“ทะเบียนบ้านดิจิทัล” เปิดใช้งานผ่านแอปพลิเคชั่น ดูขั้นตอนที่นี่

16 ก.พ. 2565 | 12:07 น.
อัปเดตล่าสุด :16 ก.พ. 2565 | 20:51 น.

“ทะเบียนบ้านดิจิทัล” ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ กฎกระทรวงกำหนดการปฏิบัติงานการ "ทะเบียนบ้าน" ด้วยระบบดิจิทัล ปี 2565 เปิดใช้งานผ่านแอปพลิเคชั่นให้บริการอะไรบ้างดูที่นี่

จากกรณีที่เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2565 ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ กฎกระทรวง กระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดการปฏิบัติงานการ "ทะเบียนบ้าน" ด้วยระบบดิจิทัล ปี 2565   โดยให้มีผลเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา 

 

สาระสำคัญของประกาศดังกล่าวได้ระบุในข้อปฏิบัติงานการ "ทะเบียนบ้าน" ด้วยระบบดิจิทัล ปี 2565 ให้สำนักงานทะเบียนกลาง จัดให้มีการบริการงานทะเบียนด้วยระบบดิจิทัล เพื่อให้ประชาชนที่ได้รับการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลแล้ว สามารถขอรับบริการผ่านระบบดิจิทัลได้ด้วยตนเอง

 

ในประกาศของราชกิจจานุเบกษา ได้กำหนดว่า ในระยะแรกจะเปิดให้บริการ "ทะเบียนบ้าน" ผ่านมือถือ 

ทะเบียนบ้านดิจิทัล ให้บริการอะไรบ้าง?

  • การตรวจข้อมูลส่วนบุคคลผ่านระบบฐานข้อมูลประชาชนและการบริการภาครัฐ 
  • การจองคิวรับบริการงานทะเบียนล่วงหน้า 
  • การแจ้งย้ายที่อยู่ปลายทาง  
  • ลำดับต่อไปจะขยายบริการงานทะเบียนราษฎรประเภทอื่นๆ( เช่น งานทะเบียนราษฎร เช่น การตรวจคัดและรับรองสำเนารายการทะเบียนราษฎร การแจ้งย้ายเข้า/ย้ายออก/ย้ายปลายทาง การแจ้งเกิด การแจ้งตาย )

 

ทะเบียนบ้านดิจิทัล

 

ทะเบียนบ้านดิจิทัล

 

 

 

 

 

ก่อนหน้านี้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ และ กรมการปกครอง สังกัดกระทรวงมหาดไทย ได้ประชุมหารือเพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินงานเกี่ยวกับการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล (DOPA-Digital ID) ซึ่งเป็น 1 ใน 12 งานบริการ e-Service สำคัญ  

 

ปัจจุบันกรมการปกครองได้จัดทำระบบต้นแบบ คู่มือการใช้งานระบบ DOPA-Digital ID โดยเปิดให้บริการนำร่อง จำนวน 2 งาน ได้แก่ งานตรวจสอบข้อมูลส่วนบุคคล และงานจองคิวออนไลน์ มีผู้ลงทะเบียนใช้งานระบบ จำนวน 4,020 คน

 

ทั้งนี้ มีปัญหาอุปสรรคการดำเนินงานในเรื่องข้อจำกัดของงบประมาณที่ไม่ได้รับการสนับสนุน รวมทั้ง ต้องมีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย เพื่อรองรับการดำเนินการ ได้แก่ ร่างกฎกระทรวงกำหนดการปฏิบัติงานการทะเบียนราษฎรด้วยระบบดิจิทัล และค่าธรรมเนียม พ.ศ. .... และประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการแจ้งย้ายที่อยู่ การแก้ไขสถานะเจ้าบ้าน และการมอบหมายเพื่อขอเลขประจำบ้านผ่านระบบดิจิทัล

 

 Roadmap การดำเนินงาน

ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 

  • พัฒนาแอพพลิเคชั่น D.DOPA-Digital ID บนมือถือ
  •  พัฒนาระบบให้สามารถรองรับผู้ใช้งานได้ จำนวน 100,000 ราย
  • ผลักดันให้การปรับปรุงแก้ไขร่างกฎกระทรวงกำหนดการปฏิบัติงานการทะเบียนราษฎรด้วยระบบดิจิทัลฯ และประกาศสำนักทะเบียนกลางฯ ให้สามารถประกาศใช้
  •  ให้บริการเพิ่มเติมในงานแจ้งย้ายปลายทางอัตโนมัติ การแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงสถานะเจ้าบ้าน และการมอบหมายเพื่อขอเลขประจำบ้านผ่านระบบดิจิทัล
  •  หน่วยงานภายนอกนำระบบ D.DOPA-Digital ID ไปใช้ประโยชน์ในการให้บริการประชาชน จำนวน 10 หน่วยงาน


ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

  • พัฒนาระบบให้ผู้รับบริการสามารถลงทะเบียนได้เองผ่าน Face Verification Service ระบบที่รองรับผู้ใช้บริการได้ทั่วประเทศ
  • เพิ่มงานบริการ เช่น การขอเลขที่บ้าน การตรวจ คัด และรับรองเอกสารการทะเบียนราษฎร

   

ภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

  • พัฒนาเกี่ยวกับ e-Signature e-Certificate e-Payment e-Receipt
  • เพิ่มงานบริการ เช่น การขอออกใบแทนใบย้าย การแจ้งรื้อถอนบ้านหรือบ้านถูกทำลาย การรับแจ้งเอกสารทะเบียนราษฎรที่สูญหายหรือถูกทำลาย การขอเลขที่บ้าน เป็นต้น

 

ทั้งนี้ กรมการปกครองจะจัดทำแผน Roadmap และแผนปฏิบัติการ พัฒนางานบริการ เพื่อกำหนดทิศทางการขับเคลื่อนการดำเนินงานได้ชัดเจนขึ้น โดยจะจัดส่งมายังสำนักงาน ก.พ.ร. ภายในระยะเวลาที่กำหนดต่อไป

 

วิธีลงทะเบียนบ้านดิจิทัล บนโทรศัพท์เคลื่อนที่สมาร์ทโฟน ดังนี้

 

 

ทะเบียนบ้านดิจิทัล

 

ทะเบียนบ้านดิจิทัล

ทะเบียนบ้านดิจิทัล

  • ลงทะเบียนที่สำนักงานเบียนอำเภอ หรือ สำนักงานทะเบียนท้องถิ่น
  • ยืนยันตัวตนผ่านระบบตรวจสอบลายนิ้วมือและภาพใบหน้า พร้อมรับรหัสผ่านเข้าใช้งานผ่านแอปพลิเคชั่น

 

 

 

ทะเบียนบ้านดิจิทัล

สำหรับข้อมูลทางการปกครอง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565 ดังนี้

 

  • จำนวน 76 จังหวัด

 

  • แบ่งเป็น 7,255 ตำบล

 

  • แบ่งเป็น 878 อำเภอ

 

  • จำนวนหมู่บ้านทั้งสิ้น 75,086 หมู่บ้าน

 

ประชากร

 

  • จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร จำนวนทั้งสิ้น 66,171,439 คน

 

  • แบ่งเป็น เพศชาย 32,339,118 คน

 

  • และ เพศหญิง 33,832,321 คน

กรมการปกครอง

 

การปกครองส่วนท้องถิ่น

องค์การบริหารส่วนจังหวัด 76 แห่ง

  • จำนวนเทศบาล 2,472 แห่ง
  • เทศบาลนคร 30 แห่ง
  • เทศบาลเมือง 195 แห่ง
  • เทศบาลตำบล 2,247 แห่ง

องค์การบริหารส่วนตำบล 5,300 แห่ง

การปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ 2 แห่ง (กรุงเทพมหานคร และ เมืองพัทยา)

 

ล่าสุด ขณะนี้อยู่ในช่วงของการลงทะเบียนเพื่อเข้าใช้งานและเตรียมความพร้อมของระบบ โดย ราชกิจจานุเบกษากำหนดให้เริ่มใช้งานได้หลัง 30 วันนับจากประกาศ (26 มกราคา 2565) ซึ่งจะสามารถเริ่มใช้งานได้จริงในช่วงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2565 นี้.

 

ที่มา : กระทรวงมหาดไทย