ดาวพฤหัสบดีใกล้โลก 2565 ในรอบ 59 ปี วันที่ 27 กันยายนอย่าพลาดชม

25 ก.ย. 2565 | 09:36 น.
อัปเดตล่าสุด :25 ก.ย. 2565 | 16:43 น.

ดาวพฤหัสบดีใกล้โลก 2565 ในรอบ 59 ปี วันที่ 27 กันยายน สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ชวนชมผ่านกล้องโทรทัศน์ทั้ง 4 จุด เริ่มเวลา 18.00-22.00 น.

วันที่ 25 กันยายน 2565 เพจ NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ โพสต์ข้อความว่า วันที่ 27 กันยายน 2565 ดาวพฤหัสบดีใกล้โลก 2565 จะโคจรเข้ามาอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามดวงอาทิตย์ ดวงอาทิตย์ โลก

  • ดาวพฤหัสบดีใกล้โลก 2565 จะเรียงตัวอยู่ในแนวเดียวกันโดยมีโลกอยู่ตรงกลาง
  • เป็นตำแหน่งใกล้โลกที่สุดในรอบปี ห่างจากโลกประมาณ 591 ล้านกิโลเมตร ปกติแล้วดาวพฤหัสบดีจะโคจรมาใกล้โลกทุกปี
  • และครั้งนี้ยังถือเป็นการโคจรเข้าใกล้โลกที่สุดในรอบ 59 ปี นับตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2506

 

วันดังกล่าว เมื่อดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า จะเห็นดาวพฤหัสบดีปรากฏสว่างมากทางทิศตะวันออก ดูได้ด้วยตาเปล่า ทุกภูมิภาคทั่วไทย หากฟ้าใส ไร้เมฆฝน สังเกตได้ตลอดคืนจนถึงรุ่งเช้า

หากมองผ่านกล้องโทรทรรศน์

  • ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 4 นิ้ว
  •  และมีกำลังขยายตั้งแต่ 30 เท่าขึ้นไป จะสามารถสังเกตเห็นแถบเมฆบนดาวพฤหัสบดี
  • และดวงจันทร์กาลิเลียน 4 ดวง ได้แก่ ไอโอ ยูโรปา แกนิมีด คัลลิสโต ได้อย่างชัดเจน
  •  อีกทั้งคืนดังกล่าวยังมีโอกาสเห็นเหตุการณ์ขณะที่ดวงจันทร์ไอโอเคลื่อนที่ผ่านหน้าดาวพฤหัสบดี ในช่วงเวลาประมาณ 21:48 - 00:04 น.
  •  รวมถึงยังคงเห็นดาวเสาร์ปรากฏสว่างถัดจากดาวพฤหัสบดีไปทางทิศตะวันตกอีกด้วย

คืนวันอังคารที่ 27 กันยายน 2565 สดร. จัดกิจกรรมสังเกตการณ์ดาวพฤหัสบดีใกล้โลก ชวนส่องแทบเมฆ และดวงจันทร์กาลิเลียนของดาวพฤหัสบดีผ่านกล้องโทรทรรศน์ ณ 4 จุดสังเกตการณ์หลัก ได้แก่

  • อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร อ. แม่ริม จ. เชียงใหม่ และ หอดูดาว เฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา
  • นครราชสีมา
  •  ฉะเชิงเทรา
  •  สงขลา
  • ตั้งแต่เวลา 18:00 - 22:00 น. ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย

สำหรับผู้สนใจร่วมกิจกรรมในพื้นที่อื่น ๆ ทั่วประเทศ สดร. ร่วมกับโรงเรียนในเครือข่ายกระจายโอกาสการเรียนรู้ดาราศาสตร์ 560 แห่ง ตั้งกล้องโทรทรรศน์ และจัดกิจกรรมสังเกตปรากฏการณ์ในครั้งนี้ด้วย ตรวจสอบจุดสังเกตการณ์ใกล้บ้านท่านได้ที่ https://bit.ly/MemberList-NARIT-DobsonianTelescope2022

นอกจากนี้ ยังสามารถรับชมถ่ายทอดสดปรากฏการณ์ผ่านทางเฟซบุ๊ก : NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ได้ตั้งแต่เวลา 19:00 น. เป็นต้นไป.

 

ที่มา: NARIT