กระแสข่าวกระทรวงการ คลังถังแตก! กรณีที่รัฐบาลมีความจำเป็นจะต้องกู้เงิน เพิ่มเติมเต็มกรอบวงเงิน 2.14 แสนล้านบาท จะส่งผลให้ สัดส่วนหนี้สาธารณะคงค้างต่อจีดีพี ณ สิ้นปีงบประมาณ 2563 อยู่ที่ระดับ 51.64% โดยยังไม่เกิน 60% ตาม กรอบการบริหารหนี้สาธารณะ ที่คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐกำหนด
นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ระบุว่า ปัจจุบันบทบาทภาคการคลังเป็นภาคเดียว ที่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจ ได้เพิ่มมากขึ้น ที่สำคัญต้องมีโครงการที่ดี เป็นโครงการที่มีผลต่อการกระตุ้นการจ้างงาน หรือส่งเสริม โครงสร้างพื้นฐานที่สอดคล้องกับวิถีเศรษฐกิจใหม่ เนื่องจากสถานการณ์โควิด ทำให้เศรษฐกิจได้รับผลกระทบแรง
"เราต้องทบทวนเกณฑ์ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ไม่อยากให้ติดกับเกณฑ์ที่ตั้งไว้สำหรับภาวะปกติ เช่น สัดส่วนหนี้สาธารณะ 60% ของจีดีพี แต่ในสภาวะแบบนี้ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(จีดีพี) ก็มีการหดตัวและเป็นลักษณเดียวกันทั่วโลก ไม่ใช่เฉพาะในประเทศไทย"
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ธปท.ผนึกสถาบันการเงินเปิดโครงการ DR BIZ การเงินร่วมใจ ธุรกิจไทยมั่นคง
13 ข้อต้องรู้ก่อนลงทุนพันธบัตร รุ่น"วอลเล็ต-ก้าวไปด้วยกัน" วงเงิน 5 หมื่นลบ.
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญมากกว่า การใช้มาตรการทางการคลังกระตุ้นเศรษฐกิจ ในโครงการประเภทไหน ที่จะให้เกิดประโยชน์ สอดคล้องกับบริบทของสถานการณ์ทั้ง เรื่องการดูแลผู้ที่ได้รับผลกระทบ และสภาวะเศรษฐกิจ โดยรวม ไปพร้อมๆกับการส่งเสริม ให้เกิดการปรับโครงสร้างของเศรษฐกิจ ให้สอดคล้องกับวิถีใหม่หลังโควิด และการประสานนโยบาย นอกจาก ด้านการคลังแล้วจะต้องลงไปถึงด้านอุปทาน และปรับโครงสร้างระบบเศรษฐกิจด้วย
นายวิรไทได้กล่าวเพิ่มเติมว่า เมื่อต้องการเพิ่มบทบาทการใช้จ่ายของภาครัฐ จะต้องคำนึงถึงความสามารถในการหารายได้ ของรัฐบาลในอนาคต ซึ่งมีหลายเรื่องที่สามารถทำได้ไม่ว่าการขยายฐานภาษี เช่น ภาษีทรัพย์สินซึ่งยังจัดเก็บอยู่ในสัดส่วนที่น้อยหรือเรื่อง การเพิ่มประสิทธิภาพ จัดเก็บภาษี ซึ่งต่างประเทศก็เริ่มให้ความสำคัญเรื่องการเพิ่มรายได้จากทรัพย์สินของภาครัฐในอนาคต
นอกจากนั้น เมื่อโควิดมีการแพร่กระจายมากขึ้นส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจกว้างขึ้นและระยะยาวขึ้น ดังนั้น ภาคการคลัง จึงเป็นภาคเดียว ที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม การใช้มาตรการทางการคลังต้องทำควบคู่กับการหารายได้ของภาครัฐ และต้องเป็นมาตรการชั่วคราว เมื่อสถานการณ์กลับสู่ภาวะปกติจะต้องมีกลไกที่ลดลง โดยกำหนดกรอบเวลาที่ชัดเจนในการถอนนโยบายเพื่อไม่สร้างภาระทางการคลังในระยะยาว
อีกด้านที่ต้องคิดถึงระยะยาว คือ การที่จะลดบทบาทของภาครัฐ ในระยะยาว ไม่ว่ารายจ่ายประจำบางประเภทที่ต้องปรับลดให้เหมาะสมกับความสามารถในการชำระหนี้ของภาครัฐด้วย ขณะเดียวกันต้องปรับใช้เทคโนโลยี่ดิจิทัลมากขึ้นเช่นเดียวกับภาคธุรกิจ