เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ระเบียบคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจ่ายค่าชดเชยให้แก่ผู้มีสิทธิใช้ประโยชน์ในที่ดินของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม(ส.ป.ก.) ที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(สกพอ.) เข้าใช้ประโยชน์ พ.ศ. 2565 เพื่อดำนินการหรือประกอบกิจการอื่นใดนอกเหนือจากที่กกำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ในการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(EEC) เพื่อดำเนินโครงการศูนย์ธุรกิจ EECและเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ วงเงินลงทุนรวม 1.34 ล้านล้านบาท
ระเบียบการนำที่ดินส.ป.ก.มาใช้ประโยชขน์ในพื้นที่ EEC ฉบับนี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 26 เมษายน 2565
การนำที่ดินส.ป.ก. ในพื้นที่ EEC มาใช้ประโยชน์
หลักเกณฑ์ เงื่อนไข การประเมินค่าชดเชยที่ดินส.ป.ก.
วิธีจ่ายเงินค่าชดเลยที่ดินส.ป.ก.ในพื้นที่ EEC
อ่านรายละเอียด ระเบียบคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจ่ายค่าชดเชยให้แก่ผู้มีสิทธิใช้ประโยชน์ในที่ดินของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม(ส.ป.ก.) ที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(สกพอ.) เข้าใช้ประโยชน์ พ.ศ. 2565 คลิก
สำหรับศูนย์ธุรกิจ EECและเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2565 ที่ผ่านมาคณะรัฐมนตรี(ครม.) ได้อนุมัติให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(สกพอ.) เข้าใช้ประโยชน์ที่ดินของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม(ส.ป.ก.) จำนวน 14,619 ไร่ ในท้องที่ ต.ห้วยใหญ่ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี เพื่อดำเนินโครงการศูนย์ธุรกิจ EECและเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ
โครงการศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ เกิดขึ้นจากนโยบายรัฐบาลในการพัฒนาศูนย์กลางธุรกิจและการเงินระดับภูมิภาคมาตรฐานเทียบเท่าสากลในพื้นที่อีอีซี และให้เป็นเมืองน่าอยู่อัจฉริยะ 1 ใน 10 เมืองของโลกในปี 2580 เป็นเมืองน่าอยู่อัจฉริยะต้นแบบสำหรับการพัฒนาเมืองใหม่ทั่วประเทศไทย
โครงการศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ มีที่ตั้ง ที่อ.บางละมุง จ.ชลบุรี พื้นที่โครงการ 14,619 ไร่ โดยจะพัฒนาระยะแรกประมาณ 5,000 ไร่ ตั้งห่างจากท่าอากาศยานอู่ตะเภา 15 กม. และห่างจากกรุงเทพฯ 160 กม. มีระยะการพัฒนา 10 ปี ระหว่างปี 2565-2575
สกพอ.ประเมินว่าโครงการศูนย์ธุรกิจ EEC จะสร้างงาน 2 แสนตำแหน่ง ใช้เงินลงทุนประมาณ1.34 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นสัดส่วนการลงทุนของรัฐ 2.8% หรือ 37,674 ล้านบาท เป็นส่วนของค่าที่ดิน ปรับพื้นที่เมืองโครงสร้างพื้นฐานในเมือง นอกเมือง ส่วนร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน(พีพีพี) 9.7% หรือประมาณ 131,119 ล้านบาท เป็นค่าสาธารณูปโภคในระบบขนส่งธารณะ ระบบดิจิทัล และเอกชนลงทุน 87.5% หรือประมาณ 1,180,808 ล้านบาท สำหรับพื้นที่พาณิชย์ง
โซนตามธุรกิจเป้าหมายโครงการศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ