ความคืบหน้ามาตรการช่วยเหลือเงินเยียวยา 5,000 บาท “เราไม่ทิ้งกัน” วันนี้(30 มิถุนายน 2563) กระทรวงการคลังจะจ่ายเงินงวดสุดท้าย หรือ งวดที่ 3 ให้กับผู้ได้รับสิทธิเงินเยียวยา 15.1 ล้านรายเป็นวันสุดท้าย สามารถเข้าไปตรวจสอบผลการโอนเงินได้ที่ www.เราไม่ทิ้งกัน.com
นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า การจ่ายเงินเยียวยาผู้กลุ่มผู้ประกอบอาชีพอิสระ ลูกจ้างประจำ และแรงงาน ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ในมาตรการ "เราไม่ทิ้งกัน" จำนวน 5,000 บาท ระยะเวลา 3 เดือน ปัจจุบันเริ่มจ่ายเงินในงวดสุดท้ายของโครงการ ตั้งแต่วันที่ 8 มิถุนายน 2563 เป็นต้นมา และในวันนนี้จะจ่ายเงินให้ผู้ที่ผ่านเกณฑ์ในโครงการได้ครบทั้งหมด ในจำนวนนี้มีผู้ที่ลงทะเบียนโครงการไม่สำเร็จ ที่ตรวจสอบคุณสมบัติและได้รับเงินแล้ว 2 แสนคน
นอกจากกลุ่มผู้ได้รับสิทธิ์ 15.1 ล้านคนแล้ว ล่าสุดรัฐบาลที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ยังได้มีมติอนุมัติ จ่ายเยียวยาเพิ่มเติมให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ในที่ลงทะเบียน“เราไม่ทิ้งกัน" ไม่สำเร็จเพิ่มอีก 3.02 แสนราย แต่ต้องไม่ซ้ำซ้อนกับการเยียวยาอื่นๆ ไม่เคยได้รับการช่วยเหลือใดๆ และไม่ใช่ผู้ประกันตน โดยตั้งกรอบงบ 906 ล้านบาท ให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) พิจารณากำหนดกลุ่มเป้าหมายและกลไกให้ชัดเจน ให้เสร็จภายใน 1 เดือน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
อย่างรไก็ตามผู้ที่ลงทะเบียน“เราไม่ทิ้งกัน" ไม่สำเร็จจำนวน 3.02 แสนรายจะไม่ได้รับเงินเยียวยา เหมือนกับผู้ได้รับสิทธิ์ในโครงการเราไม่ทิ้งกัน ส่วนจะได้รับเงินเยียวยาจำนวนเท่าไหร่ สำนักงานเศรษฐกิจการคลังอยู่ระหว่างการพิจารณา
นอกจากจ่ายเยียวยาเพิ่มเติมให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ในที่ลงทะเบียน“เราไม่ทิ้งกัน" ไม่สำเร็จเพิ่มอีก 3.02 แสนรายแล้ว รัฐบาลยังมีมติให้จ่ายเงินเยียวยาเพิ่มเติมอีก 3 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จำนวน 1.6 ล้านราย ที่ไม่ได้รับความช่วยเหลือจากโครงการอื่นๆ โดยจ่ายเดือนละ 1,000 บาท เป็นเวลา 3 เดือน พ.ค. - ก.ค. โดยจ่ายผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ไม่ต้องลงทะเบียน กรอบวงเงินจำนวน 3.4 พันล้านบาท
เยียวยากลุ่มเปราะบาง จำนวน 6.7 ล้านคน ตามที่ครม.อนุมัติหลักการไปแล้ว ให้เยียวยา 1. เด็กแรกเกิดที่ยากจน ถึงอายุ 6 ปี จำนวน 1.3 ล้านคน 2.สูงอายุ อายุเกิน 60 ปี จำนวน 4 ล้านคน และ3.ผู้พิการ 1.3 ล้านคน จะเยียวยาเดือนละ 1,000 บาท เป็นเวลา 3 เดือน พ.ค.-ก.ค. ซึ่งเป็นการจ่ายเพิ่มเติมจากเงินอุดหนุนและเบี้ยฯที่จ่ายให้อยู่แล้ว การจ่ายจะจ่ายให้เดือนมิ.ย. นี้รวม 2 เดือน โดยใช้กรอบวงเงิน 2 หมื่นล้านบาท
เยียวยาเกษตรกร เพิ่มเติมจาก 7 ล้านราย ที่กระทรวงเกษตรฯจ่ายไปแล้ว โดยให้ 1. ให้เพิ่มกลุุ่มที่ด้อยโอกาส ที่เข้าไม่ถึงโครงสร้างพื้นฐานทางการเกษตรและไม่มีเอกสารสิทธิ์ ที่ดินทำกินของตัวเอง มีจำนวน 1.3 แสนราย แต่การต้องไม่เยียวยาซ้ำซ้อนเช่นกัน การจ่ายจะอยู่ภายใต้เกณฑ์เดียวกับการเยียวยาเกษตรกร 2.การขยายเวลาให้กลุ่มเกษตรกรที่ไม่สามารถปรับปรุงและลงทะเบียนทันภายใน 15 พ.ค. ที่ผ่านมา จำนวน 1.2 แสนราย ที่ลงทะเบียนไม่ทัน ให้ขยายเวลาให้แล้วเสร็จภายใน 15 ก.ค.