สินค้าแพง โดยเฉพาะสินค้าอุปโภคบริโภคปัจจัยพื้นฐานของคนไทย ที่เริ่มมีราคาสูงขึ้นตั้งแต่ปลายปี2564ต่อเนื่องมาถึงปัจจุบันที่ต่างทยอยปรับตัวทั้งที่ขึ้นมาอย่างเงียบๆและแบบประกาศให้ทราบอย่างเป็นทางการ เรียกได้ว่า คนไทยแทบจะพูดเป็นคำเดียวว่า “แพงทั้งแผ่นดิน”จริงๆ
ทั้งนี้ ที่ผ่านมาสินค้าที่ไม่ใช่สินค้าควบคุมต่างจะทยอยปรับราคาขึ้นไปบ้างแล้ว เฉลี่ย 5-10% ส่วนสินค้าควบคุม ที่กรมการค้าภายในยังไม่อนุญาต จะใช้วิธีปรับรูปแบบการทำตลาด เช่น ลดส่วนลดหรือของแถมลง ซึ่งการปรับส่วนลดหรือของแถมลดลง ก็คือการขึ้นราคาสินค้าทางอ้อมนั้นเอง เพียงแต่ผู้บริโภคอย่างเราอาจจะไม่รู้สึกมาก เพราะเป็นการปรับราคาสินค้าเพียงหลักสตางค์หรือ1บาทเท่านั้น
โดยราคาสินค้าที่ปรับขึ้นไปในช่วง1-2เดือนที่ผ่านมานี้ “ฐานเศรษฐกิจ”ได้รวบรวมมาดูว่ามีสินค้าไหนบ้างที่ปรับราคาขึ้น จากต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นมากบ้าง
ไล่มาตั้งแต่เดือนมกราคม มีสินค้าที่ปรับราคาขึ้นตามต้นทุนวัตถุที่สูงขึ้น คือ
- น้ำมันปาล์มปรับราคาขึ้นขวด (ลิตร) ละ 5 บาท จากราคา 55 บาท เป็น 60 บาท
- หมูเนื้อแดง แม้ว่าราคาจะลงมาเหลือกิโลร้อยกว่าบาทแต่ช่วงมกราคมราคาสูงถึงกิโลละ250-300บาท
- ไข่ไก่ แม้ว่าจะมีการตรึงราคาไว้ที่ฟองละ3.20บาท แต่ราคาไข่ไก่ปัจจุบันเฉลี่ยฟองละ3.5บาทหรือปรับไปแล้ว9บาทต่อแผง
- ก๊าซหุงต้ม จากเดิม318บาทต่อถึง15กิโลกรัม คาดว่าในเดือนเมษายนจะปรับราคาขึ้นมาถังละ15บาท
เดือนกุมภาพันธ์
- ราคาน้ำมันถั่วเหลืองและน้ำมันปาลืมขวดยังคงปรับราคาขึ้น โดยจาก60บาท เป็น70บาทต่อขวด1ลิตร
- เครื่องดื่มประเภทเหล้าและเบียร์ ขอขึ้น 20-30 บาทต่อลัง (12 ขวด) บางยี่ห้อขึ้นขวดละ 5 บาท
- เบียร์จากขวดละ 65 บาท เป็น 70 บาท
- เครื่องดื่มชูกำลังยี่ห้อยอดนิยมขอปรับ 2 บาทต่อขวด หรือ ปรับจาก 10 บาท เป็น 12 บาท หรือปรับขึ้นถึง 20% เริ่มตั้งแต่ 1 มีนาคมนี้
เดือนมีนาคม
- บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปตรา "ไวไว" รสชาติดั้งเดิม ได้ปรับราคาขายปลีกขึ้น 50 สตางค์ เป็นซองละ 6 บาท
- ส่วน "มาม่า" อยู่ระหว่างการพิจารณาว่าจะรับราคาจากเดิม 6 บาทเป็น7 บาทหรือ ซ่งหากปรับราคาจะเป็นการปรับราคาในรอบ10 ปีของมาม่าเลยทีเดียว
เดือนเมษายน
- บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 2 ยี่ห้อ ขอปรับต้นทุนขายส่งอีก 15-18 บาทต่อลัง (1 ลังมี 6 กล่อง) หรือ 0.10-0.15 บาทต่อซอง
- นมสดและนมข้นกระป๋อง จะปรับราคาขายขึ้นอีกประมาณ 70-90 บาทต่อหลัง(48 กระป๋อง) ราคาขายปลีกปรับขึ้น 2 บาทต่อกระป๋อง
- สินค้าประเภทน้ำอัดลมยี่ห้อหนึ่งแบบบรรจุขวดและกระป๋อง ลดน้ำหนักหรือปริมาณตัวสินค้าลดลง แต่ยังคงราคาขายเท่าเดิม ซึ่งถือว่าเป็นการทำให้สินค้าขึ้นราคาทางอ้อม
- สบู่ก้อนยี่ห้อหนึ่งขอปรับราคาขาย 5 บาทต่อก้อน จากต้นทุนในการผลิตสูงขึ้น อาทิ น้ำมันปาล์ม ซึ่งเป็นส่วนผสมที่สำคัญ
และในเดือนเมษายนนี้ มีสินค้าที่รอการปรับราคาขึ้นแน่นอนแล้ว 3 รายการ ประกอบด้วย
- ก๊าชหุงต้มที่ จะปรับราคาขึ้นมาถังละ 15บาท ปัจจุบันราคาอยู่ที่ 318 บาทต่อถัง 15 กิโลกรัม ราคาจะปรับเป็น 333บาทต่อ15 กิโลกรัม
- บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ปรับราคาขายส่งโดยกำไรหายไป 25สตางค์ จากเดิมจะต้องได้กำไร 1บาท ก็จะเหลือกำไร75 สตางค์ต่อซอง หรือเพิ่มขึ้นลังละ10บาท เท่ากับเป็นการปรับขึ้นราคาขายส่งทางอ้อมกับร้านค้า
- นมข้นหวาน ที่ล่าสุดจะขอปรับขึ้น2บาทต่อกระป๋อง หรือลังละ 70-90 บาท
สำหรับน้ำมันสำหรับรถยนต์ที่ปรับมีการปรับราคาขึ้นรายวันอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เรือคลองแสนแสบต้องปรับราคาขึ้นระยะละ1บาท ส่วนรถเมลประจำทางยังไม่มีการปรับราคา ส่วนค่าไฟฟ้าล่าสุดมีการปรับค่าFT ขึ้นมา4บาทต่อหน่วยซึ่งจะมีผลในเดือนพ.ค.-ส.ค. ยังไงคนไทยก็หนีไม่พ้นค่าครองชีพที่พุ่งสูงขึ้นเป็นเงาตามตัวในขณะที่รายจ่ายเพิ่มขึ้นแต่รายรับกลับเท่าเดิม คงเรียกได้ว่าปีนี้สินค้าอุปโภคบริโภค "แพงทั้งแผ่นดิน"เลยทีเดียว