สรุป มาตรการแก้หนี้รายย่อย เยียวยาโควิดรอบ 2 ล่าสุด

12 ม.ค. 2564 | 23:00 น.
อัปเดตล่าสุด :13 ม.ค. 2564 | 01:36 น.

"เยียวยาโควิดรอบ 2" ตรวจสอบ เช็กมาตรการแก้ปัญหาหนี้ลูกหนี้รายย่อย ล่าสุดของธปท. ที่เปิดให้ขอรับความช่วยเหลือได้ถึง 30 มิ.ย. 64 ทั้งบัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล เช่าซื้อ เงินกู้บ้าน

13 มกราคม 2564 การยายเวลามาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยจากสถานการณ์การระบาดของโควิด 19 ระลอกใหม่ ของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ถือเป็นหนึ่งในมาตรการ "เยียวยาโควิดรอบ 2" ของภาครัฐที่ออกมาช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ในขณะนี้

 

นายรณดล นุ่มนนท์ รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธปท. ได้อัพเดท การยายเวลามาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยจากสถานการณ์การระบาดของโควิด 19 ระลอกใหม่ โดยกำหนดให้ลูกหนี้สามารถยื่นขอรับความช่วยเหลือจากผู้ให้บริการทางการเงินได้ถึงวันที่ 30 มิย. 2564 (จากเดิม 31 ธ.ค. 2563) ดังนี้

 

บัตรเครดิต

  • เปลี่ยนเป็นสินเชื่อระยะยาว 48 งวดหรือขยายเวลาชำระหนี้ดอกเบี้ยไม่เกิน 12% (พิจารณาให้ใช้วงเงินที่เหลือตามความสามารถในการชำระหนี้)

 

สินเชื่อส่วนบุคคล ที่มีวงเงินหมุนเวียน เช่นบัตรกดเงินสด

  • ลดอัตราผ่อนขั้นต่ำตามความสามารถในการชำระหนี้หรือ
  • เปลี่ยนเป็นสินเชื่อระยะยาว 48 งวดหรือขยายเวลาชำระหนี้ดอกเบี้ยไม่เกิน 22% (พิจารณาให้ใช้วงเงินที่เหลือตามความสามารถในการชำระหนี้)

สินเชื่อส่วนบุคคลที่ผ่อนชำระเป็นงวด และสินเชื่อจำนำทะเบียนรถ

  • ลดค่างวดอย่างน้อย 30% โดยคิดอัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 22%

 

สินเชื่อเช่าซื้อ ไม่จำกัดวงเงินเดิม: มอเตอร์ไซค์: ไม่เกิน 35,000 บาท รถยนต์ทุกประเภทไม่เกิน 250,000 บาท

  • เลื่อนชำระค่างวด (เงินต้นและดอกเบี้ย) 3 เดือนหรือ
  • ลดค่างวดโดยขยายเวลาการชำระหนี้

 

สินเชื่อบ้าน ไม่จำกัดวงเงิน เดิม: ไม่เกิน 3 ล้านบาท

  • เลื่อนชำระค่างวด (เงินต้นและดอกเบี้ย) 3 เดือนหรือ
  • เลื่อนชำระเงินตัน 3 เดือนและพิจารณาลดดอกเบี้ยให้ตามความเหมาะสมหรือ
  • ลดค่างวดโดยขยายเวลาการชำระหนี้

 

ทั้งนี้กรณีที่ลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามสัญญาหรือมาตรการขั้นต่ำหรือมาตรการอื่นให้ผู้ให้บริการทางการเงินเร่งปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับลูกหนี้ ผู้ให้บริการทางการเงินต้องจัดให้มีแผนปรับโครงสร้างหนี้ ในลักษณะเดียวกับคลินิกแก้หนี้สำหรับลูกหนี้ที่เป็น NPL

Update มาตรการช่วยลูกหนี้รายย่อย

 

ลูกหนี้ที่ต้องการความช่วยเหลือควรรีบติดต่อศูนย์บริการข้อมูลลูกค้า (call center)ของผู้ให้บริการทางการเงินแต่ละแห่งได้โดยตรง หรือ โทร 1213 ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ธปท. หรือผ่าน “ทางด่วนแก้หนี้” เว็บไซต์ https://www.1213.or.th/App/DebtCase  

 

โดยธปท. จะติดตามความคืบหน้าการช่วยเหลือลูกหนี้ของผู้ให้บริการทางการเงินอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ ธปท. สามารถทบทวนมาตรการช่วยเหลือได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ต่อไป

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ธปท. ออกมาตรการด่วนแก้หนี้ "เยียวยาโควิดรอบ 2"

สรุป"เยียวยารอบ 2" คลังจัดหนัก "พักชำระหนี้-เสริมสภาพคล่อง

รัฐผุด “เราชนะ”ลงทะเบียน 3,500 บาท 2 เดือน เยียวยารอบ 2