ลงทะเบียนคนละครึ่งรอบ2 คลังฯย้ำคุณสมบัติผู้ลงทะเบียนคนละครึ่ง11/11

09 พ.ย. 2563 | 09:50 น.

กระทรวงการคลังย้ำคุณสมบัติผู้ลงทะเบียนโครงการคนละครึ่ง 3,000 ในวันที่ 11 /11 พร้อมเปิดให้ประชาชนลงทะเบียนจำนวน 2.3 ล้านสิทธิ

วันที่ 9 พ.ย. จากกรณีที่กระทรวงการคลัง ได้กำหนดเปิดให้ลงทะเบียนคนละครึ่งรอบ2 สำหรับผู้ตกหล่นจำนวน 2.3 ล้านสิทธิแล้วในวันที่ 11/11 เวลา06.00-23.00 น. โดยประชาชนยังสามารถลงทะเบียนคนละครึ่งรอบ2 บนเว็บไซต์ www.คนละครึ่ง.com

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คนละครึ่งรอบ2 นับถอยหลังลงทะเบียน11/11

คนละครึ่งรอบ2 สแกนตัวตนไม่ผ่านยังได้สิทธิคนละครึ่ง3000

ประชาชนแห่ใช้ "คนละครึ่ง" ยอดสะพัดกว่า 9 พันล้่าน

คนละครึ่งรอบ2 วิธีลงทะเบียน วันที่11/11 เช็กที่นี่

 

 

ความคืบหน้าล่าสุด นายพรชัย ฐีระเวช ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะรองโฆษกกระทรวงการคลังเปิดเผยว่า โครงการลงทะเบียนคนละครึ่งรอบ2 จะเปิดให้ประชาชนลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการอีกครั้งในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2563 (11/11) ระหว่างเวลา 06.00 น. – 23.00 น. ผ่านเว็บไซต์ www.คนละครึ่ง.คอม จนกว่าจะครบจำนวน ทั้งนี้ ขอย้ำว่า ผู้ที่สามารถลงทะเบียนได้จะต้องเป็นผู้ไม่เคยลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการคนละครึ่งมาก่อน หรือเป็นผู้เคยลงทะเบียนแต่ไม่สำเร็จจึงถือเป็นผู้ที่ไม่เคยได้รับสิทธิเข้าร่วมโครงการ ซึ่ง ณ วันที่ 9 พฤศจิกายน 2563 มีสิทธิคงเหลือจากผู้ไม่ผ่านการตรวจสอบสิทธิและผู้ไม่เริ่มใช้สิทธิภายในกำหนด 14 วัน ที่จะนำมาเปิดให้ประชาชนลงทะเบียนเป็นจำนวน 2.3 ล้านสิทธิ

รองโฆษกกระทรวงการคลังยังได้ กล่าวเพิ่มเติม ถึงคุณสมบัติของผู้ที่สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการว่า ต้องเป็นประชาชนสัญชาติไทยอายุ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปในวันลงทะเบียน มีบัตรประจำตัวประชาชน และไม่เป็นผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐซึ่งได้รับสิทธิจากโครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โดยขอให้เตรียมลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการคนละครึ่งในวันที่ 11/11 ก่อนจำนวนสิทธิจะหมดลงอีกครั้ง อย่างไรก็ดี ผู้ได้รับสิทธิและใช้สิทธิตามโครงการคนละครึ่งแล้ว จะไม่สามารถเข้าร่วมมาตรการช้อปดีมีคืนได้

 

สำหรับความคืบหน้าล่าสุด ณ วันที่ 9 พฤศจิกายน 2563 เวลา 12.00 น. มีร้านค้าลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการแล้วกว่า 5.57 แสนร้านค้า และผู้ใช้สิทธิแล้วจำนวน 7,352,274 คน โดยมียอดการใช้จ่ายสะสม 10,155 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินที่ประชาชนจ่าย 5,178 ล้านบาท และภาครัฐร่วมจ่ายอีก 4,977 ล้านบาท ยอดใช้จ่ายเฉลี่ย 214 บาทต่อครั้ง โดยจังหวัดที่มีการใช้จ่ายสะสมมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สงขลา นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และเชียงใหม่ ตามลำดับ