หลังการระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ได้มีมาตรการเร่งด่วนในการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อย โดยขยายระยะเวลาการขอรับความช่วยเหลือจากผู้ให้บริการทางการเงินได้จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2564 จากเดิมที่จะสิ้นสุดไปแล้วในวันวันที่ 31 ธันวาคม 2563
สำหรับ มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อย ครั้งนี้ นับเป็นครั้งที่ 3 หลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2563 โดยเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2563 ได้ออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ระยะที่ 1 และมี มาตรการเพิ่มเติม ออกมาเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2563 เรามาตามดูว่า มาตรการธปท.แต่ละรอบ .แตกต่างกันอย่างไร
บัตรเครดิต
ระยะที่ 1 สิ้นสุดมาตรการ 30 มิถุนายน 2563
1.ลดอัตราผ่อนชำระขั้นต่ำเหลือ - 5% ในปี 2563–64
- 8% ในปี 2565
- 10% ในปี 2566
2.ลูกหนี้สามารถแปลงหนี้เป็นสินเชื่อระยะยาวที่ดอกเบี้ยต่ำลงได้
ระยะที่ 2 สิ้นสุดมาตรการ 31 ธันวาคม 2563
1.ลดเพดานดอกเบี้ยจาก 18% เหลือ 16% เริ่ม 1 สิงหาคม 2563
2.เปลี่ยนเป็นสินเชื่อระยะยาว 48 งวด หรือ ขยายเวลาชำระหนี้
ดอกเบี้ยไม่เกิน 12% (พิจารณาให้ใช้วงเงินที่เหลือตามความสามารถในการชำระหนี้
ระยะที่ 3 โควิด-19 ระลอกใหม่
1.ขยายเวลามาตรการระยะ2 ออกไปถึง 30 มิถุนายน 2564
สินเชื่อเงินสดหมุนเวียน(บัตรกดเงินสด)
ระยะที่ 1 สิ้นสุดมาตรการ 30 มิถุนายน 2563
1.ลดอัตราผ่อนชำระขั้นต่ำเหลือ - 5% ในปี 2563–64
- 8% ในปี 2565
- 10% ในปี 2566
2.ลูกหนี้สามารถแปลงหนี้เป็นสินเชื่อระยะยาวที่ดอกเบี้ยต่ำลงได้
ระยะที่ 2 สิ้นสุดมาตรการ 31 ธันวาคม 2563
1.ลดเพดานดอกเบี้ยจาก 28% เหลือ 25% เริ่ม 1 สิงหาคม 2563
2.ขยายวงเงินเพิ่มจาก 1.5 เท่าเป็น 2 เท่าของรายได้ ที่เฉลี่ยต่ำกว่า 30,000 บาทต่อเดือน
3.ลดอัตราผ่อนขั้นต่ำตามความสามารถชำระหนี้ หรือ
4.เปลี่ยนเป็นสินเชื่อระยะยาว 48 งวด หรือ ขยายเวลาชำระหนี้
ดอกเบี้ยไม่เกิน 22% (พิจารณาให้วงเงินที่เหลือตามความสามารถในการชำระหนี้)
ระยะที่ 3 โควิด-19 ระลอกใหม่
1.ขยายเวลามาตรการระยะ2 ออกไปถึง 30 มิถุนายน 2564
สินเชื่อส่วนบุคคลที่ผ่อนชำระเป็นงวด
ระยะที่ 1 สิ้นสุดมาตรการ 30 มิถุนายน 2563
- ธนาคารพาณิชย์และธนาคารรัฐ : เลื่อนชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 3 เดือน
- ผู้ให้บริการอื่น : เลือกระหว่าง เลื่อนชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 3 เดือน หรือ
ลดค่างวดอย่างน้อย 30% ของค่างวดเดิม 6 เดือน
ระยะที่ 2 สิ้นสุดมาตรการ 31 ธันวาคม 2563
1.ลดเพดานดอกเบี้ยจาก 28% เหลือ 25% เริ่ม 1 สิงหาคม 2563
2.ลดค่างวดอย่างน้อย 30% โดยคิดดอกเบี้ยไม่เกิน 22%
ระยะที่ 3 โควิด-19 ระลอกใหม่
1.ขยายเวลามาตรการระยะ2 ออกไปถึง 30 มิถุนายน 2564
สินเชื่อจำนวนทะเบียนรถ
ระยะที่ 1 สิ้นสุดมาตรการ 30 มิถุนายน 2563
- ธนาคารพาณิชย์และธนาคารรัฐ : เลื่อนชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 3 เดือน
- ผู้ให้บริการอื่น : เลือกระหว่าง เลื่อนชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 3 เดือน หรือ
ลดค่างวดอย่างน้อย 30% ของค่างวดเดิม 6 เดือน
ระยะที่ 2 สิ้นสุดมาตรการ 31 ธันวาคม 2563
1.ลดเพดานดอกเบี้ยจาก 28% เหลือ 24% เริ่ม 1 สิงหาคม 2563
2.ลดค่างวดอย่างน้อย 30% โดยคิดดอกเบี้ยไม่เกิน 22%
ระยะที่ 3 โควิด-19 ระลอกใหม่
1.ขยายเวลามาตรการระยะ2 ออกไปถึง 30 มิถุนายน 2564
สินเชื่อเช่าซื้อ
ระยะที่ 1 สิ้นสุดมาตรการ 30 มิถุนายน 2563
- รถมอเตอร์ไซค์ วงเงินไม่เกิน 35,000 บาท
- รถทุกประเภท วงเงินไม่เกิน 250,000 บาท
- ลีสซิ่ง มูลหนี้คงเหลือไม่เกิน 3 ล้านบาท
1.ผู้ให้บริการเลือกระหว่าง เลื่อนชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 3 เดือน หรือ พักชำระเงินต้น 6 เดือน
ระยะที่ 2 สิ้นสุดมาตรการ 31 ธันวาคม 2563
-ไม่จำกัดวงเงิน
1.เลื่อนชำระค่างวด(เงินต้นและดอกเบี้ย) 3 เดือน หรือ
2.ลดค่างวดโดยขยายเวลาชำระหนี้
ระยะที่ 3 โควิด-19 ระลอกใหม่
1.ขยายเวลามาตรการระยะ2 ออกไปถึง 30 มิถุนายน 2564
สินเชื่อบ้าน
ระยะที่ 1 สิ้นสุดมาตรการ 30 มิถุนายน 2563
-วงเงินไม่เกิน 3 ล้านบาท
1.พักชำระเงินต้น 3 เดือน และลดดอกเบี้ยให้ตามความเหมาะสม
ระยะที่ 2 สิ้นสุดมาตรการ 31 ธันวาคม 2563
-ไม่จำกัดวงเงิน
1.เลื่อนชำระค่างวด(เงินต้นและดอกเบี้ย) 3 เดือน หรือ
2.เลื่อนชำระเงินต้น 3 เดือนและพิจารณาลดดอกเบี้ยตามความเหมาะสม หรือ
3.ลดค่างวดโดยขยายเวลาการชำระหนี้
ระยะที่ 3 โควิด-19 ระลอกใหม่
1.ขยายเวลามาตรการระยะ 2 ออกไปถึง 30 มิถุนายน 2564