ใบทรานสคริปต์ (Transcript) หรือ ใบรับรองผลการเรียน เป็นหนึ่งในเอกสารสำคัญของนักเรียน นิสิต นักศึกษา ที่การันตีการจบการศึกษาจริง เพื่อนำไปใช้ยืนยันเส้นทางก้าวต่อไปในชีวิตทั้งการสมัครเรียนต่อ การสมัครงาน ฯ
ในอดีต (ยุคของผู้เขียน) เรียนจบปริญญาตรีแล้ว กว่าจะได้ใบทรานสคริปต์ ต้องติดต่อกับฝ่ายทะเบียน หรือ สำนักทะเบียนของมหาวิทยาลัย จ่ายค่าธรรมเนียม รอเวลาปริ๊นเอกสาร นัดหมายในการเดินทางไปรับ
หรือ แม้กระทั่งทำงานทำการแล้ว ดันไปทำเอกสารทรานสคริปต์หาย ก็ต้องแจ้งความเอกสารหาย วกกลับไปติดต่อฝ่ายทะเบียน ที่มหาวิทยาลัย เพื่อขอคัดสำเนาทรานสคริปต์อีกครั้ง ซึ่งยุ่งยากและใช้เวลานานไม่น้อย
แต่ข้อมูลปัจจุบัน จากสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ DGA ) ซึ่งเป็นหน่วยงานกลางของระบบรัฐบาลดิจิทัล ทำหน้าที่ในการให้บริการส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐและหน่วยงานอื่นเกี่ยวกับการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล
พบว่ามีทั้งหมด 39 มหาวิทยาลัย (ข้อมูล ณ เดือนธันวาคม 2564) ที่มีระบบขอใบทรานสคริปต์ออนไลน์ ที่มีชื่อเรียกว่า Digital Transcript (ดิจิทัลทรานสคริปต์) โดยมีรายชื่อมหาวิทยาลัย ดังนี้
ดร.สุพจน์ เธียรวุฒิ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) เปิดเผยว่า ในปี 2564 ที่ผ่านมา ยังร่วมมือกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) ดำเนินโครงการจัดทำเอกสารสำคัญทางการศึกษาในรูปแบบดิจิทัล (Digital Transcript)
ซึ่งระบบนี้จะรองรับให้สถาบันการศึกษาสามารถออกใบรับรองการศึกษาในรูปแบบดิจิทัลได้ เพื่อแก้ปัญหาการปลอมแปลงเอกสาร โดยในเดือนธ.ค. 2564 มีสถาบันอุดมศึกษาที่พร้อมให้บริการ Digital Transcript จำนวน 39 แห่ง รองรับผู้ที่เรียนจบในปีการศึกษา 2564 จำนวน 1.6 แสนคน โดย Digital Transcript จะช่วยอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับการสมัครงานได้
“สพร. ยังได้หารือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่พร้อมรับ Digital Transcript แล้ว เช่นสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ หรือ ก.พ.ร. สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน หรือ กพ. กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา หรือ กยศ. กรมการจัดหางาน และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช. ส่วนภาคเอกชนมีรายใหญ่ ๆ เช่น บมจ.ปตท. สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือ สอท. หอการค้า ด้วย พร้อมทั้งยังหารือกับกระทรวงอว. ขยายต่อไปให้มากที่สุดกับการศึกษาขั้นพื้นฐาน รองรับเด็กเรียนจบมัธยมปลายต่อไป”
ซึ่ง DGA ได้จัดทำ "ระบบควบคุมและตรวจสอบเอกสารสำคัญทางการศึกษา" เพื่อรองรับ e-Transcript หรือ Digital Transcript
ซึ่งเป็นระบบตรวจสอบความน่าเชื่อถือของเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ หรือ Web Validation Portal เป็นระบบการให้บริการที่สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) จัดทำขึ้นภายใต้โครงการ e-Transcript เพื่อประโยชน์ในการอำนวยความสะดวกแก่หน่วยงานและผู้ประกอบการ ให้มีแหล่งตรวจสอบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์เกี่ยวกับความน่าเชื่อถือของการประทับรับรองเวลาอิเล็กทรอนิกส์ (e-Time Stamping) การลงนามด้วยลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
รวมถึงเอกสารสำคัญทางการศึกษา (e-Transcript) อันเป็นการดำเนินภารกิจในการตอบสนองนโยบายของรัฐบาล ตามพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ
คลิกที่นี่ >> ระบบควบคุมและตรวจสอบเอกสารสำคัญทางการศึกษา