นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ตามที่ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีความห่วงใยและให้ความสำคัญ ในกรณีที่อาจมีการกักตุนสินค้าประเภทเนื้อสุกรเพื่อผลประโยชน์ทางการค้า โดยได้สั่งการให้กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมเครือข่ายปฏิบัติงานเร่งตรวจสอบห้องเย็นเพื่อแก้ปัญหาในเรื่องดังกล่าวนั้น ทางกรมปศุสัตว์ ยังเดินหน้าไล่ตรวจสต๊อกหมูอย่างต่อเนื่อง ครบแล้วสั่งตรวจใหม่ ทำให้ราคาหมูเริ่มปรับตัวลงต่อเนื่อง
รายงานการตรวจ ประจำ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2565 ทางกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรฯ พร้อมหน่วยงานในพื้นที่เครือข่ายกองบังคับการปราบปราบการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (ปคบ.) จึงได้สนธิกำลังเร่งตรวจสอบห้องเย็นเพื่อกันการกักตุนซากสุกรทั่วประเทศอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่วันที่ สรุปผลการตรวจสอบและการดำเนินการตามกฎหมาย พรบ.โรคระบาดสัตว์ พ.ศ.2558 วันนี้ พื้นที่เข้าดำเนินการทั้งหมด 7 แห่ง ส่วนพื้นที่เข้าดำเนินการทั้งหมดสะสม วันที่ 20 มกราคม- 23 กุมภาพันธ์ 2565 จำนวน 24.6 ล้านกิโลกรัม
ด้าน สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ รายงานข้อมูลสภาวะตลาดสุกรมีชีวิตหน้าฟาร์ม (สัปดาห์ที่ 8/2565) วันพระที่ 24 กุมภาพันธ์ 2565 การค้าสุกรขุนเริ่มทรงตัว และอยู่ในช่วงปรับฐานราคา ในขณะที่ราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ยังพุ่งไม่หยุด ล่าสุดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หน้าโรงงานอาหารสัตว์วันนี้(24/02/2565)แตะ 11.45 บาทต่อกิโลกรัม ที่โรงงานซีพีเอฟ บางนาและโคราชระหว่างสัปดาห์สมาพันธ์ปศุสัตว์และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ(2552) นำโดยนายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล เลขาธิการสมาพันธ์ฯ
ร่วม 14 สมาคม ประกอบด้วย 1. สมาคมปศุสัตว์ไทย 2. สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ 3. สมาคมส่งเสริมการเลี้ยงไก่แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ 4. สมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทย 5. สมาคมผู้ผลิต ผู้ค้า และส่งออกไข่ไก่ 6. สมาคมผู้ผลิตและแปรรูปสุกรเพื่อการส่งออก 7. สมาคมผู้เลี้ยงเป็ดเพื่อการค้าและการส่งออก 8. สมาคมสัตวบาลแห่งประเทศไทย 9. สมาคมส่งเสริมผู้ใช้วัตถุดิบอาหารสัตว์
10. สมาคมผู้เลี้ยงไก่เนื้อ 11. สมาคมผู้เลี้ยงไก่พันธุ์ 12. สมาคมกุ้งไทย 13. สมาคมผู้เพาะเลี้ยงปลาไทย และ14. สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย ยื่นร้องเรียนตรงนายกรัฐมนตรีช่วยแก้ปัญหาโครงสร้าง และกฎเกณฑ์ที่ทำให้การบริหารจัดการต้นทุนอาหารสัตว์นับวันแบกภาระอย่างสาหัส โดยตั้งแต่มาตรการ 3 : 1 มีผลใช้มาตั้งแต่ปี 2560 รัฐบาลไม่เคยตอบรับทุกข้อเรียกร้องแต่ประการใด
จับตาข้อกังขาส่วนต่างราคาที่เกษตรกรข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ขายได้ กับ ราคาหน้าโรงงานอาหารสัตว์ ที่ห่างมาก 1.47-2.07 บาทต่อกิโลกรัม ตลอด 5 ปี น่าจะเป็นปมให้พาณิชย์ใส่เกียร์ว่างเพิกเฉย ตั้งแต่ยุคนางอภิรดี ตันตราภรณ์ นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ จนถึงปัจจุบัน นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่มีการขอความร่วมมือราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์แต่ประการใด ที่ราคาวันนี้ขึ้นมาสูงเกิน 100% จากต้นทุนการผลิตแล้ว ทั้งๆ ที่เป็นสินค้าควบคุม เช่นเดียวกับ สุกรและเนื้อสุกร ไก่เนื้อ และไข่ไก่
1.ภาคตะวันตก ราคา 84 บาท/กิโลกรัม ขายส่งห้างค้าปลีก 134 บาท/กิโลกรัม ขายปลีก 166-168 กิโลกรัม
2.ภาคตะวันออก 86 บาท/กิโลกรัม ขายส่งห้างค้าปลีก 137 บาท/กิโลกรัม ขายปลีก 170-172 บาท/กิโลกรัม
3.ภาคอีสาน 88 บาท/กิโลกรัม ขายส่งห้างค้าปลีก 140 บาท/กิโลกรัม ขายปลีก 174-176 บาท/กิโลกรัม
4. ภาคเหนือ 87 บาท/กิโลกรัม ขายส่งห้างค้าปลีก 139 บาท/กิโลกรัม ขายปลีก 172-174 บาท/กิโลกรัม
5.ภาคใต้ 88 บาท/กิโลกรัม ขายส่ง ห้างค้าปลีก 140 บาท/กิโลกรัม ขายปลีก 174-176 บาท/กิโลกรัม
ลูกสุกรขุนเล็ก 16 กิโลกรัม วันจันทร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2565 : 2,700 บาท บวกลบ 80 บาท