‘JMART จับมือ MFEC’ ซินเนอร์ยี บริษัทย่อยขยายลูกค้า

01 ก.ค. 2561 | 02:08 น.
อัปเดตล่าสุด :01 ก.ค. 2561 | 09:08 น.
สัปดาห์ที่ผ่านมาผู้บริหารทั้ง 2 บริษัท คือ บริษัท เอ็ม เอฟ อี ซี จำกัด (มหาชน) (บมจ.) หรือ MFEC และบมจ. เจ เวนเจอร์ส หรือ JVC (บริษัทย่อยที่เจมาร์ทถือหุ้น 80%) ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางธุรกิจ โดยที่ MFEC จะเข้ามาพัฒนาโซลูชันระบบการชำระเงิน   ซึ่งเป็นชิ้นส่วนสำคัญของระบบ JFIN Decentralized Digital Lending Platform (JFIN DDLP) ให้แก่ JVC และนับเป็นจุดเริ่มต้นของความร่วมมือที่จะพัฒนา ไปสู่ความเป็น “หุ้นส่วนทางธุรกิจ”

นายธนกร ชาลี  ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ บมจ. เอ็ม เอฟ อี ซี (MFEC) ให้สัมภาษณ์พิเศษ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า หลังจากบจก.โมเดอร์นฟอร์ม อินทิเกรชั่น เซอร์วิสเซส (MIS) บริษัทย่อยที่ MFEC ถือหุ้น 100% ปรับโครงสร้างองค์กรและกลยุทธ์เพื่อรองรับการให้บริการในธุรกิจชำระเงิน Modern Pay  ภายใต้บริการ “ChillPay”  และเปลี่ยนชื่อเป็น บจก.พระอินทร์ ฟินเทค  พร้อมปรับธุรกิจเข้าสู่กลุ่มสตาร์ต อัพ เมื่อไตรมาสแรกที่ผ่านมา  เป็นจังหวะเดียวกับที่  JVC ระดมทุนออกไอซีโอ และมีแผนลงทุนพัฒนาระบบ  JFIN Decentralized  Digital Lending Platform  (Jfin DDLP) จึงได้หารือร่วมกันจนนำไปสู่การร่วมทุน

[caption id="attachment_293433" align="aligncenter" width="335"] ธนกร ชาลี ธนกร ชาลี[/caption]

ภายใต้ความร่วมมือบริษัทจะเข้าไปพัฒนาโซลูชันระบบการชำระเงิน โดยใช้ ChillPay เป็นตัวทำให้กับระบบ JFIN Decentralized  Digital Lending Platform  (Jfin DDLP) ของ JVC    คาดจะแล้วเสร็จพร้อมเริ่มใช้งานได้ในเดือนตุลาคม 2561 นี้    โดยที่ JVC   จะเข้ามาถือหุ้น 25% ในบริษัทพระอินทร์ ฟินเทคฯ   ซึ่งอาจจะซื้อจากผู้ถือหุ้นเดิมหรือการเพิ่มทุน จากปัจจุบันบริษัทพระอินทร์ ฟินเทคฯ มีทุนจดทะเบียน  30 ล้านบาท

การซินเนอร์ยีระหว่างบริษัทย่อยของกลุ่ม  JMART และ MFEC  ถือว่า WIN WIN ตอบโจทย์ทั้ง MFEC จากการได้พาร์ตเนอร์เพิ่ม เพราะได้ทั้งกลุ่มเจมาร์ท (มี 6 แห่ง อาทิ บจก.ซิงเกอร์, เจเอ็มทีพลัส, เจฟินเทค) ที่จะต่อยอดเป็นลูกค้าเพย์เมนต์เกตเวย์ของ ChillPay ด้วย

ในทางกลับกันทางเจมาร์ทก็จะได้อานิสงส์จากลูกค้าโปรดักต์ ChillPay ซึ่งมีฐานลูกค้าที่เซ็นสัญญากับ MFEC กว่า 10 ราย  จำนวนนี้บางรายมาเป็นกลุ่มบริษัท รวมๆ แล้วมีลูกค้าในมือกว่า 100 บริษัท ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจอี-คอมเมิร์ซเป็นส่วนใหญ่   ลูกค้ากลุ่มนี้ต่อไปสามารถใช้วงเงินผ่าน เจมันนี่  (J-money) ได้อยู่แล้ว

“ยกตัวอย่างซื้อคอมพิว เตอร์ JIB ออนไลน์ แทนที่จะจ่ายเงินสด  หรือจ่ายบัตรเครดิต ก็สามารถเอาวงเงินสินเชื่อบุคคลจากเจมันนี่มาจ่าย  เป็นการช่วยเพิ่มสภาพคล่องลูกค้า  จากผลของการซินเนอร์ยี เรากำลังคุยกันว่า เมื่อร่วมกันแล้วแต่ละฝ่ายจะเติบโตเป็นเท่าไรอย่างไร” MP18-3378-A

ขณะเดียวกันยังเป็นการตอบโจทย์ระบบเพย์เมนต์  ที่เริ่มมีผลกระทบ จากการที่ธนาคารพาณิชย์ฟรีค่าธรรมเนียมการ
โอน  โดยบางรายใช้ผ่านแอพพลิ-เคชันของธนาคาร ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมแลกกับการยอมเสียเวลา เทียบกับที่ชำระเงินตัดผ่าน ChillPay ที่ต้องเสียค่าธรรมเนียม  แต่รวดเร็วกว่าเพราะเป็นการจ่ายโดยตรง  ในแง่มุมของธุรกิจบริษัทจึงต้องปรับตัว

“ผลกระทบในช่วงสั้น เราอาจเสียโอกาส 30%  จากที่ลูกค้าที่เคยทำธุรกรรมผ่าน แต่ระยะกลาง-ยาวไม่กระทบ เพราะลูกค้าเราส่วนใหญ่เป็นอี-คอมเมิร์ซ   เป็นลูกค้าที่สั่งซื้อสินค้าทางออนไลน์  ต้องการความรวดเร็วและสะดวก  Chillpay ตอบโจทย์ได้ดีกว่า  ประกอบกับเทรนด์ของอี-คอมเมิร์ซ  และสังคมไร้เงินสด (cashless)มาแรง ดังนั้นการปรับตัวจึงต้องมีพาร์ตเนอร์ และเรายังมีแผนที่จะนำโปรดักต์ ChillPay ไปขยายตลาดในประเทศรอบนอก เช่นลาว, เวียดนาม, เมียนมา ในกลุ่มลูกค้าอี-คอมเมิร์ซ”

ทั้งนี้ธุรกรรมผ่าน  ChillPay  แต่ละปีเติบโตหลายเท่าตัว  ปี 2559 มีวงเงินธุรกรรมผ่านประมาณ 100 ล้านบาท เพิ่มเป็น 3 เท่าตัวเป็น 300 ล้านบาทในปี 2560 และปีนี้บริษัทตั้งเป้าหมายเติบโตเป็น 2 เท่าตัว หรือประมาณ 600 ล้านบาท

หน้า 17 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ  ปีที่ 38 ฉบับ 3,378 วันที่ 28-30 มิถุนายน 2561