ปรับMind Setพลิกวิกฤตเป็นโอกาส

18 ก.ย. 2563 | 12:25 น.

รับมือNew NormalหลังCovid

    สถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด  ซึ่งเป็นตัวเร่งทรานฟอร์มเมชั่น ยิ่งปลุกกระแสความปกติแบบใหม่หรือ New Normal   โดยระหว่างวันที่ 18 กันยายน 2563 ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)จัดงาน Bangkok FinTech Fair 2020 “พร้อมรับวิถีใหม่ SME ก้าวต่อไปด้วยดิจิทัล” “Digital  Transformation  For the New Normal” 
ชูInnovationเป็นทางรอด
    นายอภิรัตน์  หวานชะเอม  Chief  Digital  Office  บริษัท SCG  Cement-Building Materials กล่าวในหัวข้อ Theme : เปลี่ยนเพื่อปรับรับ New Normal  5เรื่อง ( Mind Set , Strategy ,  Process,  Data  และSkills )  ต้องปรับรับNew Normal เคล็ด(ไม่ลับ)ในการปรับธุรกิจให้อยู่รอด และเตรียมพร้อมรับความท้าทายในยุคดิจิทัล   เมื่อวันที่ 18 กันยายน โดยระบุว่า   ในฐานะคนทำเรื่อง Transformation และ  Innovation มาตลอดยอมรับว่า  การแพร่ระบาดของโควิดได้นำมาใช้ในชีวิตจริงสามารถขับเคลื่อนได้เร็วมากและน่ากลัวพอที่จะทำให้ทุกคนยอมปรับเทคโนโลยีหรือปรับวิธีการใหม่อย่างที่ไม่เคยทำได้มาก่อน ส่วนตัวมองว่า Covid ก็มีด้านที่ดีแม้จะมีด้านที่ลบจำนวนมาก  โควิด เป็นยาแรงที่ทำให้เกิดการปรับตัวกับทรานฟอร์เมชั่นที่แต่ก่อนทำไม่ได้  ซึ่งด้านบวกจะเห็นการปรับตัวเร็วขึ้นมาก ไม่ว่าเรื่อง  Cash Less และดิจิทัล 
แต่ในด้านลบ คือ ธุรกิจที่เคยคิดว่าInnovationเป็นแค่ทางเลือก  ต้องเป็นทางรอด  เพราะผู้บริโภคและภาคธุรกิจได้มีการปรับตัวกันไปแล้ว ถ้าตามไม่ทัน New Normalก็จะกลายเป็นผลด้านลบ  ดังนั้นจะทำอย่างไรให้มองผลด้านบวกและปิดช่องว่างด้านลบของเรา ซึ่งไม่ว่าผู้บริหาระดับใหญ่  หรือกลางและเล็กต้องตระหนักว่าอะไรคือ New Normal  และ New Normalประเภทไหนเหมาะกับเรา”
สำหรับ Innovation นั้น คือ ทำของเดิมที่เคยทำมาให้ดีขึ้น  ตอบโจทย์มากขึ้น   ดังนั้น Innovationจึงเป็นได้ทั้งเชิงเทคโนโลยีและเชิงกระบวนการทางธุรกิจ   ซึ่งในธุรกิจดั่งเดิมจะเห็นองค์กรไทยทำ Innovationมาตลาด  เช่น หลายปีก่อน ธนาคารกสิกรไทยทำรีเอ็นจิเนียร์ริงเพื่อทำให้ธุรกิจหลัก LEANขึ้น ยืดหยุ่นขึ้นและมีประสิทธิผลมากขึ้น  ดังนั้น  Innovation ไม่จำเป็นต้องเป็นดิจิทัลและไม่จำเป็นต้องเป็นของใหม่  แต่เป็น Core  Innovation  หากธุรกิจเดิมประเมินแล้วจะไม่ถูกดิสรับ ก็สามารถทำInnovationเพื่อให้ธุรกิจแข่งขันได้มากขึ้นหรือลดต้นทุนได้มากขึ้น  แต่หากธุรกิจกำลังถูกดิสรับก็จะต้องหาธุรกิจใหม่

ปรับMind Setพลิกวิกฤตเป็นโอกาส
“แม้กระทั่ง SCG ที่ผลิตภัณฑ์กำลังถูกดิสรับจากผลิตภัณฑ์จากจีน ซึ่งทั้งScale ใหญ่กว่าราคาถูกกว่า  แปลว่าเราต้องหาน้ำบ่อใหม่ หรือหาธุรกิจใหม่ หรือหา New  S  Curve ซึ่งต้องทำ Innovation ใหม่มากขึ้น  ถามว่ารีบแค่ไหน ขึ้นอยู่กับคลื่นจะถึงหรือยัง เช่น ธนาคารหากคลื่นอยู่ชายหาด หากไม่รีบทำตายแน่  ”
    นอกจากนี้จะต้องชัดเจนว่า  Innovation สำหรับธุรกิจคือ อะไร  หรือ Innovation เป็นพื้นที่ไหน และจัดอันดับความสำคัญของInnovationอย่างไร  ซึ่งต้องบริหารInnovationเหมือนการบริหารเงินทุน อย่างไรก็ตาม หลัง New Normal หรือ โควิดเกิดขึ้น Innovationไม่ใช่ทางเลือก   แต่เป็นทางรอด แต่ขึ้นอยู่สถานการณ์ของแต่ละประเภทธุรกิจ
    ภายใต้โควิดที่เกิดขึ้น  จำเป็นต้องปรับ Mind Set ไม่ใช่เฉพาะองค์กรแต่หมายรวมถึงระดับประเทศด้วย  เพื่อพลิกวิกฤตเป็นโอกาส  และใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูล โดยนำเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นองค์กรแบบไหน ทุกคนควรประยุกต์ใช้เทคโนโลยี   ซึ่งต้องขับเคลื่อนทั้ง Top Down และ Bottoms Up  เพราะต้องหาน้ำบ่อใหม่ โดยต้องแยกกันไปหา   ในหลักการคือ Innovation  Portfolio  และ Innovation Investment ควรจะขับเคลื่อนมาจากบอร์ด ซึ่งในSCG ใช้คอนเซ็ป Micro Enterprise   โดยให้ทีมStart-up 6คนหน้าที่คือ  ล้มให้ไวที่สุด  ขายถูก  หาน้ำบ่อใหม่ได้เร็ว และตอบโจทย์
สำหรับการรับสมัคราพนักงานองค์กรนั้น  SCG อยากจะรับคนที่มี Mind Set เป็นเจ้าของกิจการไม่ว่าบริษัทจะเล็กหรือใหญ่ ในแง่ของการพิจารณาคนนั้น  ยุคนี้นอกจากสร้างคนใหม่ต้องพยายามสร้างคนที่มีอยู่ แต่ในทางปฎิบัติยังมีช่องว่างระหว่างคนในองค์กร  ซึ่งระบบการศึกษาก็ถูกดิสรับไปพร้อมกับองค์กรธุรกิจ เพราะงานในอนาคตองค์กร ความท้าทายในยุคหน้าที่เราต้องการคือ ต้องมีความสามารถรอบด้าน และเพิ่มเติมทักษะในระยะต่อไปได้ 
 

แนะเอสเอ็มอีใช้DATAเป็นเข็มทิศธุรกิจ
นายฐากร  ปิยะพันธ์  อดีตประธานกรรมการกรุงศรี คอนซูมเมอร์ ระบุว่า   เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นของโควิด  เป็นบททดสอบผู้บริหาร หรือเจ้าของกิจการ  ซึ่งส่วนตัวที่ได้เรียนรู้คือ ความสำเร็จในอดีตที่ผ่านมา กลยุทธ์ที่เคยใช้อาจจะใช้ไม่ได้อีกแล้ว  ดังนั้น ควรจะปรับกลยุทธ์และเตรียมความพร้อมเรื่องโมเดลธุรกิจอย่างไรบ้าง  ทำให้ต้องถอดบางสิ่งบางอย่างออก “โดยการคิดและตัดสินใจที่เร็วบนข้อจำกัดที่มีอยู่”
    ที่ผ่านมาสถาบกันการเงินทำเรื่องดิจิทัลทรานฟอร์เมชั่นมาระยะ 3-4ปีแล้ว  ด้วยผลของการดิสรับชั่นแม้ว่าจะไม่มีวิกฤติโควิด  ที่สำคัญคือ การปรับเปลี่ยนMind Setของผู้บริหารมาก่อน รวมทั้งคนในองค์กรและลูกค้าเพื่อให้เตรียมความพร้อมเรื่องทรานฟอร์เมชั่น  แต่เนื่องจากเทคโนโลยี่มีการปรับเปลี่ยนสิ่งที่ลงทุนไปแล้วอาจจะไม่ยั่งยืน   แต่หลังจากนี้เรามีสูตรสำเร็จจากการเรียนรู้ จึงคาดหวังคือ ไม่ว่าองค์กรขนาดใหญ่หรือบริษัทเอสเอ็มอีจะต้องลงทุนและใส่ใจในการทำ Innovation และต้องทำให้ยั่งยืน ไม่ใช่ทำ Innovation  พีอาร์ ทั้งนี้เพื่อที่จะทำให้องค์กรยังอยู่ได้ในคลื่นธุรกิจต่อไป
    ต่อข้อถาม 5เรื่องต้องปรับรับ New Normalนั้น  มองว่าความสำคัญเร่งด่วน คือ เรื่องData ซึ่งเป็นเหมือนเข็มทิศ  ถ้าเอสเอ็มอียังใช้ประโยชน์จากการเก็บข้อมูลควจะต่อยอด รวมทั้งบริษัทใหญ่สามารถใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลที่อยู่  ทั้งนี้ซีอีโอต้องเป็นทั้งนักแสดงนำและผู้กำกับไปในตัวด้วย  พร้อมทั้งการสื่อสารดึงผู้บริหารระดับสูงเป็นแนวร่วม และให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนองค์กรให้ได้

ปรับMind Setพลิกวิกฤตเป็นโอกาส
    “การพัฒนาทักษะใหม่หลายอย่าง  ทุกคนในองค์กรเรียนรู้บนโซเชียลมีเดีย  แต่มิติหนึ่งพูดกันเยอะแต่ทำกันน้อยคือ ทักษะการทำ Storytelling ถ้าอยากจะขายของ  และเรื่องสำคัญที่ต้องทำไม่ว่าองค์กรเล็กหรือใหญ่คือ  Reskills ให้คนแต่ละแผนก หรือการ Upskills คนเป็นAnalytics 
 

ชี้จังหวะสร้างธุรกิจใหม่ หลังล็อคดาวน์
นายอริยะ  พนมยงค์  CEOและผู้ก่อตั้งบริษัท Transformational กล่าวว่า  โควิดสร้างแรงกดดันให้ต้องเปลี่ยนแปลง    ซึ่งระยะเวลาที่ผ่านมามีการพูดถึง ดิสรับชัน  ,ทรานฟอร์เมชั่น ,อินโนเวชันอย่างน้อย 5ปีที่จะต้องเตรียมตัวปรับ แต่ไม่ได้ปรับ  จนกระทั่ง 3เดือนที่ผ่านมา เมื่อเผชิญโควิดหลายองค์กรธุรกิจพยายามวิ่งสร้างอะไรใหม่ๆ ซึ่งยอมรับว่าไม่ทัน  เพราะการสร้างธุรกิจใหม่ใช้เวลาอย่างต่ำ 3-4ปี 

ปรับMind Setพลิกวิกฤตเป็นโอกาส
“เรื่องทรานฟอร์เมชั่นเป็นเรื่องสำคัญ แต่ไม่เร่งด่วน   แต่ 4-5ปีที่ผ่านมาเราเลือกที่จะไม่ทำ  เมื่อมาถึงจุดนี้แล้ว ทุกคนรู้แล้วว่าต้องทำ  หากย้อนหลังไปดูผลประกอบการไตรมาส2ของทุกองค์กรหนัก   สิ่งที่เกิดขึ้นทรานฟอร์เมชั่น คือ บ้านใหม่ที่ต้องสร้าง  สร้างอนาคตระยะยาวและเป็นความท้าทายระหว่างที่บ้านหลังเดิมต้องช่วยกันดับไฟ”
    ส่วน5 เรื่องต้องปรับเร่งด่วนนั้น  ให้น้ำหนักเรื่องการปรับเปลี่ยนMind Set ก่อน  โดยเฉพาะธุรกิจที่มีอายุมาหลายปี  ทั้งโครงสร้างองค์กรและวิธีการทำงานถูกสร้างมาไม่หวือหวา หากเป็นธุรกิจรีเทลจะเติบโตต่อปี 3-4%  แต่ในธุรกิจอีคอมเมิร์ชปีนี้เติบโต 35% โดยอัตราเติบโตเฉลี่ยต่อปี 28%ในช่วงกว่า 10ปีที่ผ่านมา  ฉะนั้นการเติบโตไม่ขึ้นอยู่กับการเปิดโรงงานหรือเปิดสำนักงาน ดังนั้นจังหวะนี้มีระยะเวลา 6ไตรมาส(หลังจากล็อคดาวน์ไปสิ้นปีหน้า) เป็นของการสร้างองค์กรใหม่และวิ่งไปให้ทันโดยแนะนำให้ลงมือทำตอนนี้โดยเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการทำธุรกิจ  จุดแข็งขององค์กรไทยคือ มีฐานลูกค้ามหาศาล จุดแรกจึงต้องดึงฐานลูกค้าจากออฟไลน์สู่แพลตฟอร์มและใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลเดิมก่อน