ฐานเศรษฐกิจ เกาะติดมาตรการคลายล็อกดาวน์ รอบล่าสุด ในทุกพื้นที่โซนสีโควิด ทั่วประเทศทุกจังหวัด ในทุกกิจการ และกิจกรรม ตามมติผลการประชุมศบค.ชุดใหญ่ วันที่ 18 มี.ค.65 โดยมีรายละเอียดดังนี้
มาตรการพื้นที่ควบคุม (สีส้ม) 20 จังหวัด
ร้านอาหาร
ทั้งในและนอกศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า หรือสถานที่อื่นใดที่มีร้านอาหาร
ร้านสะดวกซื้อ ตลาด ตลาดนัด
การห้ามออกนอกเคหสถาน
Work from home
การจัดกิจกรรมรวมกลุ่ม
สถานศึกษา ทุกระดับ สถาบันกวดวิชา
ร้านเสริมสวย ร้านสถานเสริมความงาม ร้านสัก
สถานบริการเพื่อสุขภาพ นวด สปา
ศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า คอมมูนิตี้มอลล์
ศูนย์แสดงสินค้า ศูนย์ประชุมฯ
มาตรการพื้นที่เฝ้าระวังสูง (สีเหลือง) 47 จังหวัด
ร้านอาหาร
ทั้งในและนอกศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า หรือสถานที่อื่นใดที่มีร้านอาหาร
ร้านสะดวกซื้อ ตลาด ตลาดนัด
การห้ามออกนอกเคหสถาน
Work from home
การจัดกิจกรรมรวมกลุ่ม
สถานศึกษา ทุกระดับ สถาบันกวดวิชา
ร้านเสริมสวย ร้านสถานเสริมความงาม ร้านสัก
สถานบริการเพื่อสุขภาพ นวด สปา
ศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า คอมมูนิตี้มอลล์
ศูนย์แสดงสินค้า ศูนย์ประชุมฯ
มาตรการพื้นที่นำร่องท่องเที่ยว (สีฟ้า) 10 จังหวัด
ร้านอาหาร
ทั้งในและนอกศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า หรือสถานที่อื่นใดที่มีร้านอาหาร
ร้านสะดวกซื้อ ตลาด ตลาดนัด
การห้ามออกนอกเคหสถาน
Work from home
การจัดกิจกรรมรวมกลุ่ม
สถานศึกษา ทุกระดับ สถาบันกวดวิชา
ร้านเสริมสวย ร้านสถานเสริมความงาม ร้านสัก
สถานบริการเพื่อสุขภาพ นวด สปา
ศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า คอมมูนิตี้มอลล์
ศูนย์แสดงสินค้า ศูนย์ประชุมฯ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2565 ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่คำสั่ง ศบค. ลงนามโดย พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในการแบ่งพื้นที่โซนสีโควิดล่าสุด ในการควบคุมสถานการณ์การระบาดของโควิด 19 เพื่อมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2565เป็นต้นไป หรือจนกว่าจะมีคําสั่งเปลี่ยนแปลง เป็นอย่างอื่น โดยมีเนื้อหาดังนี้
ตามข้อกําหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ตามที่ได้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563 และต่อมาได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าว ออกไปอย่างต่อเนื่องเป็นระยะนั้น
เพื่อให้การบริหารจัดการและเตรียมความพร้อมในการป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 ตามแนวทางการจัดเขตพื้นที่สถานการณ์ตามข้อกําหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 4 (2) ของคําสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 4/2563เรื่อง แต่งตั้งผู้กํากับ การปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบและพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ลงวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ.2563 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้อํานวยการศูนย์บริหาร สถานการณ์โควิด - 19 โดยคําแนะนําของศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อโควิด - 19 และศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงมหาดไทย
จึงมีคําสั่งให้หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินและพนักงาน เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการให้เป็นไปตามมาตรการตามข้อกําหนดฯ สําหรับเขตพื้นที่สถานการณ์ที่กําหนด เป็นพื้นที่ควบคุม พื้นที่เฝ้าระวังสูงและพื้นที่นําร่องด้านการท่องเที่ยว ตามบัญชีรายชื่อจังหวัดแนบท้าย คําสั่งนี้
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2565เป็นต้นไป หรือจนกว่าจะมีคําสั่งเปลี่ยนแปลง เป็นอย่างอื่น สั่ง ณ วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2565 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ผู้อํานวยการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด – 19
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับบัญชีรายชื่อจังหวัดที่กําหนดระดับของพื้นที่สถานการณ์เพื่อการบังคับใช้มาตรการควบคุมแบบบูรณาการ แนบท้ายคําสั่งศบค. ที่ 6/2565 ดังกล่าว มีรายละเอียดดังนี้
ที่มา : ราชกิจจานุเบกษา