จากกรณี กระทรวงต่างประเทศสหรัฐ เปิดเผยรายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ (TIP) ประจำปี 2022 เมื่อวันอังคาร (19 ก.ค.) โดยไทยถูกปรับสถานะดีขึ้น จากเดิมที่อยู่ในระดับ"เทียร์ 2 ที่ต้องถูกจับตามอง" (Tier 2 Watch List) ขึ้นมาเป็นสถานะ "เทียร์ 2" (Tier 2)
เมื่อปีที่ผ่านมา (2021) ประเทศไทย ถูกลดสถานะใน “รายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์” (Trafficking in Persons Report หรือ (TIP) ซึ่งจัดทำขึ้นประจำปีโดย กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเป็นการปรับสู่ "เทียร์ 2 ที่ต้องจับตามอง" (Tier 2 Watch List) หรือพูดง่าย ๆว่า เป็นประเทศที่สหรัฐมองว่า มีปัญหาเรื่องการค้ามนุษย์ในระดับที่ต้องถูก “เฝ้าจับตา” หรือ "เฝ้าระวัง" เพราะหากไม่มีการแก้ไข นั่นหมายถึงไทยจะสูญเสียสิทธิหรือประโยชน์บางอย่างที่เคยได้รับจากสหรัฐอเมริกา รวมทั้งภาพลักษณ์ในเวทีระหว่างประเทศ
สถานะดังกล่าวนับว่าหมิ่นเหม่และสุ่มเสี่ยงที่จะเกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ รวมทั้งภาพลักษณ์ของประเทศไทย เพราะหากไทยอยู่ที่สถานะ "เทียร์ 2 ที่ต้องจับตามอง" (Tier2 Watch List) เป็นเวลา 2 ปีติดต่อกันเมื่อไหร่ และไม่มีการปรับแก้ไข ก็จะถูกปรับลดระดับลงอีกสู่ "เทียร์ 3"ซึ่งเป็นขั้นต่ำสุดและเลวร้ายที่สุด โดยอัตโนมัติ
ดังนั้น การที่ปีนี้ (2022) ไทยได้รับประกาศเลื่อนสถานะขึ้นเป็นเทียร์2 ที่ไม่ถูกเฝ้าจับตา จึงเป็นข่าวดีอย่างยิ่ง เรามาทำความรู้จัก “สถานะ” ในรายงานการค้ามนุษย์ของสหรัฐ ว่าแต่ละสถานะหรือแต่ละเทียร์(Tier) มีความหมายว่าอย่างไร
ระดับสถานการณ์การค้ามนุษย์ 4 ระดับ
กลุ่มเทียร์ 1 (Tier1)
กลุ่มเทียร์ 2 (Tier2)
กลุ่มเทียร์ 2 ที่ต้องจับตามอง (Tier2 Watch List)
กลุ่มเทียร์ 3 (Tier3)
ประเทศที่จัดอยู่ในกลุ่มเทียร์ 3 อาจจะต้องสูญเสียความช่วยเหลือจากรัฐบาลสหรัฐในด้านต่างๆ ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการค้า รวมทั้ง ยังอาจถูกสหรัฐ “คัดค้าน” หรือขวางลำ การได้รับความช่วยเหลือจากสถาบันระหว่างประเทศที่เป็นแหล่งทุนต่าง ๆ เช่น กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) และองค์กรพัฒนาเอกชนระหว่างประเทศ
สถานะของไทยล่าสุด จาก "เทียร์ 2 ที่ต้องถูกจับตามอง" เป็น "เทียร์ 2" (Tier 2)หมายความว่าอะไร