วันนี้ ( 9 พ.ย.) บมจ. เน็คซ์ แคปปิตอล หรือ NCAP เข้าเทรดในตลาดหลักทรัพย์ฯเป็นวันแรก ในกลุ่มอุตสาหกรรมธุรกิจการเงิน หมวดเงินทุนและหลักทรัพย์ ราคาเปิดที่ 3.20 บาท เพิ่มขึ้น 1.00 บาท หรือ 45.45% จากราคาไอพีโอที่ 2.20 บาท ราคาปรับสูงสุดที่ระดับ 3.82 บาทและต่ำสุดที่ 3.20 บาท โดยเมื่อเวลา 11.06 น. หุ้น NCAP ขยับขึ้นอยู่ที่ 3.40 บาท เพิ่มขึ้น 1.20 บาท หรือ +54.55%
NCAP เป็นผู้ให้บริการสินเชื่อเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ ซึ่งไม่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มุ่งเน้นการให้บริการแก่ลูกค้ารายย่อยที่ต้องการเป็นเจ้าของรถจักรยานยนต์ใหม่เป็นหลัก (Hire purchase) ด้วยการซื้อรถจากพันธมิตรตัวแทนจำหน่าย (Dealer) แล้วนำมาให้ลูกค้าเช่าซื้อ ผ่าน 24 สาขา ทั่วทุกภูมิภาค ซึ่งถือเป็นแหล่งเงินทุนทางเลือกสำหรับลูกค้ากลุ่มที่ไม่สามารถเข้าถึงธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินอื่น
NCAP มีทุนชำระแล้ว 450 ล้านบาท มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 0.50 บาท ประกอบด้วยหุ้นสามัญเดิม 600 ล้านหุ้น และหุ้นสามัญเพิ่มทุนที่เสนอขายต่อประชาชนทั่วไปครั้งแรก (IPO) 300 ล้านหุ้น ในราคาหุ้นละ 2.20 บาท คิดเป็นมูลค่าระดมทุน 660 ล้านบาท มีมูลค่าหลักทรัพย์ ณ ราคา IPO 1,980 ล้านบาท โดยมีบริษัท ฟินเน็กซ์ แอ๊ดไวเซอรี่ จำกัด เป็นที่ปรึกษาทางการเงินและบริษัทหลักทรัพย์ ธนชาต จำกัด (มหาชน) เป็นผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย
นายสมชัย ลิมป์พัฒนสิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เน็คซ์ แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) (NCAP) หนึ่งในผู้นำธุรกิจให้บริการสินเชื่อเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ เปิดเผยว่า บริษัทฯ มั่นใจว่าการเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) วันแรก จะได้รับการตอบรับที่ดีจากนักลงทุน และพร้อมเดินหน้าขยายธุรกิจต่อเนื่อง ด้วยความพร้อมทางด้านบุคลากร และระบบการทำงาน เพื่อขยายสินเชื่อเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ทุกแบรนด์ชั้นนำ ให้ครอบคลุมทุกภูมิภาค ณ 30 มิถุนายน 2563 บริษัทฯ มี 24 สาขา และมีตัวแทนจำหน่ายเป็นพันธมิตรราว 600 ราย ปัจจุบัน อยู่ระหว่างขยายฐานลูกค้าทั้งรายเก่าและรายใหม่เพิ่มขึ้น
นายวรชาติ ทวยเจริญ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟินเน็กซ์ แอ๊ดไวเซอรี่ จำกัด ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน กล่าวเสริมถึง NCAP คาดจะเป็นหุ้นไอพีโอที่ได้รับความสนใจจากนักลงทุน ด้วยจุดเด่น บริษัทฯ มีส่วนแบ่งการตลาดเติบโตต่อเนื่อง และเป็นผู้นำในเขตจังหวัดภาคใต้ โดยพอร์ตสินเชื่อเช่าซื้อเติบโตภายใต้นโยบายการขยายสินเชื่อที่รัดกุม ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา มีอัตราการเติบโตเฉลี่ย (CAGR) 24.7% ต่อปี โดยพอร์ตสินเชื่อ ณ 30 มิถุนายน 2563 อยู่ที่ประมาณ 3,500 ล้านบาท ขณะที่สัดส่วนหนี้ด้อยคุณภาพอยู่ในระดับต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับอุตสาหกรรม ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2563 บริษัทฯ มีอัตราส่วน NPL เท่ากับ 2.26% ต่ำที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยของสินเชื่อเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ของบริษัทจดทะเบียนอื่นในตลาดหลักทรัพย์ฯ
ด้านบมจ.บริษัทหลักทรัพย์เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย)ระบุในบทวิเคราะห์ "10 เรื่องต้องรู้ NCAP" ว่าแม้ NCAP กำลังอยู่ในช่วงเติบโต โดยเฉพาะในแง่ขนาดพอร์ตสินเชื่อ แต่เรามองว่าภาพ NPL ของทั้งระบบที่ยังเร่งตัวสูง ยังเป็นปัจจัยกดดันกลุ่มเช่าซื้อที่ทำให้แนวโน้มกำไรยังคงมี Downside isk จึงทำให้หุ้นในกลุ่ม เทรดบน P/E ต่ำกว่า 10x (Cons. ประเมินราคาเหมาะสมที่ 2.80 บาท/หุ้น +/-) เรามองราคาที่ระดับใกล้ Book Value (1.80 บาก) เป็นจุดที่เหมาะต่อการเข้าลงทุน
นอกจากนี้การเก็งกำไร COM7 - SYNEX ด้วยประเด็นนี้ต้องระมัดระวังเนื่องจากขนาดที่เล็กกว่ามาก จึงส่งผลต่อ Upside อย่างจำกัด
10 เรื่องต้องรู้ NCAP
1. ธุรกิจ
ทำธุรกิจให้บริการสินเชื่อ (Non-banks) เช่าซื้อจักรยานยนต์ทั้งมือหนึ่งและมือสอง โดย 98% เป็นผู้เช่าซื้อรายย่อย โดยบริษัทมีส่วนแบ่งตลาดราว 2% ทั่วประเทศ
2. โครงสร้าง IPO
เสนอขายหุ้นเพิ่มทุน 300 ล้านหุ้น ( 33% หลัง IPO) เสนอขายให้แก่ประชาชน 225 ล้านหุ้น ผู้มีอุปการคุณ 75 ล้านหุ้น
3. ราคาเสนอขาย
2.20 บาท/ ห้น (พาร์ 0.50 บาท) มูลค่ารวม 660 ลบ. คิดเป็น P/Eเสนอขาย 14 เท่า (เทียบ TK 8x , S11 ที่ 7x) (Fully diluted EPS = 0.16 บาท, กำไรสุทธิ 4 ไตรมาสย้อนหลัง 143 ลบ. / หุ้นทั้งหมด 900 ล้านหุ้น)
4. มูลค่าทางบัญชี
ก่อน IPO = 1.66 บาท/ หุ้น , หลัง IP0 = 1.84 บาท/ หุ้น คิดเป็น P/BV เสนอขาย 1.2 เท่า (vs TK 0.7x , S11 ที่ 1.5x )
5. วิธีจัดจำหน่าย
รับประกันจัดจำหน่ายทั้งจำนวน, ที่ปรึกษาได้แก่ บจ.ฟินเน็กซ์ แอ๊ดไวเซอรี่ เกณฑ์ข้าจดทะเบียน Profit Test
6. วัตถุประสงค์ใช้เงิน
ลงทุนระบบ IT 33 ล้านบาท คืนงินกู้ 100 ล้านบาท และใช้เป็นงินทุนหมุนเวียน 527 ล้านบาท
7. ผู้ถือหุ้น หลัง IPO
COM7 34% SYNEX 26.67% ผู้ถือหุ้นเดิม 13% และประชาชนทั่วไป 26%
8. Silent period
ไม่มีหุ้นของผู้มีส่วนร่วมบริหารที่ไม่ติด silent period
9. ผลการดำเนินงาน
ผลประกอบการช่วง 3 ปีที่ผ่านมา เติบโตได้ตามพอร์ตสินเชื่อ แต่เห็นได้ว่าแนวโน้มส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยลดลงมาจากการแข่งขันที่สูงขึ้น อย่างไรก็ตามแนวโน้ม NPL ที่เรงตัวขึ้นเป็นปัจจัยที่ต้องระมัดระวัง
10. ความเสี่ยง
การแข่งขันสูงในธุรกิจช่าซื้อ , สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL), การเปลี่ยนแปลงนโยบายของภาครัฐ ...อ่านต้นฉบับ
ด้านนางสาวพันทิตา แซ่เอ็ง รองกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ ธนชาต จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายหุ้นสามัญเพิ่มทุนของ บริษัท เน็คซ์ แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) (NCAP) เปิดเผยถึง ความเชื่อมั่นหุ้น NCAP ในการเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) วันแรก ในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2563 นักลงทุนจะให้ความสนใจและการตอบรับเป็นอย่างดี การกำหนดราคาไอพีโอที่หุ้นละ 2.20 บาท คิดเป็น P/E (Pre-Dilution) ประมาณ 9.3 เท่า เป็นราคาที่เหมาะสมกับศักยภาพในการเติบโต จากฐานทุนที่แข็งแกร่งขึ้น พร้อมขยายพอร์ตสินเชื่อเช่าซื้อทั้งในส่วนรถจักรยานยนต์และสินค้าอื่นให้เติบโต รับความต้องการของตลาด และความเชี่ยวชาญของทีมผู้บริหารที่มีความเป็นมืออาชีพ
บทวิเคราะห์ บมจ.บริษัทหลักทรัพย์ธนชาต มองว่า NCAP พร้อมเติบโตโดยหลังจากใช้เวลาสามปี ในการปรับปรุงรากฐานและสร้างแพลตฟอร์มสำหรับการเติบโต NCAP พร้อมรุกไปยังตลาดเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ที่กำลังเติบโตมากขึ้น และมีกระบวนการเรียกเก็บหนี้ที่ดีขึ้น โดยเน้นช่องทางออนไลน์มากขึ้น จากการประเมินโดยใช้วิธีการคิดลดเงินปันผล (DDM) ในการคำนวนมูลค่ายุติธรรมของ NCAP ภายใต้การประเมินโดยใช้ปีฐาน 2021F ได้มูลค่าเหมาะสมของบริษัทที่ 2.53 พันล้านบาท หรือ 2.81 บาทต่อหุ้น ราคายุติธรรมคิดเป็น PE ที่ 11 เท่า เทียบกับประมาณการกำไรสุทธิปี 2021F ซึ่งอยู่ในช่วงการซื้อขายของคู่แข่งในอุตสาหกรรม