thansettakij
“รศ.ดร.สมชาย” ชี้สหรัฐขึ้นภาษีสูงสุดรอบ 100 ปี จุดไฟสงครามการค้า

“รศ.ดร.สมชาย” ชี้สหรัฐขึ้นภาษีสูงสุดรอบ 100 ปี จุดไฟสงครามการค้า

03 เม.ย. 2568 | 05:36 น.
อัปเดตล่าสุด :03 เม.ย. 2568 | 05:36 น.

รศ.ดร.สมชายเผยสหรัฐขึ้นภาษีล่าสุดสูงสุดรอบ 100 ปี ระบุเป็นการจุดไฟสงครามการค้าอย่างแท้จริง ชี้ทำเพื่อไว้ต่อรองแก้ปัญหาดุลการค้า

รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ นักวิชาการอิสระ เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” เกี่ยวกับประเด็นการปรับขึ้นภาษีประเทศไทย 36% ของสหรัฐอเมริกา ว่า เป็นอัตราที่สูงกว่าหลายฝ่ายคาดการณ์ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่น่าแปลกใจ เนื่องจากทุกประเทศก็ถูกปรับขึ้นภาษีมากกว่าที่คาดการณ์ เรียกว่าเป็นการขึ้นภาษีสูงสุดในรอบ 100 ปี ดังนั้นไม่ต้องแปลกใจ

สำหรับการถูกเรียกเก็บ 36% มาจากการที่สหรัฐฯกล่าวหาว่าไทยเก็บภาษีจากสหรัฐฯ 72% จึงมีมาตรการภาษีตอบโต้ออกมา หรือจะกล่าวก็คือ โดนเรียกเก็บเท่าไหร่ ก็จะเก็บคืนเท่านั้น อย่างไรก็ด็ สหรัฐฯเองก็ระบุว่ายังเป็นการเรียกเก็บน้อยกว่าความเป็นจริง หรือเพียงครึ่งเดียว

อย่างไรก็ดี มองว่าเรื่องดังกล่าวเป็นเพียงข้ออ้างเท่านั้น เนื่องจากที่สหรัฐฯเรียกเก็บจากไทย และประเทศอื่นไม่ใช่เพียงแค่ภาษีอย่างเดียว แต่ยังหมายถึงมาตากรที่ไม่ใช่ภาษี เช่น มาตรฐานสินค้า กฏระเบียบ เป็นต้น ขณะที่ตัวเลขการจัดเก็บดังกล่าวก็เป็นตัวเลขที่สร้างขึ้นมาเอง 

“สหรัฐฯมองว่าไทยเก็บภาษี 72% เป็นกำแพงภาษี และที่สิ่งที่ไม่ใช่ภาษีรวมกัน ซึ่งอาจจะหมายถึงสิทธิทางปัญญา จึงนำไปสู่การเก็บภาษี 36% จากไทย เป็นการเล่นงาน“

อย่างไรก็ตาม การเรียกเก็บภาษีดังกล่าวส่งผลกระทบไปทั่วโลก โดยจีนถือว่าโดนหนักที่สุดรวมแล้ว 50% เช่นเดียวกับเวียดนาม ซึ่งสิ่งที่โดนัลด์ ทรัมป์ ดำเนินการเป็นสงครามการค้าอย่างแท้จริง

รศ.ดร.สมชาย กล่าวอีกว่า การที่ทรัมป์ตั้งภาษีอัตราสูงดังกล่าว ก็เพื่อไว้สำหรับให้ประเทศอื่นต่อรอง เพื่อให้สหรัฐฯได้แก้ปัญหาเรื่องดุลการค้า ดุลบริการ หรือดุลบัญชีเดินสะพัด โดยนำส่วนที่ขาดดุลมาเป็นตัวตั้ง นอกจากนี้ ยังอาจจะมีการเจรจาในมิติอื่น เช่น ความมั่นคงในกรณีของจีน เพื่อช่วยยูเครน ช่วย TikTok ส่วนแม็กซิโก แคนานดาก็จะช่วยเรื่องการเข้าเมือง ด้านสหภาพยุโรปจะเป็นเรื่องมาตรฐานสินค้า และเรื่องภาษีที่เก็บสูง เป็นต้น

“การขึ้นภาษีดังกล่าวเพื่อเป็นการบีบ หรือเรียกว่าเป็นการแก้ไขปัญหาดุลการค้า และทำให้เกิดการลงทุนใสหรัฐฯ ซึ่งจะทำให้เกิดการจ้างงาน อีกทั้งยังมุ่งทำให้เกิดการขยายตัวของสินค้าและบริการในต่างประเทศ และเคารพในเรื่องสิทธิทางปัญญา เพื่อให้เกิดความมั่นคง เรียกว่า เป็นการสร้างเครื่องมือในการต่อรอง รวมถึงสร้างความได้เปรียบอีกหนึ่งขั้น นอกจากนี้ ยังเป็นการหาเสียง สังเกตุได้จากการประกาศนโยบายโดยมีกลุ่มสหพันธ์ร่วมติดตามเป็นตำนวนมาก อีกทั้งยังเป็นการส่งสัญญาณชัดเจนว่าทรัมป์ต้องการอยู่อีกสมัย มีการแก้รัฐธรรมนูญ“

ส่วนผลกระทบกับไทย ประกอบด้วย

  • สินค้าที่ส่งออกจะมีราคาสูงขึ้น ซึ่งจะกระทบกับภาคส่งออก
  • การค้าโลกจะเกิดการชะลอตัว ซึ่งจะส่งผลกระทบทางอ้อมต่อการส่งออก และจีดีพีไทย
  • สินค้าหลายประเทศจะทะลักเข้าไทย โดยเฉพาะจากประเทศจีน ซึ่งมีราคาถูกก็จะกระทบผู้ประกอบการไทย
  • เมื่อการค้าชะลอตัว อาจจะทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถย (Recession)รีในสหรัฐฯ และบางประเทศ

“เวลานี้หากประเมินให้ชัดเจนอาจจะยังเร็วเกินไป เพราะนี่เป็นขั้นตอนที่สหรัฐฯบีบประเทศอื่นไว้ก่อน เพื่อนำไปสู่การเจรจา โดยภาพที่ชัดเจนจะเห็นชัดในช่วงปลายไตรมาส 2 หรือครึ่งปีหลัง

ด้านแผนในการรับมือ ประกอบด้วย

  • การเตรียมการเจรจา โดยอาจจะมีกานำเข้าสินค้าจากสหรัฐ เช่น สินค้าเกษตร 
  • มีการลงทุนในสหรัฐฯ ซึ่งจะต้องไปหารือกับภาคเอกชนต่อ
  • บางเรื่องอาจจะรู้สึกว่าไทยไม่ใช่กระสอบทราย เพราะมีบางเรื่องที่สำคัญมากสำหรับสหรัฐฯ เช่น การเกษตร ข้าวโพด ถั่วเหลือง หากไทยถูกเล่นงานก็อาจจะกระทบไปด้วย สินค้าของสหรัฐจะแพงขึ้น เป็นอำนาจในการต่อรองที่ไทยมี
  • ดูเรื่องที่เกี่ยวข้องกับบางเรื่องที่ไทยอาจเป็นประโยชน์กับสหรัฐฯ เนื่องจากมีข้อตกลงให้บริษัทจากสหรัฐฯ ถือครองที่ดินได้ 100% ซึ่งเป็นประเทศเดียว อาจจะเชิญชวนให้เข้ามาลงทุนในไทย ก็จะได้ประโยน์เรื่องเทคโนโลยี
  • การแก้ไขผ่อนปรนกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี เพราะสหรัฐฯต้องการขยายอุตสาหกรรมดัวกล่าวในประเทศอื่น
  • ต้องมีการป้องกันตัว เช่น หากเศรษฐกิจโลกถูกกระทบ ทำให้เศรษฐกิจ และส่งออกไทยแย่ตามไปด้วย ดังนั้น จะต้องมีกระสุนเหมือนจีน สำหรับกระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อไม่ให้ชะลอตัวลงไป

”แรงกระตุ้นดังกล่าวอาจจะต้องเตรียมมาตรการเรื่องงบประมาณไว้รองรับ แต่ก็ต้องยอมรับว่า ไทยมีข้อจำกัด มีหนี้สาธารณะสูงถึง 65% และมีการขาดดุลงบประมาณสูงถึง 4.5% แต่ก็มีความจำป็นที่ต้องเตรียมไว้ เพื่อไว้ใช้ในยามจำเป็นแบบที่จีนมีการใช้อยู่“

  • เป็นช่วงที่ไทยต้องปรับโครงสร้างเรื่องการค้าการลงทุนโลก หรือเรียกว่าไทยจะต้องมีการขยาย จากโลกที่มีการเปลี่ยนแปลง ต้องมีการวิเคราะห์ว่า หากสหรัฐดำเนินมาตาการทางภาษีดังกล่าว ประเทศอื่นจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงเรื่องการค้า สหรัฐฯมีการนำเข้าเหลือแค่ 15% จาก 25% ดังนั้น จึงต้องมีการวางแผนในการกระจายสินรค้าของไทยไปยังประเทศอื่นที่ไม่เคยมีการค้าร่วมกัน เช่น ละตินอเมริกา แอฟริกา ซึ่งที่ผ่านมาจะเห็นว่ามีการขยายตัวได้ดี ต้องทำการบ้านหนักขึ้น
  • ถือโอกาสพัฒนาคู่ขนานเรื่องการกระตุ้น และ FTA ซึ่งจะเป็นตัวช่วยอีกด้านหนึ่ง เพราะทุกประเทศมีการทำ FTA และไทยยังมีค้างอยู่กับประเทศยุโรป หรือสหรัฐอาหรับเอมิเรตต์ ซึ่งจะช่วยไทยได้