ว่าที่ร้อยตรี ธนะสิทธิ์ เอี่ยมอนันชัย รองอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ เวลา 10.00 น. จะมีการประชุมในวันพรุ่งนี้ เพื่อสรุปเงื่อนไข ประเทศไทย ได้สิ้นสุดฤดูหนาวแล้ว จะเริ่มเข้าสู่ฤดูร้อน ได้นั้น โดยสรุปก็คือ บริเวณประเทศไทยมีอุณหภูมิ สูงสุดตั้งแต่ 35 องศาเซลเซียส ขึ้นไปและมีอากาศร้อนในตอนกลางวันอย่างต่อเนื่อง และในขณะที่ลมที่พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ได้เปลี่ยนจากลมตะวันออกเฉียงเหนือเป็นลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมแทนที่ ลักษณะเช่นนี้เป็นการเข้าสู่ฤดูร้อนของประเทศไทย อย่างเป็นทางการ ถ้าเข้าเงื่อนไขนี้ วันพรุ่งนี้ก็จะประกาศทันที
อย่างไรก็ดีในปีที่แล้ว กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศ ณ วันที่ 27 กุมภาพันธ์พ.ศ. 2564
ว่าที่ร้อยตรี ธนะสิทธิ์ กล่าวว่า เดือนมีนาคม ปริมาณฝนรวมบริเวณประเทศไทย เดือนมีนาคม ปริมาณฝนรวมบริเวณประเทศไทยส่วนใหญ่จะสูงกว่าค่าปกติ ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงหนือประมาณร้อยล ะ 20 ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ฝั่งตะวันออกและภาคใต้ฝั่งตะวันตก ประมาณร้อย ละ 10 โดยจะมีปริมาณฝนรวมตามภาคต่างๆดังนี้ ภาคเหนื่อและภาคกลางจะมีปริมาณฝน 30-50 มม.
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และกรุงเทพมหานครและปริมณฑ จะมีปริมาณฝนน้อยกว่า 40-70 มม. ภาคตะวันออกประมาณ60-90 มม. ภาคใต้ฝั่งตะวันออกประมาณ 80-100 และภาคใต้ฝั่งตะวันตกประมาณ 100-140 มม.อุณหภูมิเฉลี่ยของประเทศไทยส่วนใหญ่จะมีค่าต่ำกว่าค่าปกติ ยกเว้นบริเวณกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และ ภาคใต้ฝั่งตะวันออกจะสูงกว่าค่าปกติ โดยประเทศไทยตอนบนจะมีอุณหภูมิสูงสุดเฉสี่ย 33-37 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 20-27 องศาเชลเซียส ส่วนภาคใต้จะมีอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 32-34 องศาเชลเซียส และอุณหภูมิต่ำสุด เฉลี่ย 23-25 องศาเซลเชียส
ส่วนเดือนเมษายน ปริมาณฝนรวมประเทศไทยทั้งประเทศจะสูงกว่าค่าปกติ บริเวณภาคเหนือ ภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ฝั่งตะวันออกและภาคใต้ฝั่งตะวันตก จะสูงกว่าค่าปกติประมาณร้อยละ 20 ส่วนภาคตะวันคอกเฉียงเหนือ และกรุงเทพมหานครและ ริมณทล จะสูงกว่าค่า!กติประมาณรัดและ 10 โดยจะมีป/ริมาณฝนรวม ตามภาคต่างๆดังนี้ ภาคเหนือ จะมีปริมาณฝนรวมประมาณ 16-90 มม. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 80-110 มม.
ภาคกลางประมาณ 70-100 มม. ภาคตะวันออกประมาณ 100-140 มม. กรุงเทพมหานครและปริมณฑลประมาณ 100-140 มม. ภาคใต้ฝั่งตะวันออกประมาณ 80-1 10 มม.และภาคใต้ฝั่งตะวันตกประมาณ 70-120 มม. อุณหภูมิเฉลี่ยของประเทศไทยจะมีค่าต่ำกว่าค่าปกติ โดยประเทศไทยตอนบนจะมีอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 35-38 องศาเซลเชียส และอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 23-28 องศาเซลเชียส ส่วนภาคใต้จะมีอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 33-35 องศาเชลเชียส และอุณหภูมิต่ำสุดเฉสี่ย 24-26 องศาเชลเซียส
พลิกแฟ้มประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศไทยเข้าสู่ฤดูร้อน 3 ปี ย้อนหลัง