบนหาดทราย หาดหิน และไม่พบคราบน้ำมันบนผิวโคโลนีปะการัง พฤติกรรมของสัตว์น้ำในบริเวณระบบนิเวศที่สำรวจอาทิ ปลา และหอย ในบริเวณดังกล่าวยังคงเป็นปกติ

 

อัพเดท  ผลวิเคราะห์ “น้ำมันรั่วมาบตาพุด” กระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเล หรือไม่

 

2. ระบบนิเวศหญ้าทะเล  ผลการสำรวจพื้นที่แหล่งหญ้าทะเล 1 สถานี ได้แก่ อ่าวเพ ระหว่างที่ทำการสำรวจหญ้าทะเลอยู่ที่ระดับความลึก 30 เซนติเมตร ชนิดหญ้าที่พบ ได้แก่ หญ้ากุยช่ายเข็ม หญ้ากุยช่ายทะเล และหญ้าใบมะกรูด จากการสำรวจไม่พบคราบน้ำมันผิวน้ำทะเลและบนผิวใบหญ้าทะเล และไม่มีกลิ่นน้ำมันคุณภาพสิ่งแวดล้อมในแหล่งหญ้าทะเล ความเค็ม 31.4

 

ส่วนในพันส่วนค่าออกซิเจนละลายน้ำ 7.43 มิลลิกรัมต่อลิตรความเป็นกรดด่าง 8.04 อุณหภูมิ 30.8 องศาเซลเซียส โดยคุณภาพน้ำทะเลอยู่ในเกณฑ์ปกติ (มาตรฐานคุณภาพน้ำทะเลประเภทที่ 4 เพื่อการนันทนาการ)

 

อัพเดท  ผลวิเคราะห์ “น้ำมันรั่วมาบตาพุด” กระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเล หรือไม่

 

3. ผลกระทบต่อสัตว์ทะเลหายาก กลุ่มสัตว์ทะเลหายากลงพื้นที่สำรวจผลกระทบต่อสัตว์ทะเลชายหาดและสัมภาษณ์พูดคุยกับประชาชนในพื้นที่ เพื่อเก็บข้อมูลสำหรับการลงพื้นที่ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565

 

 

4. คุณภาพสิ่งแวดล้อมทางทะเล

 

4.1 จากการติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อมทางทะเล ตลอดจนการปนเปื้อนของสารประกอบไฮโดรคาร์บอนในสิ่งแวดล้อมทางทะเล ระบบนิเวศชายหาด จำนวน 6 สถานีได้แก่ หาดสุชาดา หาดแสงจันทร์ หาดแม่รำพึง (คลองหัวรถ) หาดแม่รำพึง (ก้นอ่าว) บ้านเพ และหาดสวนสน ผลการสำรวจเบื้องต้นพบว่าสภาพน้ำทะเลเป็นปกติ ไม่พบสัตว์น้ำตายเกยหาด โดยคุณภาพน้ำทะเลอยู่ในเกณฑ์ปกติ (มาตรฐานคุณภาพน้ำทะเลประเภทที่ 4 เพื่อการนันทนาการ)

 

อัพเดท  ผลวิเคราะห์ “น้ำมันรั่วมาบตาพุด” กระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเล หรือไม่

 

4.2 ตามที่ได้รับแจ้งจากผู้ใช้เฟสบุ๊ค “คนอนุรักษ์” ว่าพบคราบน้ำมันบริเวณอ่าวพร้าว ในวันที่ 31 มกราคม 2565 เจ้าหน้าที่ ศวทอ. ลงพื้นที่ตรวจสอบบริเวณอ่าวพร้าว เกาะเสม็ด จังหวัดระยอง เวลา 11.52 น. ทำ การตรวจวัดคุณภาพน้ำบริเวณอ่าวพร้าว เบื้องต้นสภาพน้ำทะเลเป็นปกติ โดยคุณภาพน้ำทะเลอยู่ในเกณฑ์ปกติ (มาตรฐานคุณภาพน้ำทะเลประเภทที่ 4 เพื่อการนันทนาการ) และได้เก็บตัวอย่างดินตะกอนบริเวณที่พบคราบดำเพื่อนำไปวิเคราะห์ในห้องปฎิบัติการ

 

 

ทั้งนี้ ผลการวิเคราะห์ปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอนรวมในน้ำทะเลและดินตะกอนจะรายงานผลให้ทราบ

 

อัพเดท  ผลวิเคราะห์ “น้ำมันรั่วมาบตาพุด” กระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเล หรือไม่