หลังจากที่ประชุมครม. เห็นชอบกำหนดอัตราการจ่ายเงินบำเหน็จชราภาพ ให้ผู้ประกันตนทั้งมาตรา 33 และมาตรา 39ในช่วงที่มีการลดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม 3 เดือน ตั้งแต่ 1 พ.ค. - 31 ก.ค. 2565 โดยให้คำนวณเพิ่มจากอัตราเงินสมทบขึ้นอีก 2.95% ของค่าจ้าง ซึ่งกระทรวงแรงงานแจ้งรายละเอียดไว้ ดังนี้
แผนการบริหารจัดการกิจกรรม มาตรการ หรือโครงการ
กระทรวงแรงงาน ออกมาตรการบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประกันตนที่ได้รับผลกระทบการจากลดอัตราเงินสมทบ ซึ่งทำให้ผู้ประกันตนบางส่วนได้รับเงินบำเหน็จลดลง โดยให้จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพให้แก่ผู้ประกันตน ซึ่งออกเงินเข้ากองทุนในช่วงที่มีการลดอัตราเงินสมทบ ในงวดเดือนพ.ค. - ก.ค.2565
โดยให้คำนวณจากอัตราเงินสมทบเพิ่มในอัตรา 2.95% ของค่าจ้าง ผู้ประกันตน ซึ่งอัตราเงินสมทบที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวเป็นงบประมาณจากกองทุนประกันสังคม
ประมาณการเงินบำเหน็จชราภาพที่ผู้ประกันตนจะได้รับเพิ่มขึ้น
กระทรวงแรงงาน ประเมินว่า มีผู้ที่จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพที่ได้รับผลกระทบจำนวน 4,860,212 คน หรือคิดเป็น 36% (ผู้รับบำเหน็จ ตามกฎหมายประกันสังคม คือผู้ที่ส่งเงินสมทบไม่ครบ 180 เดือน ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง และมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ หรือเป็นผู้ทุพพลภาพ หรือถึงแก่ความตาย) ของผู้นำส่งเงินสมทบมาตรา 33 และมาตรา 39 ทั้งหมดในช่วงระยะเวลาที่ลดอัตราเงินสมทบ
สำหรับอัตราคำนวณเงินบำเหน็จชราภาพ กรณีลดอัตราเงินสมทบ และหลังเพิ่มสิทธิประโยชน์ มีดังนี้
กรณีแรก อัตราคำนวนสิทธิประโยชน์กรณีบำเหน็จชราภาพ (กรณีการลดอัตราการจัดเก็บตามมาตรการรัฐ)
กรณีที่สอง อัตราคำนวนสิทธิประโยชน์กรณีบำเหน็จชราภาพ (หลังเพิ่มสิทธิประโยชน์)
สำหรับบำเหน็จต่อคนที่ผู้ประกันตนได้รับเพิ่มขึ้นหลังรับเพิ่มอัตราเงินสมทบตามมาตรการ มีดังนี้
การจ่ายเงินสมทบ ก่อนเพิ่มสิทธิประโยชน์
การจ่ายเงินสมทบ หลังเพิ่มสิทธิประโยชน์
ดังนั้นหากพิจารณาเงินบำเหน็จชราภาพต่อคน ที่ผู้ประกันตนได้รับเพิ่มขึ้น สรุปได้ดังนี้
อย่างไรก็ตามกระทรวงแรงงาน ประเมินว่า เงินบำเหน็จชราภาพที่ผู้ประกันตนได้รับเพิ่มขึ้นในภาพรวม เป็นจำนวน 4,553 ล้านบาท แยกเป็น