"มะเร็ง" คือภาวะที่เซลล์ในร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงในระดับพันธุกรรม ทำให้มีการเจริญเติบโตมากขึ้นอย่างรวดเร็วจนไม่สามารถควบคุมและจำกัดขอบเขตได้ และทำให้มีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นในร่างกาย ความผิดปกติของเซลล์นี้สามารถเกิดได้ทุกอวัยวะ ซึ่งสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งแต่ละที่ก็มีความแตกต่างกันไป ส่งผลให้มะเร็งกลายเป็นโรคเรื้อรัง ต้องใช้ระยะเวลาในการรักษา และค่าใช้จ่ายก็มากขึ้นเรื่อย ๆ
สำนักงานประกันสังคม เปิดเผยอันดับ 10 โรคมะเร็ง พบบ่อย ค่าใช้จ่ายสูง เนื่องจากสุขภาพของผู้ประกันตนสำคัญ เนื่องจากมะเร็งเป็นหนึ่งในสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของคนไทยมาอย่างยาวนาน และมีแนวโน้มที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ
10 อันดับโรคมะเร็งพบบ่อย
ประกันสังจ่ายค่ารักษาสูงสุดในปี 2564
- มะเร็งเต้านม - 68,411,005 บาท
- มะเร็งลำไส้ใหญ่ - 36,094,747 บาท
- มะเร็งปอด - 13,419,252 บาท
- มะเร็งต่อมน้ำเหลือง - 12,385,878 บาท
- มะเร็งรังไข่ - 10,176,427 บาท
- มะเร็งปากมดลูก - 3,474,696 บาท
- มะเร็งมดลูก - 1,862,323 บาท
- มะเร็งท่อน้ำดีและถุงน้ำดี - 1,742,681 บาท
- มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ - 1,439,438 บาท
- มะเร็งต่อมลูกหมาก - 1,322,722 บาท
คุ้มครองผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และ 39 สามารถใช้สิทธิประกันสังคมรักษามะเร็ง
ตามข้อกำหนดของโรงพยาบาลตามสิทธิผู้ประกันตน ได้แก่
- ผู้ประกันตน ตามมาตรา 33 ได้แก่ พนักงานประจำ ลูกจ้าง (มนุษย์เงินเดือน) ที่มีอายุมากกว่า 15 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์
- ผู้ประกันตน ตามมาตรา 39 ได้แก่ ผู้ประกันตนโดยสมัครใจที่ส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมหลังผันตัวออกมาจากอาชีพเดิมแต่ยังต้องการสิทธิประโยชน์ของประกันสังคมไว้
ผู้ประกันตนสามารถเข้ารับการรักษาโรคมะเร็ง 20 ชนิด
- โดยจ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น
- โดยสถานพยาบาลที่เลือกไว้จะให้บริการทางการแพทย์แก่ผู้ประกันตนจนสิ้นสุดการรักษา
- โดยไม่จำกัดวงเงินค่าใช้จ่ายและจำนวนครั้งในการรักษา และจะไม่เรียกเก็บเงินจากผู้ประกันตน
- ยกเว้นมีค่าใช้จ่ายในการบริการด้านอื่นๆ ที่อยู่นอกเหนือสิทธิประกันสังคม เช่น การใช้ยาที่อยู่นอกบัญชียาหลัก ที่จะทำให้สิทธิการรักษามะเร็งขั้นพื้นฐานไม่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายยาในส่วนนี้
- การรักษาโรคมะเร็ง 20 ชนิด จะต้องให้การรักษาตามแนวทางที่กำหนด (Protocol)
- ให้จ่ายค่ารักษาพยาบาลตามอัตราที่กำหนดไว้ในแนวทางการรักษาโรคมะเร็ง
การรักษาโรคมะเร็ง 20 ชนิด
- โรคมะเร็งเต้านม
- โรคมะเร็งปากมดลูก
- โรคมะเร็งรังไข่
- โรคมะเร็งมดลูก
- โรคมะเร็งโพรงหลังจมูก
- โรคมะเร็งปอด
- โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ และลำไส้ใหญ่ตรง
- โรคมะเร็งหลอดอาหาร
- โรคมะเร็งตับ และท่อน้ำดี
- โรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
- โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก
- โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร
- โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันแบบลิมฟอยด์ในผู้ใหญ่
- โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองในผู้ใหญ่
- โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันชนิดมัยอีลอยด์ในผู้ใหญ่
- โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันในผู้ใหญ่แบบ Acute Promyelocytic leukemia (APL)
- โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังชนิดมัยอีลอยด์ในผู้ใหญ่
- โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวมัยอีโลมาในผู้ใหญ่
- โรคมะเร็งกระดูกชนิด Osteosarcoma ในผู้ใหญ่
- โรคมะเร็งเด็ก
การรักษาโรคมะเร็ง 20 ชนิดนี้ ที่ไม่สามารถรักษาตามแนวทางที่กำหนด (Protocol)
- กรณีมีความจำเป็นที่ต้องให้การรักษาด้วยยารักษาโรคมะเร็ง และ/หรือเคมีบำบัด และ/หรือรังสีรักษา ให้สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น แต่ไม่เกิน 50,000 บาทต่อรายต่อปี
- กรณีการรักษาโรคมะเร็งชนิดอื่นนอกเหนือจากโรคมะเร็ง 20 ชนิดนี้ ที่มีความจำเป็นต้องให้การรักษาด้วยยารักษาโรคมะเร็ง และ/หรือเคมีบำบัด และ/หรือรังสีรักษา ให้จ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นแต่ไม่เกิน 50,000 บาทต่อรายต่อปี
ตรวจสอบสิทธิประกันสังคมได้ที่ คลิกที่นี่
ข้อมูล : สำนักงานประกันสังคม , มูลนิธิเครือข่ายมะเร็ง