ธนาคารกรุงศรีทุ่มงบลงทุนดิจิทัล 2.4หมื่นล้าน ภายใต้แผนธุรกิจระยะกลางฉบับใหม่ปี2564-2566

03 ก.พ. 2564 | 08:44 น.

ธนาคารกรุงศรีทุ่มงบลงทุนดิจิทัล 3ปี2.4หมื่นล้าน-ไม่ลดพนักงาน-ตั้งเป้าสินเชื่อปี2564 โต5%

ธนาคารกรุงศรีทุ่มงบลงทุนดิจิทัล 2.4หมื่นล้าน ภายใต้แผนธุรกิจระยะกลางฉบับใหม่ปี2564-2566

ธนาคารกรุงศรีทุ่มงบลงทุนดิจิทัล 3ปี2.4หมื่นล้าน-ไม่ลดพนักงาน-ตั้งเป้าสินเชื่อปี2564 โต5%พร้อมยกระดับเทคโนโลยี - มุ่งเป็น “สถาบันการเงินไทยที่เป็นหนึ่งในใจลูกค้าพร้อมเชื่อมโยงความต้องการลูกคาทั่วทั้งภูมิภาคอาเซียน”

ธนาคารกรุงศรีทุ่มงบลงทุนดิจิทัล 2.4หมื่นล้าน ภายใต้แผนธุรกิจระยะกลางฉบับใหม่ปี2564-2566

นายเซอิจิโระ อาคิตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)  แถลงนโยบายการดำเนินธุรกิจในปี 2564 ภายใต้แนวคิด “Connecting ASEAN for Sustainable Growth” โดยระบุว่า เมื่อมองย้อนกลับไปที่แผนธุรกิจระยะกลางฉบับที่ 2 ซึ่งครอบคลุมปี 2561-2563 ที่ผ่านมา ธนาคารกรุงศรีฯสามารถบรรลุเป้าหมายในการก้าวสู่การเป็นกลุ่มสถาบันการเงินชั้นนำของประเทศไทย โดยได้รับการยกย่องให้เป็นสถาบันการเงินที่มีความสำคัญเชิงระบบ พร้อมด้วยคุณภาพของสินทรัพย์ที่แข็งแกร่ง การเร่งขับเคลื่อนองค์กรด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล และการขยายธุรกิจสู่ภูมิภาคอย่างรวดเร็ว   หากพิจารณาจากความสำเร็จที่เกิดขึ้นและความท้าทายต่าง ๆ ในช่วงแผนธุรกิจระยะกลาง  รวมถึงปัจจัยจากวิกฤตการระบาดของโควิด-19 และผลกระทบที่ยืดเยื้อ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ของสภาวะตลาดและภาพรวมเศรษฐกิจทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก กรุงศรีจึงได้กำหนดแผนธุรกิจระยะกลางฉบับใหม่ซึ่งครอบคลุมปี 2564-2566 ด้วยจุดมุ่งหมายสู่การเป็น “สถาบันการเงินไทยที่เป็นที่หนึ่งในใจลูกค้า พร้อมเชื่อมโยงความต้องการของลูกค้าทั่วทั้งภูมิภาคอาเซียน” 

ทั้งนี้ ภายใต้แผนธุรกิจระยะกลางฉบับใหม่ปี 2564-2566 กรุงศรีได้วางกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจ 5 ประการ คือ 1. การปฏิรูปธุรกิจลูกค้ารายย่อยให้เป็นหนึ่งเดียว (One Retail Transformation) โดยอาศัยฐานข้อมูลลูกค้าขนาดใหญ่ของกรุงศรีเพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เข้าถึงความต้องการเฉพาะตัวของลูกค้าและสอดประสานเป็นหนึ่งเดียวกับประสบการณ์ลูกค้าในทุกช่วงชีวิต 

2. การเสริมสร้างประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจด้านลูกค้าธุรกิจ (Commercial Business Enhancement) ผ่านการเร่งสร้างแพลตฟอร์มดิจิทัลสำหรับห่วงโซ่ธุรกิจ (value chains) และการให้บริการข้ามกลุ่มลูกค้า  3. การสร้างระบบนิเวศของกรุงศรีเองและการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจใหม่ (Ecosystem and Partnership) เพื่อขยายฐานลูกค้า  4. การขยายธุรกิจสู่ระดับภูมิภาคอาเซียน (ASEAN Expansion) เปิดโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ สำหรับกรุงศรีและลูกค้าในตลาดอาเซียน โดยตั้งเป้าเพิ่มสัดส่วนรายได้จากการลงทุนและการช่วยเหลือลูกค้าในการแสวงหาโอกาสใหม่ ๆ ในอาเซียน และ 5. การสร้างรายได้จากธุรกิจใหม่ (New Revenue Stream) โดยอาศัยความแข็งแกร่งและศักยภาพด้านการวิจัยและพัฒนาของกรุงศรีในการพัฒนานวัตกรรมโซลูชั่นใหม่ ๆ

“สำหรับทิศทางการดำเนินธุรกิจในปี 2564 ภายใต้ภาวะความไม่แน่นอนจากการระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ในประเทศไทย กรุงศรียังคงมุ่งให้ความสำคัญกับการให้ความช่วยเหลือลูกค้า การรักษาคุณภาพสินทรัพย์ให้แข็งแกร่งต่อเนื่อง และการบริหารค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ ขณะเดียวกัน ก็เดินหน้าสู่เส้นทางใหม่ตามแผนธุรกิจระยะกลางฉบับใหม่ เพื่อก้าวสู่การเป็นสถาบันการเงินไทยที่เป็นที่หนึ่งในใจลูกค้าทั่วทั้งอาเซียน ซึ่งพร้อมเป็นพันธมิตรที่คอยช่วยเหลือและเชื่อมโยงทุกความต้องการด้านการเงินทั้งภายในประเทศและต่างประเทศอย่างครอบคลุมทั่วภูมิภาค” นายอาคิตะกล่าวเสริม

ในปี 2564 กรุงศรีคาดว่าเงินให้สินเชื่อจะเติบโตในระดับ 3-5% (มาจากการติบโตสินเชื่อลูกค้าขนาดใหญ่ 5-6% ,เอสเอ็มอีและรายย่อย 3-4%)และมีส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิที่ 3.1 – 3.3% การเติบโตของรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยอยู่ในระดับเดียวกับปีที่ผ่านมา และอัตราส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล)อยู่ที่ระดับต่ำกว่า 2.7% แต่เนื่องจากความไม่แน่นอนในปีนี้ธนาคารเน้นบริหารอย่างระมัดระวัง โดยต้องเฝ้าระวังคุณภาพสินทรัพย์เพราะอัตราเอ็นพีแอลทุกธนาคารมีการผ่อนคลายจึงให้ความสำคัญการตั้งสำรองต่อเอ็นพีแอลเพื่อรองรับความไม่แน่นอนแต่แนวโน้มการตั้งสำรองฯจะน้อยกว่าปีที่ผ่านมา

ธนาคารกรุงศรีทุ่มงบลงทุนดิจิทัล 2.4หมื่นล้าน ภายใต้แผนธุรกิจระยะกลางฉบับใหม่ปี2564-2566

ต่อข้อถามนโยบายการลงทุนด้านดิจิทัลของธนาคารนั้น นางดวงดาว  วงศ์พนิตกฤต   กรรมการเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกรุงศรีอยุธยากล่าวว่า  จากทุกพื้นที่ที่ธนาคารให้ความสำคัญในการดำเนินธุรกิจ ไอทียังมีความสำคัญในการลงทุนเทคโนโลยีและดิจิทัลแต่ละปีเป็นจำนวนเงิน 8,000-8,500ล้านบาทต่อปี ขณะเดียวกันจะตัดทอนค่าใช้จ่ายอื่นๆแต่ยังคงค่าใช้จ่ายด้านการลงทุนดิจิทัลอย่างต่อเนื่องทั้งบิ๊กดาต้าเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ความเข้าใจในลูกค้าและเพื่อพัฒนาบริการเสนอลูกค้าอย่างตรงใจ ด้านปัญญาประดิษฐ์(AI) ระบบนิเวศน์ รวมถึงการพัฒนาแพลตฟอร์มแบบเปิดและบริการระหว่างประเทศ เป็นต้น

“ส่วนความคืบหน้าแผนนำบริษัทเงินติดล้อเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์นั้น เมื่อวันที่ 24 ธ.ค.2563เราได้ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสนอขายหุ้น(Filling)ให้กับนักลงทุนทั่วไปเป็นครั้งแรก(ไอพีโอ)ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์หรือก.ล.ต.ซึ่งปกตติก.ล.ต.จะใช้เวลาพิจารณาราว 6เดือน หากเป็นไปตามไทม์ไลน์นี้คาดว่ากลางปีก.ล.ต.น่าจะอนุมัติรายได้และเราจะมีเวลาอีก 1ปีเพื่อปิดรายการฉะนั้นอย่างเร็วอาจจะเห็นปลายปีนี้หรือกลางปี2565 ปัจจุบันกำลังพิจารณาเรื่องราคากันอยู่และแนวโน้มจะลดสัดส่วนการถือหุ้นเหลือ 30%จากปัจจุบันถืออยู่ 50%”

นายไพโรจน์  ชื่นครุฑ  ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านกลยุทธ์และวางแผนธุรกิจองคกร  ธนาคารกรุงศรีอยุธยา กล่าวว่า  ธนาคารมีเป้าหมายระยะข้างหน้าที่จะเพิ่มสัดส่วนการปล่อยสินเชื่อผ่านช่องทางดิจิทัลเป็น 10%จากปัจจุบันอยู่ที่ 3-5%