จากกรณีที่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)วันที่ 16 มิ.ย. 63 มีมติเห็นชอบหลักการ ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 วงเงินรายจ่ายไม่เกิน 3.3 ล้านล้านบาท ซึ่งจะได้เตรียมเสนอเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรต่อไป
แหล่งข่าวจากที่ประชุมครม. เปิดเผยกับฐานเศรษฐกิจว่า ในการจัดทำ งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 สำนักงบประมาณ ได้จัดทำรายงาน "ภาพรวมแนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2564" ระบุในเอกสารงบประมาณว่า
เศรษฐกิจไทยในปี 2563 คาดว่าจะปรับตัวลดลงในช่วงร้อยละ (-6.0) – (-5.0) โดยมีสาเหตุหลักจากผลกระทบของการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ รวมทั้งการดําเนินมาตรการควบคุมและจํากัดการเดินทางของประเทศต่าง ๆ ทําให้เศรษฐกิจโลก ปริมาณการค้าโลก และจํานวนนักท่องเที่ยวต่างชาติปรับตัวลดลง รุนแรง ซึ่งจะส่งผลให้แรงขับเคลื่อนทั้งจากอุปสงค์ต่างประเทศและในประเทศปรับตัวลดลง
อย่างไรก็ตามแนวโน้มการลดลงของระดับความรุนแรงของการระบาดภายในประเทศคาดว่า จะทําให้ภาครัฐสามารถผ่อนคลายมาตรการควบคุมต่างๆ ได้ถึงระดับใกล้เคียงภาวะปกติได้ ภายในไตรมาสที่สอง และการลดลงของความรุนแรงของการระบาดในต่างประเทศจะทําให้รัฐบาลประเทศสําคัญสามารถผ่อนคลายมาตรการต่าง ๆ จนถึงระดับใกล้เคียงกับภาวะปกติได้ภายในไตรมาสที่สาม ในขณะที่มาตรการควบคุมด้านการท่องเที่ยวคาดว่าจะมีการผ่อนคลาย ภายในไตรมาสที่สี่
ภายใต้แนวโน้มดังกล่าว คาดว่าจะทําให้ในช่วงครึ่งหลังของปีเศรษฐกิจไทย จะปรับตัวลดลงในอัตราที่ช้าลง โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น ของเศรษฐกิจโลกและการเริ่มฟื้นตัวอย่างช้า ๆ ของภาคการท่องเที่ยว แรงขับเคลื่อนจาก การใช้จ่ายและการลงทุนของภาครัฐ และปัจจัยสนับสนุนจากการผลิตและการส่งออกสินค้า ที่ได้รับผลประโยชน์จากมาตรการกีดกันทางการค้าและการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
เศรษฐกิจไทยในปี 2564 คาดว่าจะขยายตัวในช่วงร้อยละ 4.0 - 5.0 โดยได้รับปัจจัย สนับสนุนจากฐานการขยายตัวที่ต่ำผิดปกติในปี 2563 และแนวโน้มการปรับตัวดีขึ้นของ อุปสงค์ภาคต่างประเทศภายหลังการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ผ่อนคลายลง
รวมถึงการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศตามการเริ่มฟื้นตัวของฐานรายได้จาก การส่งออก การท่องเที่ยว การผลิตภาคเกษตร และแรงขับเคลื่อนจากภาครัฐทั้งการเบิกจ่าย ภายใต้กรอบงบประมาณรายจ่ายประจําปี งบลงทุนรัฐวิสาหกิจ และการเบิกจ่ายภายใต้ พระราชกําหนดให้อํานาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟู เศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 อย่างไรก็ตาม การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยยังมีความไม่แน่นอนสูง
และมีความเสี่ยงที่จะต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ หากสถานการณ์ การระบาดของโรคติดเชื้อ - โคโรนา 2019 มีความยืดเยื้อและมาตรการควบคุมของประเทศสําคัญขยายระยะเวลาออกไป หรือปัญหาในภาคการผลิตลุกลามไปสู่วิกฤตการณ์ทางการเงินการคลังในประเทศสําคัญ รวมทั้งในกรณีที่มาตรการกีดกันทางการค้าทวีความรุนแรงมากขึ้น ในขณะเดียวกัน มีความเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจจะขยายตัวได้ดีกว่าที่คาดการณ์ไว้ในกรณีที่การระบาดของ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สามารถยุติลงได้อย่างสิ้นเชิงภายในไตรมาสแรกของปี 2564
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ครม.เห็นชอบร่างพ.ร.บ.งบรายจ่ายปี 64 วงเงิน 3.3 ล้านลบ.
‘ซุกงบ’แก้โควิด-19ประวัติศาสตร์ที่ต้องบันทึก
อัพเดท "พรก.เงินกู้" และ งบประมาณ ฟื้นฟูประเทศ หลังวิกฤติโควิด-19
จากนั้น สำนักงบประมาณ ได้ระบุถึง "นโยบายงบประมาณปี 2564" ว่า
การจัดทํางบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 รัฐบาลได้คํานึงถึง การดําเนินภารกิจ เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ ยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วย ความมั่นคงแห่งชาติ แผนการปฏิรูปประเทศ นโยบายสําคัญของรัฐบาล ให้ประสบผลสําเร็จ และเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม และสนับสนุนให้เศรษฐกิจของประเทศ มีการฟื้นตัวและขยายตัว อย่างต่อเนื่อง โดยได้กําหนดนโยบายและแนวทางการจัดทํางบประมาณรายจ่ายประจําปี งบประมาณ พ.ศ. 2564 ดังนี้
1. ดําเนินนโยบายงบประมาณขาดดุล ภายใต้กรอบวินัยการเงินการคลังและความจําเป็น ของการใช้จ่ายภาครัฐ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เกิดการขยายตัวอย่างมีประสิทธิภาพ
2. ให้ความสําคัญกับการจัดทํางบประมาณแบบบูรณาการในทุกมิติ ทั้งมิติกระทรวง หน่วยงาน มิติบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์ และมิติบูรณาการเชิงพื้นที่ ให้มีความเชื่อมโยง สอดคล้อง สนับสนุนซึ่งกันและกันอย่างมีประสิทธิภาพ คุ้มค่า และไม่ซ้ําซ้อน เพื่อให้ การขับเคลื่อนการดําเนินงานของรัฐบาลเกิดผลสําเร็จอย่างเป็นรูปธรรม ส่งเอะ - ประเทศบรรลุเป้าหมายตามที่กําหนด
3. ให้ความสําคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนแล ของประชาชน ทั้งในระดับชาติ ระดับพื้นที่ ภาค กลุ่มจังหวัด จังหวัด และท้องถิ่น รวมทั้งภารกิจที่ต้องดำเนินการในพื้นที่ให้มีการกระจายอย่างเป็นธรรม โดยยึดหลักความโปร่งใส ตรวจสอบได้โดยมีรายละเอียดค่าใช้จ่าย ที่มีความชัดเจน และสมเหตุสมผล
4. ให้ความสําคัญกับการเสริมสร้างศักยภาพทางกา ส่วนท้องถิ่น เพื่อเพิ่มศักยภาพการถ่ายโอนภารกิจการการจัดบริการสาธารณระดับท้องถิ่นแก่ประชาชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น ลดความเหลื่อมล้ำทางการคลังระหว่างท้องถิ่น รวมทั้งการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้และประสิทธิผลการใช้จ่ายขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น ซึ่งสอดคล้องกับหลักการตามพระราชบัญญัติกําหนดแผนและขั้นตอน การกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ที่จะต้อง ให้มีการกระจายอํานาจเพิ่มขึ้น และสอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปรายได้ขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น
5. ให้ความสําคัญกับการฟื้นฟูบรรเทา และแก้ปัญหาผู้ได้รับผลกระทบจากการระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จากการที่รัฐบาลประกาศให้สถานการณ์การระบาดของโรค ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นวาระแห่งชาติ ซึ่งการแพร่ระบาดส่งผลต่อสุขภาพและการดํารง ชีวิตของประชาชน รวมทั้งสภาพเศรษฐกิจและสังคมโดยรวม
6. เพิ่มประสิทธิภาพการจัดทํางบประมาณให้ครอบคลุมทุกแหล่งเงิน โดยให้ หน่วยรับงบประมาณที่มีเงินนอกงบประมาณหรือเงินสะสมคงเหลือ พิจารณานําเงินดังกล่าว มาใช้ดําเนินภารกิจของหน่วยงานเป็นลําดับแรก ควบคู่ไปกับการพิจารณาทบทวนเพื่อชะลอ ปรับลด หรือยกเลิกการดําเนินโครงการที่มีความสําคัญในระดับต่ํา หรือหมดความจําเป็น เพื่อนํางบประมาณดังกล่าวมาสนับสนุนนโยบายสําคัญหรือโครงการที่มีความสําคัญเร่งด่วน มีความพร้อมในการดําเนินการสูง รวมทั้งให้ความสําคัญกับการนําผลการเบิกจ่ายงบประมาณ รายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 และ พ.ศ. 2563 มาประกอบการพิจารณาจัดสรร งบประมาณให้สอดคล้องกับศักยภาพการใช้จ่ายงบประมาณของหน่วยรับงบประมาณ เพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณที่มีอยู่อย่างจํากัดเกิดประโยชน์สูงสุด
ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ได้กําหนดวงเงินงบประมาณรายจ่าย จํานวน 3,300,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 19.6 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ เพื่อให้หน่วยรับ งบประมาณมีงบประมาณรายจ่ายเพียงพอในการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนา ประเทศให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน โดยมีประมาณการ รายได้สุทธิ จํานวน 2,677,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 15.9 ของผลิตภัณฑ์มวลรวม ในประเทศ และกําหนดวงเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ จํานวน 623,000 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 3.7 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ซึ่งการขาดดุลงบประมาณ จํานวนดังกล่าวยังอยู่ในระดับที่ไม่ส่งผลกระทบต่อวินัยและฐานะการคลังของประเทศ ในระยะยาว