มติครม. วันนี้ เห็นชอบ มาตรการลดค่าครองชีพรอบใหม่ โดยหนึ่งในมาตรการสำคัญที่ออกมามีเรื่องการแก้ไขปัญหาและบรรเทาผลกระทบประชาชนจากราคาน้ำมันแพง โดยมีมาตรการสำคัญ แยกเป็นกลุ่มต่าง ๆ ดังนี้
1.การต่อมาตรการเดิมด้านพลังงาน
- ขยายเวลาออกไปอีก 3 เดือน ตั้งแต่กรกฎาคม - กันยายน 2565
- ทยอยปรับขึ้นราคาก๊าซหุงต้ม (LPG) เดือนละ 15 บาทต่อถัง
- ขยายระยะเวลาส่วนลดก๊าซ LPG แก่ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ไม่เกิน 100 บาทต่อคนต่อ 3 เดือน
- ส่วนลดก๊าซ LPG สำหรับหาบเร่เผงลอย ที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 100 บาทต่อเดือน
- ตรึงราคาก๊าซ NGV ที่ 15.59 บาทต่อกิโลกกรัม สำหรับแท็กซี่ในโครงการลมหายใจเดียวกัน ซื้อในราคา 13.62 บาทต่อกิโลกรัม
- ตรึงราคาน้ำมันดีเซล กรณีที่ราคาเกิน 35บาทต่อลิตร โดยรัฐอุดหนุนส่วนเพิ่มในอัตราร้อยละ 50
2.การลดผลกระทบจากราคาน้ำมันดีเซล
- กำหนดสัดส่วนการผสมไบโอดีเซล ของกลุ่มน้ำมันดีเซล B7 ร้อยละ 5 - 10
- ขอความร่วมมือจากผู้ค้าน้ำมันคงค่าการตลาดน้ำมันเชื้อเพลิงกลุ่มดีเซล ไม่เกิน 1.40 บาทต่อลิตร
3.ค่าการกลั่นน้ำมัน-ก๊าซธรรมชาติ
- ขอความร่วมมือกลุ่มโรงกลั่นน้ำมันและโรงแยกก๊าซธรรมชาตินำส่งกำไรส่วนหนึ่งจากค่าการกลั่นน้ำมันดีเซลและเบนซินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
- โดยน้ำมันดีเซล นำไปบริหารราคาขายปลีกให้ไม่เกิน 35 บาทต่อลิตร
- โดยน้ำมันเบนซิน นำไปลดราคาขายปลีก 1 บาทต่อลิตร
- ขอความร่วมมือ ปตท. นำส่งกำไรส่วนหนึ่งของโรงแยกก๊าซธรรมชาติเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
สำหรับการดำเนินการส่วนนี้ กระทรวงพลังงาน รายงานต่อครม.ว่า กำลังอยู่ระหว่างการหารือกับกลุ่มโรงกลั่นถึงแนวทางในการดำเนินกาส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ขณะที่การขอความร่วมมือ ปตท. นำส่งกำไรส่วนหนึ่งของโรงแยกก๊าซธรรมชาติเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง คาดว่า จัดเก็บได้ 500-1,000 ล้านบาทต่อเดือน
4.มาตรการประหยัดพลังงาน
- ภาคประชาชน อาทิ มาตรการ “ปิด ปรับ ปลด เปลี่ยน” ปิดไฟหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่ไม่ได้ใช้ ตั้งอุณหภูมิ เรื่องปรับอากาศ 26 องศาเซลเซียส
- ภาคเอกชนและภาคอุตสาหกรรม อาทิ การเปิด-ปิด เครื่องปรับอากาศเป็นเวลา ขอความร่วมมือให้ปิดป้ายโฆษณาหลัง 22.00 น.
- ภาคขนส่ง อาทิ การส่งเสริมการใช้ขนส่งสาธารณะแทนยานพาหนะส่วนบุคคล รณรงค์ขับรถไม่เกิน 90 กม.ต่อชม. ลดการเดินทางโดยการใช้แอปสั่งอาหารหรือรับส่งของ หรือการใช้ การประชุมออนไลน์แทนการเดินทางด้วยตนเอง
- หน่วยงานราชการ อาทิ ลดการใช้ไฟฟ้าและน้ำมันเชื้อเพลิงลงร้อยละ 20 และ กำหนดให้ลดการใช้พลังงานร้อยละ 20 เป็นตัวชี้วัดของส่วนราชการ
นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตามมาตรการลดค่าครองชีพที่ออกมาในครั้งนี้ โดยเฉพาะการต่อมาตรการเดิม คือ การให้ส่วนลดค่าก๊าซหุงต้มให้ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จะใช้งบกลางฯ ในวงเงิน 220 ล้านบาท ส่วนการลดค่าก๊าซ LPG ให้หาบเร่แผงลอย การตรึงราคาก๊าซ NGV ได้ขอความร่วมมือ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) รับไปดำเนินการ