หลังจากที่กระทรวงสาธารณสุข ได้ปลดล็อกกัญชา กัญชง ออกจากบัญชียาเสพติดประเภท 5 เริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 9 มิ.ย. 65 ที่ผ่านมา (ยกเว้นแต่สารสกัดจากกัญชา กัญชง ที่มีปริมาณสาร THC เกิน 0.2% ที่ยังถือเป็นยาเสพติด) ซึ่งประชาชนทั่วไปสามารถเพาะปลูกได้อย่างเสรี รวมถึงผู้ประกอบการที่ปลูกในเชิงพาณิชย์ โดยไม่ต้องขออนุญาตนั้น
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยได้ทำการประเมินธุรกิจเด่นในช่วงครึ่งปีหลังนี้เพื่อเป็นแนวทางในการทำธุรกิจในอนาคต พบว่า 1ใน10ธุรกิจเด่นในช่วงครึ่งปีหลัง2565นี้พบว่า ธุรกิจสมุนไพรไทย อย่าง กัญชง กัญชา และใบกระท่อม ติด1ใน10ธุรกิจเด่นครึ่งปีหลัง
โดยมีปัญจัยสนับสนุน ไม่ว่าจะเป็น กระแสความต้องการสมุนไพรไทยในปัจจุบันเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะกลุ่ม กัญชง กัญชา กระท่อม และฟ้าทะลายโจร
ซึ่งประเทศไทยถือเป็นประเทศผู้ส่งออกวัตถุดิบสมุนไพรคุณภาพชั้นนำของภูมิภาคอาเซียนและด้วย มูลค่าวัตถุดิบสมุนไพรและผลิตภัณฑ์สมุนไพรภายในประเทศเพิ่มขึ้นต่อเนื่องทำให้อุตสาหกรรมสมุนไพรไทยมีคุณภาพระดับสากล
นอกจากนี้รัฐบาลยังร่วมบูรณาการแนวทางดำเนินงานตลอดห่วงโซ่อุปทานและสร้างมูลค่าเศรษฐกิจ สร้างสรรค์ของสมุนไพรและยิ่ง รัฐบาลปลดล็อก กัญชง กัญชา พ้นจากสถานะเป็นยาเสพติด (กรณีผลผลิตมีค่า THC ไม่เกิน 0.2%)และการประชาสัมพันธ์ การโฆษณาที่เข้าถึงทุกช่วงวัยได้มากขึ้นยิ่งส่งผลให้ธุรกิจดังกล่าวมีการพัฒนาและวิจัยผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพ
ทั้งนี้พบว่ายังมีธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องจากธูรกิจกัญชง กัญชา คือธุรกิจท่องเที่ยวและบริการ ซึ่งมียอดขายที่เพิ่มขึ้น17.7% แต่ทั้งนี้คู่แข่งก็เพิ่มมากขึ้น ซึ่งปัญหาเสี่ยงของธุรกิจนี้คือ การปลอมแปลงผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร และการหลอกลวงในการกล่าวอ้างสรรพคุณ เกินความเป็นจริง
จนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค และความไม่น่าเชื่อถืออีกทั้งประชนชนโดยส่วนใหญ่ยังมีความรู้ ความเข้าใจในวิธีการใช้สมุนไพรน้อย โดยเฉพาะสมุนไพรที่เพิ่งได้รับการปลดล็อก อาทิเช่น กันชง กัญชา และกระท่อม ในขณะที่ปริมาณวัตถุดิบสมุนไพรที่มีคุณภาพมีเพียงพอใกล้เคียงต่อความต้องการใช้ของ ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมซึ่งเรื่องนี้ภาครัฐไม่สามารถควบคุมการใช้สมุนไพรบางชนิด (กัญชา) ได้อย่างจริงจังและทั่วถึงอาจก่อให้ เสี่ยงต่อพฤติกรรมลอกเรียนแบบ โดยเฉพาะการใช้กัญชาในการเสพของเยาวชนอีกทั้งกฎหมายที่รองรับการปลดล็อก กันชง กัญชา และกระท่อมที่ยังไม่ใช้ชัดเจน
แต่อย่างไรก็ตามแม้ว่าธุรกิจสมุนไพรไทย โดยเฉพาะ กัญชง กัญชา ใบกระท่อม ก็ได้รับความนิยมมากถึง86% ของการโหวตให้เป็นธุรกิจเด่นในครึ่งปีหลังนี้
ทั้งนี้งานวิจัยของกรุงศรีได้มีการประมาณการมูลค่าอุตสาหกรรมกัญชงของไทยพิจารณาจากมูลค่าของอุตสาหกรรมปลายน้ำที่มีศักยภาพในการนำกัญชงไปใช้ เพื่อเป็นฐานในการประเมิน ร่วมกับสัดส่วนกัญชงที่คาดว่าจะถูกนำไปใช้ในแต่ละอุตสาหกรรม โดยปี 2564 คาดว่าอุตสาหกรรมเครื่องดื่มที่มีกัญชงผสมจะมีมูลค่า 280 ล้านบาท รองลงมาเป็นผลิตภัณฑ์อาหารจากกัญชง 240 ล้านบาท ยาและอาหารเสริมจากกัญชง 50 ล้านบาท เครื่องแต่งกายที่ทำด้วยใยกัญชง 30 ล้านบาท และผลิตภัณฑ์ดูแลส่วนบุคคลประเมินว่ายังอยู่ในช่วงการพัฒนาผลิตภัณฑ์เป็นหลักในปีแรก ทั้งนี้ 5 กลุ่มอุตสาหกรรมดังกล่าวจะมีการนำกัญชงไปใช้มูลค่าประมาณ 600 ล้านบาท และคาดว่าผลิตภัณฑ์กัญชงไทยจะเติบโตอย่างมากในช่วง 5 ปีแรกหลังรัฐปลดล็อคการประกอบธุรกิจ โดยตลาดกัญชงไทยจะมีมูลค่าสูงถึง 15,770 ล้านบาท ณ สิ้นปี 2568 หรือเติบโตเฉลี่ย 126% ต่อปี