ปลัดคลังมั่นใจ กฎหมายภาษีอีคอมเมิร์ซ ออกทันปีงบ 61

16 ต.ค. 2560 | 12:44 น.
อัปเดตล่าสุด :16 ต.ค. 2560 | 19:44 น.
ปลัดคลังมั่นใจ กฎหมายภาษีอีคอมเมิร์ซ ออกทันปีงบ 61 แน่ ส่งผลให้จัดเก็บรายได้สรรพากรจะไม่พลาดเป้าอีกแน่

[caption id="attachment_220227" align="aligncenter" width="503"] นายสมชัย สัจจพงษ์ นายสมชัย สัจจพงษ์[/caption]

นายสมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลังเปิดเผยถึงความคืบหน้าร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เพื่อรองรับการจัดเก็บภาษีจากผู้ประกอบการธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (e-Business)ว่า  ได้เสนอเรื่องไปที่คณะรัฐมนตรี(ครม.)แล้ว อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา แต่คาดว่า กฎหมายจะผ่านในรัฐบาลนี้และมีผลบังคับในปีงบประมาณ 2561 แน่นอน ซึ่งจะทำให้ปิดช่องโหว่ในส่วนของภาษีที่อาจจะหายไปจากการค้าขายออนไลน์ได้ และทำให้รายได้ของกรมสรรพากรที่ต่ำกว่าเป้าหมายปีละแสนล้านบาทกลับมาได้

นายสมชัยกล่าวว่า ปีนี้จะเน้นรายได้จากกรมสรรพากรเป็นหลักต่อเนื่องจากปีงบประมาณที่ผ่านมาที่เอาผู้เสียภาษีที่ยังไม่เคยเข้าระบบให้เข้าระบบมากขึ้น ทั้งการออกมาตรการ  บัญชีเดียว ให้บุคคลธรรมดาเป็นนิติบุคคล การดึงร้านทอง ร้านแว่นตาเข้าระบบ ซึ่งจะทำให้ฐานภาษีขยายขึ้น เพราะถ้าดูภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่ควรมีผู้เสียภาษี 20-30 ล้านคน เสียแค่ประมาณ 6-7 ล้านคน ในส่วนของภาษีนิติบุคคลก็เช่นเดียวกัน จำนวนบริษัทที่อยู่ในข่ายต้องเสียภาษีมีพอสมควร แต่รายที่ยื่นภาษียังน้อยอยู่มาก นอกจากนั้นยังมีบางส่วนจากการแก้ไขหนี้นอกระบบ ถ้าสามารถนำเจ้าหนี้นอกระบบที่ไม่เคยเสียภาษี มาเป็นฟิโกไฟแนนซ์ หรือ นาโนไฟแนนซ์ จะเป็นฐานภาษีใหม่เช่นกัน

“เราไม่มีแนวโน้มที่จะเพิ่มอัตราภาษี สิ่งที่จะทำฐานผู้เสียภาษีต้องขยายเพิ่มขึ้นคือส่วนที่หวังมากว่า ในปีงบประมาณนี้ฐานภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาน่าจะเข้ามาได้อีกเพิ่มเติม ขณะเดียวกันเมื่อภาษีอีคอมเมิร์ส ออนไลน์มีผล และ national e payment ก็เดินหน้าไปเรื่อยๆ  และยังมีเรื่อง Tax Invoice ที่จะต้องผ่านระบบ อิเล็กรอนิกส์ก็จะช่วย  ทำให้ระบบการจัดเก็บภาษีมีประสิทธิภาพมากขึ้น ประกอบกับเศรษฐกิจเริ่มดีขึ้น จะทำให้การจัดเก็บรายได้จากภาษีเป็นไปตามเป้าที่วางไว้ได้”นาสมชัยกล่าว

ส่วนการจัดเก็บรายได้จากกรมศุลกากรที่จะได้รับผลกระทบจากข้อตกลงทางการค้าเสรีอาเซียน-จีน นายสมชัยกล่าวว่า เรื่องเอฟทีเอเป็นห่วงมานานแล้ว แต่ต้องยอมรับความจริงว่า เอฟทีเอเกิดและเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้รายได้จากภาษีศุลกากรลดลงเรื่อยๆเช่นกัน แต่สิ่งที่อยากเห็นคือ การอุดรอยรั่ว ซึ่งเกิดจาก 3 กรณี คือ การสำแดงราคาต่ำ การสำแดงพิกัดผิด และการสำแดงจำนวนปริมาณนำเข้าผิด ซึ่งศุลกากรต้องเพิ่มประสิทธิภาพในด้านนี้ โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาหรือใช้ระเบียบกฎเกณฑ์ต่างๆ ให้เจ้าหน้าที่ทำตามกฎเกณฑ์ระเบียบมากขึ้น

นายสมชัยกล่าวถึงมาตรการทางภาษี เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวว่า  การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.)ต้องการใช้มาตรการภาษีสนับสนุนการท่อวงเที่ยวเป็นการให้ทั่วไป  ซึ่งมองว่า อาจไม่จำเป็น  เพราะกระทรวงการคลังต้องการให้ภาษีเป็นประโยชน์กับนักท่องเที่ยวที่ไปเที่ยวในจังหวัดที่มีแหล่งท่องเที่ยงรองๆ  เมือง หรือชุมขนที่คนไม่ไป แต่มีสิ่งอำนวยความสะดวกอยู่แล้ว  ไม่ใช่การส่งเสริมไปเที่ยวภูเก็ตหรือเชียงใหม่ ซึ่งคนไปเที่ยวกันเยอะอยู่แล้ว e-book-1-503x62