"บีโอไอ" เล็งขยายมาตรการหนุนระเบียงเศรษฐกิจทุกภูมิภาค

19 พ.ค. 2565 | 11:24 น.
อัปเดตล่าสุด :19 พ.ค. 2565 | 18:24 น.

"บีโอไอ" เล็งขยายมาตรการหนุนระเบียงเศรษฐกิจทุกภูมิภาค มุ่งเป้าส่งเสริมกิจการมากกว่าเชิงพื้นที่ เชื่อมีโอกาสอีกมากหากจับได้ถูกทาง

นางสาวดวงใจ อัศวจินจินตจิตร์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือบีโอไอ (BOI) เปิดเผยผ่านการเสวนาหัวข้อ "เศรษฐกิจไทยยุคใหม่ ประเทศไทยก้าวต่อไปอย่างไร" ในงาน “ถามมา…ตอบไป เพื่อประเทศที่ดีกว่า” (Better Thailand open Dialogue) ว่า  แนวทางการส่งสเริมการลงทุนในอนาคตบีโอไอจะขยายไปในทุกพื้นที่ของระเบียงเศรษฐกิจทั่วทุกภูมิภาค อาทิ

 

ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ (Southern Economic Corridor : SEC) และระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันตก (Western Economic Corridor : WEC) เป็นต้น

 

ทั้งนี้ การส่งเสริมจะต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบจากการส่งเสริมเชิงพื้นที่ เป็นการส่งเสริมแบบมุ่งเป้ากิจการ เนื่องจากแต่ละพื้นที่ก็จะมีความโดดเด่นที่แตกต่างกันออกไป  ฉะนั้นควรใช้นโยบาย  ใช้ศักยภาพที่จะไปส่งเสริมพื้นที่ตรงนั้นแทนที่จะใช้แบบไม่ได้เลือก

อย่างไรก็ดี  ยังมีมาตรการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากที่บีโอไอดำเนินการอยู่ โดยมองว่าวิสาหกิจชุมชนที่อยู่ตามพื้นที่ทั่วไทย  หากมีภาคเอกชนเข้าไปสนับนุน ก็ควรได้รับสิทธิประโยชน์จากภาครัฐ  เพื่อให้มีแรงไปสนับสนุน  

 

จึงมีมาตรการออกมาว่า เอกชนไม่ว่าจะเคยได้ หรือไม่เคยได้บีโอไอ หากไปช่วยวิสาหกิจชุมชนให้เข้มแข็งขึ้น  ให้มีเครื่อจักรอุปกรณ์ ให้สามารถปรบปรุงผลิตภัณฑ์  กระบวนการผลิตได้ก็จะได้รับสิทธิ์ไป  รวมถึงเอกชนที่เข้าไปปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ระบบบริหารจัดการน้ำ  ก็สามารถมาขอได้  ที่ผ่านมามีเอกชนรายใหญ่เข้ามาร่วม  แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นนโยบายเชิงพื้นที่ยังต้องเป็นหัวใจของรัฐบาลไทย

 

นางสาวดวงใจ กล่าวต่อไปอีกว่า ในอดีตนโยบายการส่งเสริมการลงทุนจะใช้เรื่องเขตเป็นหลัก เพื่อดึงนักลงทุนให้กระจายไปยังภูมิภาค ปัจจุบันตั้งแต่ปี 58 เป็นต้นมา  มีการปรับเปลี่ยนนโยบาย  เพื่อส่งเสริมธุรกิจที่มีเท็กซ์คอนเทนท์มากขึ้น  ที่สร้างมูลค่าเพิ่มมากขึ้น  แต่ไม่เคยละทิ้งนโยบายเชิงพื้นที่  ซึ่งดึงดูดให้คนไปยังพื้นที่ภูมิภาคได้  

"ทุกวันนี้ก็มีกำหนดนโยบายที่เป็นมาตรการพิเศษสำหรับพื้นที่ที่เป็นพื้นที่เป้าหมาย เช่น อีอีซี ที่เป็นพื้นที่สำคัญ ที่เป็นตัวชูโรงเวลาที่พูดถึงนโยบายในการพัฒนาประเทศ  หรือพื้นที่ SEZ ที่เป็นชายแดนที่มีเป้่าประสงค์เชิงนโยบายทั้งเรื่องเศรษฐกิจ  สังคมและการเมืองด้วย  หรือพื้นที่ชายแดนใต้  นอกจกานั้นยังมีพื้นที่เขตยากจน  หรือพื้นที่ที่มีรายได้ต่ำ 23 จังหวัด  โดยใช้เกณฑ์ข้อตกลง WTO ซึ่งรายได้เฉลี่ยจะต้องไม่เกิน 75% ของค่าเฉลี่ยทั้งประเทศ"  

 

อย่างไรก็ตาม ในอนาคตก็จะต้องมองว่ามาตรการส่งเสริมด้านการลงทุนต้องไปดูว่า  แนวทางของอุตสาหกรรมที่จะเกิดขึ้นในประเทศไทยจะไปในแนวไหน  อะไรที่ทำได้ดี  ทำได้เก่งต้องมุ่งเน้นไปส่งเสริมทางนั้น เช่น

 

อุตสาหกรรมภาคบริการ ซึ่งไทยอาจมีศักยภาพเพียงพอที่จะเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคได้ โดยมองว่าโอกาสมีอยู่มากมายแต่จะต้องจับทางให้ได้ และร่วมมือกันทำทั้งรัฐและเอกชน