ระยะแพร่เชื้อโควิด 19 ฟักตัวนานแค่ไหน สารคัดหลั่งแบบไหน มีเชื้อมากสุดดูเลย

16 เม.ย. 2565 | 10:00 น.
อัปเดตล่าสุด :16 เม.ย. 2565 | 16:55 น.

ระยะแพร่เชื้อโควิด 19 ระยะฟักตัวนานแค่ไหน สารคัดหลั่งแบบไหน มีเชื้อแพร่ระบาดมากที่สุด เช็ครายละเอียดได้ที่นี่

จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด 19 ในประเทศไทยมีการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง เมื่อพลิกดูตัวเลขผู้ติดเชื้อในวันนี้ (16 เม.ย.65) จำนวนตัวเลขผู้ติดเชื้อเพิ่ม 18,892 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 125 คน หายป่วยเพิ่ม 22,220 ราย ยอดผู้ป่วยยืนยันสะสม(ตั้งแต่ 1 ม.ค.65) 1,788,749 ราย

 

อย่างไรก็ตาม แม้ได้รับวัคซีนโควิด 19 กันไปบ้างแล้วแต่วัคซีนที่ฉีดนั้นป้องกันการเสียชีวิต ฉีดวัคซีนก็ยังสามารถติดเชื้อโควิดได้หากสัมผัสผู้เสี่ยงสูงระยะแพร่เชื้อโควิดอยูที่ 5-14 วัน

 

ล่าสุด อ.พญ.ปัทมา ต.วรพานิช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ได้ออกมาเปิดเผยข้อมูลว่า  เชื้อโควิด 19 สามารถติดต่อและแพร่กระจายได้ผ่าน “สารคัดหลั่ง” ซึ่งหนึ่งในสารคัดหลั่งที่เรารู้กันดีคือ น้ำลาย ไม่ว่าจะเป็นน้ำลายจากการไอ จาม พูดคุยระยะใกล้ การใช้ช้อนส้อม แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ อุปกรณ์การรับประทานอาหาร หรือของใช้ส่วนตัวอย่างๆ แต่นอกจากน้ำลายแล้ว ยังมีสารคัดหลั่งอื่นๆ ที่สามารถแพร่กระจายเชื้อไวรัสได้เช่นกัน และปริมาณเชื้อไวรัสที่พบในสารคัดหลั่งแต่ละประเภทก็มากน้อยไม่เท่ากัน

ปริมาณเชื้อไวรัสโควิด ที่พบได้ในสารคัดหลั่งแต่ละประเภท ดังนี้

  • น้ำมูก ประมาณ 90%
  • น้ำลาย ประมาณ 80%
  • อุจจาระ ประมาณ 70%
  • เยื่อบุคอหอย ประมาณ 60%
  • เลือด ประมาณ 10%
  • น้ำตา ประมาณ 1%

หมายเหตุ ยังไม่มีรายงานตรวจพบเชื้อไวรัสโควิด-19 ในเหงื่อ สารคัดหลั่งจากช่องคลอด และน้ำอสุจิ มาก่อน

 

 

ระยะแพร่เชื้อโควิด 19

ระยะเวลาของเชื้อโควิด-19 ที่อยู่บนพื้นผิวต่างๆ

  • ทองแดง 4 ชั่วโมง
  • ไม้ 6-24 ชั่วโมง
  • แก้ว ผ้า 24-72 ชั่วโมง
  • กระดาษ พลาสติก 48-96 ชั่วโมง

 

คำแนะนำ

เนื่องจากเชื้อไวรัสสามารถอยู่บนด้านนอกของหน้ากากอนามัยได้นานมากกว่า 1 สัปดาห์ ดังนั้นไม่ควรใช้หน้ากากอนามัยซ้ำ และควรล้างมือให้สะอาด เพื่อป้องกันการสัมผัสเชื้อที่อาจปนเปื้อนอยู่.

 

ที่มา: โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย