thansettakij
เอกชนหนุนกนง.ลดดอกเบี้ย หวังลดต้นทุนช่วงศก.อ่อนแอ

เอกชนหนุนกนง.ลดดอกเบี้ย หวังลดต้นทุนช่วงศก.อ่อนแอ

26 ก.พ. 2568 | 04:54 น.
อัปเดตล่าสุด :26 ก.พ. 2568 | 04:54 น.

เอกชนลุ้นกนง.ลดอกเบี้ยนโยบาย หวังต้นทุนลดเสริมกำลังผู้ประกอบการ ในภาวะเศรษฐกิจอ่อนแอ โบรกห่วงเศรษฐกิจครึ่งปีหลัง ท่ามกลางความท้าทาย คาดกนง.เก็บกระสุน ไม่เร่งลดดอกเบี้ยนโยบาย

การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)ครั้งแรกของปี 2568 ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ถูกกระตุ้นจากรัฐบาล โดยนายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่า การกระทรวงการคลังระบุว่า การปรับลดดอกเบี้ยนโยบาย นอกจากกระตุ้นเศรษฐกิจแล้ว ยังช่วยเรื่องการส่งออกจากค่าเงินที่อ่อนค่าลง เพราะขณะนี้เงินบาทยังแข็งค่าเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆในภูมิภาค 

ล่าสุดที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) เมื่อวันที่ 25 ก.พ. 2568 ได้ส่งหนังสือโดยตรงถึงธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อแสดงความเห็นเกี่ยวกับการทำนโยบายการเงินว่า จะต้องคำนึงถึงเป้าหมายกรอบเงินเฟ้อที่ 1-3%

รวมถึงต้องสอดคล้องกับนโยบายทางการคลังด้วย เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ

 

นายสนั่น  อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยเปิดเผยว่า ทางหอการค้าอยากจะให้ทาง ธปท.โดยคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)ลดดอกเบี้ยนโยบายลงอีก ซึ่งหากสามารถลดได้จะเป็นการเสริมกำลังให้กับผู้ประกอบการ ทำให้มีโอกาสที่จะใช้ดอกเบี้ยในอัตราที่ต่ำลง จากเวลานี้เศรษฐกิจยังอ่อนแอ

นายสนั่น  อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย นายสนั่น  อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย

อย่างไรก็ดี ต้องเคารพในความเป็นอิสระของ กนง. ซึ่งมีข้อมูลด้านต่างๆ ประกอบการในการตัดสินใจลด หรือคงดอกเบี้ยอยู่แล้ว เรื่องนี้คงไม่กล้าที่จะเข้าไปก้าวก่าย

"ในความเห็นส่วนตัว หากสามารถลดได้ก็จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ประกอบการที่ในภาวะเศรษฐกิจของไทยยังไม่ได้แข็งแรงมาก"

นายวิศิษฐ์  ลิ้มลือชา รองประธานกรรมการหอการค้าไทยและนายกสมาคมการค้าอาหารอนาคตไทยกล่าวว่า  การปรับลดดอกเบี้ยนโยบาย คงต้องดูตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศ  เรื่องเงินเฟ้อ บวกกับเรื่องของมาตรการต่างๆที่นำมาสนับสนุนการกระตุ้นเศรษฐกิจหรือเรื่องของการดูแลผู้ประกอบการรายเล็กรายย่อยที่ประสบปัญหาเรื่องของต้นทุน

นายวิศิษฐ์  ลิ้มลือชา รองประธานกรรมการหอการค้าไทยและนายกสมาคมการค้าอาหารอนาคตไทย นายวิศิษฐ์  ลิ้มลือชา รองประธานกรรมการหอการค้าไทยและนายกสมาคมการค้าอาหารอนาคตไทย

"ดอกเบี้ยถือเป็นต้นทุนสำคัญเรื่องหนึ่งของผู้ประกอบการด้วยเช่นกัน ทุกด้านคงต้องเอามาดูความเหมาะสม และจังหวะเวลา เชื่อว่า กนง. และธนาคารแห่งประเทศไทย จะมีข้อมูลทั้งหมดและสามารถปรับเรื่องของอัตราดอกเบี้ยได้อย่างถูกต้องถูกจังหวะกับภาวะเศรษฐกิจ ณ ช่วงนั้นๆ"

นายอภิชิต  ประสพรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) กล่าวว่า ในมุมของผู้ประกอบการหากสามารถปรับลดดอกเบี้ยลงได้อีกจะส่งผลดีกับผู้ประกอบการแน่นอน เพราะการลดดอกเบี้ยเป็นการลดต้นทุน ทำให้ผู้ประกอบการกล้าขยายการลงทุนเพื่อเป็นนักรบเศรษฐกิจให้กับประเทศ แต่ถ้าต้นทุนทางการเงินไม่ได้ถูกลง ยังคงเหมือนเดิมก็คงยาก

นายอภิชิต  ประสพรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) นายอภิชิต  ประสพรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)

รวมถึงเวลานี้การเข้าถึงสภาพคล่องก็ยากขึ้น เงินใหม่อยากจะได้ก็ไม่มี เงินเก่าอยากจะลดต้นทุนก็ไม่ได้ ขณะเดียวกันอยากจะขายของก็ขายยาก เพราะสินค้าของประเทศในภูมิภาคนี้คล้ายกัน

ม.ล. ณัฐสิทธิ์ ดิศกุล กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BAFS กล่าวว่า ในความเห็นส่วนตัวมองว่า ภาคเอกชนวันนี้ เห็นสัญญาณไม่ค่อยดีจากเศรษฐกิจไทยว่า เครื่องจักรที่มีอยู่จะเริ่มช้าลง 

ม.ล. ณัฐสิทธิ์ ดิศกุล กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ม.ล. ณัฐสิทธิ์ ดิศกุล กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

เพราะฉะนั้น จึงสนับสนุนให้ธปท. ลองพิจารณาทบทวนนโยบาย เพื่อดูว่าความจำเป็นที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านนโยบายทางด้านการเงิน อาจจะมีเพิ่มขึ้นหรือไม่อย่างไร


ทั้งนี้ หากถามว่า ดอกเบี้ยมีผลต่อภาคธุรกิจ หรือเป็นต้นทุนทางการเงินมากแค่ไหน คำตอบก็คือมีผลมาก ยิ่งเป็นภาคธุรกิจที่อิงโครงสร้างพื้นฐาน หรือภาคบริการ มีการลงทุนในสินทรัพย์เป็นหลัก เป็นอุปกรณ์ จะมีต้นทุนทางการเงินสูงมาก หากอัตราดอกเบี้ยลดลงก็จะทำให้ต้นทุนทางการเงินกลุ่มอุตสาหกรรมเหล่านี้ดีขึ้น

อย่างไรก็ดี หากเทียบการลดดอกเบี้ยระหว่าง ธปท. กับธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) มองว่า มีความแตกต่างกัน เพราะเศรษฐกิจของสหรัฐฯในปีที่ผ่านมา ถือว่าดีอย่างมาก หรือเรียกว่า แข็งแกร่งแทบจะที่สุดในโลก เพราะฉะนั้นภาพรวมจึงไม่เหมือนกับไทย

การรักษาเสถียรภาพของเงินดอลลาร์ และการผยุง (Maintain) ดอกเบี้ยของสหรัฐฯ จึงมีความจำเป็น แต่ของไทยไม่ใช่หากไม่ทำอะไรเลย ภาคธุรกิจจะเหนื่อย 

“ต้องบอกว่าสหรัฐฯกับไทยเรื่องนโยบายดอกเบี้ย เป็นโจทย์ที่แตกต่างกัน หรือเรียกว่าคนละโจทย์ โดยหวังว่า ธปท. จะลดดอกเบี้ยลง เพื่อช่วยขับเคลื่อนภาคธุรกิจ และเศรษฐกิจ”

 

 

หน้า 13 หนังสือพิมพ์ ฐานเศรษฐกิจ  ฉบับที่ 4,074 วันที่ 27 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม พ.ศ. 2568