มช.จับมือสถาบันขงจี่อเปิดปริญญาโท"อี-คอมเมิร์ซไทย-จีน"

28 ก.พ. 2565 | 07:30 น.
อัปเดตล่าสุด :28 ก.พ. 2565 | 14:46 น.

    CAMT มช. จับมือสถาบันขงจื่อ เปิดหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต “การจัดการเทคโนโลยีดิจิทัล”สาขาการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดนไทย-จีน แห่งแรกในประเทศไทย สร้างบุคลากรผู้มีทักษะทั้งภาษาไทย-จีน และดิจิทัลเพื่อการค้าข้ามแดน บูมการค้าอีคอมเมิร์ซไทย-จีน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า  เมื่อเร็ว ๆ นี้ ผศ.ดร.วรวิชญ์ จันทร์ฉาย คณบดีวิทยาลัยศิลปะ สื่อและเทคโนโลยี (CAMT) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ Ms. LIAN Chen ผู้อำนวยการสถาบันขงจื่อ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ร่วมกันลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ในหลักสูตรการจัดการเทคโนโลยีดิจิทัล (พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดนไทย-จีน) ณ อาคารศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้ วิทยาลัยศิลปะ สื่อและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 

 

ทั้งนี้ เพื่อร่วมกันบริหารจัดการหลักสูตรสร้างบัณฑิต และบุคลากรที่มีทักษะพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดน ไทย-จีน และ สนับสนุนการสร้างระบบนิเวศการเรียนการสอน ผ่านการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษากับเอกชน เพื่อให้การดำเนินการศึกษาวิจัยของนักศึกษาในหลักสูตร เป็นไปในรูปแบบเพื่อตอบโจทย์การค้า ที่สามารถดำเนินการได้จริงหลังจบการศึกษา

มช.จับมือสถาบันขงจี่อเปิดปริญญาโท\"อี-คอมเมิร์ซไทย-จีน\"

มช.จับมือสถาบันขงจี่อเปิดปริญญาโท\"อี-คอมเมิร์ซไทย-จีน\"

ผศ.ดร.วรวิชญ์ จันทร์ฉาย คณบดีวิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี (CAMT) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดเผยว่า พิธีลงนามความร่วมมือทางวิชาการเพื่อพัฒนาหลักสูตรและบุคลากรไทย-จีนร่วมกัน ในโครงการวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต “สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีดิจิทัล (พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดนไทย-จีน)”

 

โดยมีวิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี สถาบันขงจื่อ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศูนย์ China Intelligence Center(CIC) ภายใต้การสนับสนุนของกองทุนพิเศษแม่โขง-ล้านช้าง และโครงการวิจัยภายใต้ชุดโครงการ การสร้างผู้ประกอบการเชิงดิจิทัล”ภายใต้การสนับสนุนของ แผนงานคนไทย 4.0 โดยเข้ามามีส่วนในการจัดตั้งสาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีดิจิทัลนี้ขึ้น

มช.จับมือสถาบันขงจี่อเปิดปริญญาโท\"อี-คอมเมิร์ซไทย-จีน\"

มช.จับมือสถาบันขงจี่อเปิดปริญญาโท\"อี-คอมเมิร์ซไทย-จีน\"

ความร่วมมือในครั้งนี้เกิดขึ้นจากแนวคิดที่ต้องการสร้างบัณฑิต ที่มีทักษะเชิงดิจิทัลเพื่อการค้า ที่มีความเข้าใจต่อบริบทการค้า ในรูปแบบการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดนระหว่างไทย-จีน ซึ่งเป็นสองประเทศที่มีมูลค่าการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวระหว่างกันสูงมาก

 

และด้วยสถานการณ์ของโรคระบาดโควิด-19 ทำให้รูปแบบการค้าระหว่างประเทศ จำเป็นต้องปรับตัวไปสู่ระบบออนไลน์มากขึ้น ความต้องการบุคลากรที่มีความรู้และทักษะเชิงดิจิทัล ควบคู่กับความเข้าใจต่อการค้ากับประเทศจีน และรู้ภาษาจีน จึงเป็นสิ่งจำเป็น เป็นที่มาของแนวคิดที่จะร่วมมือกับสถาบันขงจื่อ เพื่อสร้างหลักสูตรการจัดการเทคโนโลยีดิจิทัล (พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดนไทย-จีน) 

มช.จับมือสถาบันขงจี่อเปิดปริญญาโท\"อี-คอมเมิร์ซไทย-จีน\"

จุดเด่นของหลักสูตร Digital Technology Management (DTM) คือ เป็นหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีดิจิทัล (พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดนไทย-จีน) ที่จะช่วยให้ทุกสาขาอาชีพสามารถมาต่อยอด เรียนรู้ทักษะเชิง digital และ digital platform เพื่อกลายเป็น start-ups หรือ digital workforce ได้ในอนาคต 

 

มีเป้าหมายรับนักศึกษาจำนวนประมาณ 25-30 คน ทั้งคนไทยที่รู้ภาษาจีนและคนจีนที่รู้ภาษาไทย ให้เข้ามาเรียนในหลักสูตรนี้ เพื่อเพิ่มพูนทักษะเชิงดิจิทัล และการค้าบนแพลทฟอร์มพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดน เพื่อเป้าหมายการเป็นผู้ประกอบการการค้าระหว่างประเทศในแพลทฟอร์มสมัยใหม่ต่อไป  

มช.จับมือสถาบันขงจี่อเปิดปริญญาโท\"อี-คอมเมิร์ซไทย-จีน\"

 โดย Ms. LIAN Chen ผู้อำนวยการสถาบันขงจื่อ  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เผยว่า ความร่วมมือระหว่างสถาบันขงจื่อกับ CAMT ที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ผ่านการจัดกิจกรรมประกวดแผนการตลาดออนไลน์ นำสินค้าไทยบุกตลาดจีน และกิจกรรมความร่วมมืออื่น ๆ ได้กลายเป็นฐานสำคัญที่นำมาสู่ก้าวย่างแห่งความร่วมมือใหม่ ที่มีความแน่นแฟ้นเพิ่มมากขึ้น เพราะการลงนามบันทึกความร่วมมือในครั้งนี้ เปรียบเสมือนการสร้างพันธสัญญาระหว่างกันอย่างเป็นทางการ เพื่อให้การทำงานร่วมกันต่อจากนี้มีทิศทางเป้าหมายที่ตรงกัน 

 

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นการสร้างบุคลากร เพื่อการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดนไทย-จีน ซึ่งถือเป็นหนึ่งในความจำเป็นของทั้งสองประเทศ ในการที่จะบรรลุวัตถุประสงค์การสร้างความเจริญมั่งคั่งทางเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศร่วมกัน และสถาบันขงจื่อ ในฐานะขององค์กรที่ทำหน้าที่เผยแพร่ภาษา และวัฒนธรรมจีน

 

ก็พร้อมต่อการขยายบทบาท ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการค้าบนแพลทฟอร์มออนไลน์ ซึ่งกลายเป็นพื้นที่ใหม่สำหรับผู้เรียนภาษาไทย-จีนของทั้งสองประเทศ ที่จะนำเอาทักษะด้านภาษามาต่อยอด เพื่อใช้ประโยขน์เชิงการค้าและธุรกิจ
    

มช.จับมือสถาบันขงจี่อเปิดปริญญาโท\"อี-คอมเมิร์ซไทย-จีน\"

ด้านMs. LAI Lin ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันขงจื่อ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า สถาบันขงจื่อ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นสถาบันที่มีความทันสมัย นอกเหนือจากการทำหน้าที่เผยแพร่ภาษาวัฒนธรรมของจีนในแบบ traditional แล้ว ทางสถาบันขงจื่อยังมองเห็นความสำคัญต่อการสร้าง digital workforce ผ่านการทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเรียนรู้ Platform E-commerce และการตลาดออนไลน์โดยใช้ภาษาจีนเป็นสื่อกลาง

 

โดยได้ร่วมมือกับ วิทยาลัยศิลปะ สื่อและเทคโนโลยี จัดประกวดการทำสื่อการตลาดออนไลน์ สินค้าไทยบุกตลาดจีน มาเป็นเวลาต่อเนื่องถึง 5 ปี โดยครั้งล่าสุดใช้ชื่อว่า "จงชิงคัพ" ที่มีนักศึกษาจากภาควิชาภาษาจีนและบริหารธุรกิจ จากสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศกว่า 100 คนเข้าร่วมการแข่งขัน  

 

ทำให้เห็นว่าช่วงโควิด-19 การเติบโตทางออนไลน์ การตลาดออนไลน์ บูมขึ้นเยอะมาก ซึ่งบุคลากรทางด้านนี้ก็ยังขาดแคลนอย่างสูง ยิ่งเฉพาะในปีนี้ เมื่อปีที่แล้วเราก็มองเห็นโอกาส ว่าจีนเริ่มขยับเข้าไปที่ออนไลน์มาเก็ตติ้ง 3.0 ไปแล้ว แต่ว่าประเทศไทยยังอาจจะตามหลัง จึงเกิดแนวคิดขึ้นมาว่า ถ้าเราสามารถมาร่วมโครงการฯ และมาให้พี่น้องคนไทยและคนจีน มาอยู่ในเวทีเดียว ก็จะสร้างเครือข่ายขึ้นมา ให้ผลิตภัณฑ์ในเมืองไทยที่โอกาสเดินเข้าสู่ตลาดจีน โดยผ่านบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถทางด้านนี้ โดยเป็นหลักสูตรแรกของไทยและจีนด้วย    

 

จีนเป็นตลาดใหญ่สำหรับหลายประเทศ เมื่อสถาบันขงจื่อ มาตั้งอยู่ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) สถาบันก็ได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดียิ่งจากผู้บริหาร มช.มา 15 ปีต่อเนื่อง จึงต้องการจะตอบแทนให้สังคม โดยเฉพาะท้องถิ่นภาคเหนือของไทย เนื่องจากการสร้างอะไรก็ไม่ยั่งยืนเท่ากับการสร้างคนขึ้นมา

 

ดังนั้นจึงเชื่อว่า หลักสูตร DTM ที่ร่วมมือกันระหว่างวิทยาลัยศิลปะ สื่อและเทคโนโลยี กับสถาบันขงจื่อ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถือเป็นก้าวแรกในกระบวนการสร้าง Project Manager หรือผู้จัดการโครงการ ที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการบุคลากร ที่มีทั้งทักษะภาษาไทย-จีน และทักษะภาษาดิจิทัล เพื่อการค้าผ่านแพลทฟอร์มออนไลน์ได้อย่างสมบูรณ์

 

อ.ดร.ดนัยธัญ พงษ์พัชราธรเทพ รองคณบดีฝ่ายบริการสังคมและวิจัย และหัวหน้าศูนย์ China Intelligence Center (CIC) กล่าวว่า หลักสูตร“การจัดการเทคโนโลยีดิจิทัล” สาขาการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดนไทย-จีน ถือเป็นหลักสูตรระดับปริญญาโทแห่งแรกของประเทศไทย ที่จัดการเรียนการสอนเพื่อผลิตบุคคลากรในด้านนี้ 

 

โดยออกแบบขึ้นภายใต้การสนับสนุนของแผนงานคนไทย 4.0 และกองทุนพิเศษแม่โขง-ล้านช้าง ที่ให้งบการศึกษาวิจัยเพื่อสร้างหลักสูตรสำหรับคนไทย ที่ต้องการเข้าใจในแนวทางการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดนกับประเทศจีน อันเป็นหนึ่งในจุดอ่อนสำคัญ ที่ทำให้สินค้าไทยกลุ่ม SMEs ไม่สามารถเข้าสู่ตลาดจีนได้ 

 

เมื่อผนวกกับความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีดิจิทัล จากคณาจารย์ของ CAMT ร่วมกับเครือข่ายความสัมพันธ์กับองค์กรธุรกิจเอกชนในประเทศจีนของสถาบันขงจื่อ แห่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จึงทำให้หลักสูตรนี้มีความพร้อม สำหรับการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ สามารถจบออกมาเป็นบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านการค้าระหว่างไทย-จีน บนแพลทฟอร์มออนไลน์ได้

 

ทั้งนี้ อ.ดร.ดนัยธัญ ในฐานะผู้ผลักดันให้เกิดหลักสูตรร่วมกับสถาบันขงจื่อ ยังได้กล่าวถึงความคาดหวังต่อการสร้างหลักสูตรดังกล่าวก็คือ เพื่อสร้างกลุ่มบุคลกากรที่รู้ทั้งภาษาไทย-จีน ควบคู่กับความรู้เชิงทักษะดิจิทัลเพื่อการค้า รวมไปถึงมีความเข้าใจในแนวทางการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดน ซึ่งถือเป็นกำลังคนด้านดิจิทัลที่สอดคล้อง กับทิศทางการพัฒนาความร่วมมือทางการค้าระหว่างประเทศ 

 

โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อไทยและจีนล้วนเป็นสมาชิกในกลุ่มความร่วมมือ RCEP จึงเป็นโอกาสของทั้งไทยและคนจีนตอนใต้ ที่จะกลายเป็น Gateway สำคัญระหว่างอาเซียน-จีน หลักสูตรนี้จึงน่าจะตอบโจทย์สำหรับนักศึกษาไทยที่รู้ภาษาจีน และนักศึกษาจีนที่รู้ภาษาไทย ให้เข้ามาเพิ่มพูนทักษะเชิงดิจิทัล และความรู้ด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดนเพื่อมุ่งสู่การเป็น Project Manager ด้านการค้าระหว่างไทย-จีนบนแพลทฟอร์มออนไลน์ต่อไป

 

สำหรับการลงนามบันทึกข้อตกลงในวันนี้ นอกเหนือจากถ่ายทอดสดผ่าน Facebook Live แล้ว ยังนำเสนอผ่านช่องทางออนไลน์จีน “Bilibili”