นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานกรรมการหอการค้าไย และนายกกิตติมศักดิ์ สมาคมผู้ผลิตอาการสำเร็จรูป ให้สัมภาษณ์กับ “ฐานเศรษฐกิจ” ถึงผลกระทบสงครามรัสเซีย-ยูเครน ที่ส่งผลถึงประเทศไทยทั้งด้านเศรษฐกิจ การค่า การลงทุนในเวลานี้ได้บังเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมแล้ว ดังนี้
- อัตราเงินเฟ้อ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจชะงัก ความเชื่อมั่นการบริโภคต่ำลง
- ดัชนีราคา PCE ซึ่งถือกันว่าเป็นดัชนีอย่างหนึ่งที่ธนาคารกลางของสหรัฐฯ หรือเฟดชอบนำมาใช้ในการประเมินเงินเฟ้อ คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 6% เมื่อเทียบ เป็นรายปีในเดือนมกราคม ขณะที่ PCE หลักซึ่งไม่รวมราคาอาหารและเชื้อเพลิงคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 5.2%
- ยอดค้าปลีกจะฟื้นตัวขึ้น แต่ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคก็ลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบทศวรรษในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ซึ่งนำไปสู่ความกลัวว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอาจหยุดชะงัก
- GDP โลกลดลง 0.9% การค้าโลกจะชะลอตัว การส่งออกไทยไปตลาดโลกได้รับผลกระทบ
- เศรษฐกิจไทยกับรัสเซีย-ยูเครน ทั้งส่งออก นำเข้า สินค้าและการท่องเที่ยว และแรงงาน และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น กรณีเลวร้ายสุดความสูญเสียทางเศรษฐกิจต่อประเทศไทยกรณีสงครามยืดเยื้อไปตลอดทั้งปี 2565 จะมีมูลค่ากว่า 244,750 ล้านบาท เงินเฟ้อ 4.5-5.5% (ประเมินโดย ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจ และธุรกิจ ม.หอกาค้าไทย)
-อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (รวมกลุ่มพลังงานและหมวดอาหาร) เดือน ก.พ. 2565 พุ่ง 5.28 % สูงสุดในรอบ 13 ปี จากเดือน ม.ค.อยู่ที่ 1% ซึ่ง เงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นจะซ้ำเติมปัญหาหนี้ครัวเรือนของไทย ทำให้การฟื้นตัวเป็นไปอย่างเปราะบางมากขึ้น
- ส่งผลกระทบต่อ GDP ของไทย สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ประเมินผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย คาดการณ์ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของปี 2565 จากร้อยละ 4.9 อาจลดจากปัญหา สงครามคาดไม่น้อยกว่าร้อยละ 3.5 เนื่องจากปัญหาพลังงานและภาวะเงินเฟ้อ
การค้าไทย-รัสเซีย
- การส่งออกไทยไปรัสเซียและยูเครนได้รับผลกระทบแต่ไม่มาก เนื่องจากมีสัดส่วนทางการตลาดไม่มาก สัดส่วนของรัสเซียเพียง 0.4% และยูเครน 0.05% ของมูลค่าส่งออกรวมทั้งหมด
- ไทยส่งออกไปยูเครนและรัสเซียปีละ 800 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 26,000 ล้านบาท โดยส่งออกไปยูเครนปีละ 3,000 ล้านบาท ส่งออกไปรัสเซีย 23,000 ล้านบาท หากสงครามยืดเยื้อตัวเลขส่งออกก็จะยิ่งได้รับผลกระทบ จากในปี 2564 การส่งออกของไทยไปรัสเซียลดลงไปอยู่ที่ 725 ล้านดอลลาร์ฯ ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 1,700 ล้านดอลลาร์ฯ เทียบกับก่อนโควิดในปี 2562 ทำให้ไทยขาดดุลการค้ารัสเซียราว 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
-ส่วนในปี 2565 นี้ วิกฤติรัสเซีย-ยูเครน คาดว่าจะทำให้การส่งออกของไทยลดลงจากปี 2564 ส่วนการนำเข้านั้น จากราคาน้ำมันดิบ ที่ปรับตัวขึ้นมากกว่า 100 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรลอาจทำให้ไทยมียอดขาดดุลการค้ากับรัสเซียเพิ่มมากขึ้นกว่าในปี 2564
- ผลทางอ้อม ผู้ส่งออกไทยอาจประสบปัญหาต้นทุนการผลิต จากราคาพลังงาน และวัตถุดิบปรับตัวสูงขึ้น กระทบต่อต้นทุนการผลิตและต้นทุนโลจิสติกส์สูงขึ้นตาม ซึ่งในที่สุดอาจกระทบต่อกำไรของผู้ประกอบการอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
- หากสถานการณ์รุนแรงขึ้น ขยายวงกว้างอาจกระทบต่อตลาดสหภาพยุโรป ซึ่งไทยส่งออกไปยุโรปคิดเป็น 10% ของมูลค่าการส่งออกรวม อาจส่งผลต่อภาพรวมการค้าและการลงทุน การท่องเที่ยวและเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวช้ากว่าที่คาด
- การจำกัดการส่งออกสินค้าไปยังรัสเซีย ปัจจุบันการส่งออกไปยังรัสเซียมีการจำกัดการส่งออก โดยส่งออกได้บางสายเรือและแต่ละสายเรือมีข้อกำหนดการส่งออกสินค้า โดยสินค้าที่ส่งออกได้จะเป็นสินค้าจำเป็นบางรายการ เช่น สินค้าอาหาร สินค้าอุปโภค และยารักษาโรค เป็นต้น
- การคว่ำบาตร ธนาคารรัสเซีย ของหลายประเทศ
- ประเทศตะวันตกจะดำเนินมาตรการตัดธนาคารของรัสเซียออกจากระบบ SWIFT ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการโอนเงินระหว่างรัสเซียกับต่างประเทศ
- ปัจจุบันยังไม่มีการตัดธนาคารรัสเซียออกจากระบบ SWIFT แต่ได้มีการคว่ำบาตรบางธนาคารของรัสเซียแล้ว
- สหรัฐฯ คว่ำบาตรธนาคารรัสเซีย 5 ธนาคาร ที่มีส่วนสนับสนุน ด้านกลาโหมและการพัฒนาด้านเทคโนโลยี ได้แก่ Sberbank/ VTB/ Bank Otkritie/ Sovcombank OJSC และ Novikombank
- สหราชอาณาจักร : คว่ำบาตรธนาคารรายใหญ่ของรัสเซีย เช่น VTB Bank
- สหภาพยุโรป : อยู่ระหว่างพิจารณาคว่ำบาตรธนาคารรายใหญ่ ของรัสเซีย
- มีการชะลอการสั่งซื้อสินค้าไทยไว้ชั่วคราว และรอดูสถานการณ์ เนื่องจากอัตราแลกเปลี่ยนมีความผันผวนสูง แนะนำ ให้ผู้ส่งออกไทยชะลอรับคำสั่งซื้อสินค้าจากรัสเซียและติดตามสถานการณ์รายวัน จากสำนักงานพาณิชย์ในกรุงมอสโกได้สอบถามผู้นำเข้าสินค้าไทยในรัสเซีย พบว่า
- 9 มีนาคม 2565 รัสเซีย สั่งห้ามนำเข้า-ส่งออกสินค้าบางประเภท ตลอดทั้งปี 2565 หลังสหรัฐฯประกาศแบนการนำเข้า น้ำมันและก๊าซจากรัสเซีย และอังกฤษประกาศจะเลิกพึ่งพาน้ำมันรัสเซียภายในสิ้นปีนี้
- รัสเซียให้เหตุผลว่าเพื่อรักษาความมั่นคงของสหพันธรัฐรัสเซีย และเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบกับการดำเนินการที่ต่อเนื่องของภาคอุตสาหกรรม
-10 มีนาคม 2565 รัฐบาลรัสเซียมีคำสั่งห้ามส่งออกสินค้ากว่า 200 รายการ รวมทั้งสินค้าประเภทโทรคมนาคม สินค้าด้านการแพทย์ เกษตรกรรม อิเล็กทรอนิกส์ และสินค้าเทคโนโลยี มีผลตั้งแต่วันนี้ไปจนถึงปลายปีนี้ เพื่อตอบโต้การคว่ำบาตรรัสเซียของสหรัฐฯและชาติตะวันตก
นอกจากนี้มี สินค้าอื่น ๆ ที่รัสเซียห้ามส่งออกจนถึงปลายปีนี้ เช่น รถยนต์ ตู้โดยสารรถไฟ ตู้บรรทุกสินค้า(หรือตู้คอนเทนเนอร์)และกังหันลม ซึ่งยังต้องติดตามว่าการแบนส่งออกสินค้ามากกว่า 200 รายการของรัสเซียในครั้งนี้จะส่งผลกระทบกับไทยอย่างไรบ้าง
- ผลกระทบโดยตรงต่อการลงทุนในประเทศไทยคาดว่าจะมีไม่มากนัก วัดจากช่วง 5 ปีที่ผ่านมา มีการขอรับการส่งเสริม การลงทุนจากรัสเซียและยูเครนในไทยไม่มาก จำนวน 20 โครงการ เงินลงทุนรวม 3,221 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 0.1% ของมูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศทั้งหมด
- โดยปัจจุบันสำหรับธุรกิจไทยที่ลงทุนในรัสเซีย มีเพียง 2 รายเท่านั้น และยังไม่ได้รับผลกระทบอะไร
- สงครามหรือความขัดแย้งที่ส่อบานปลาย อาจทำให้นักลงทุนเข้าซื้อดอลลาร์มากขึ้น เนื่องจากเป็นสกุลเงินที่ปลอดภัย ซึ่ง อาจจะส่งผลให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ - ปัญหาที่สถานการณ์ที่ไม่แน่นอน ย่อมส่งผลต่อการเงิน สภาพคล่องในการลงทุน