ไตรมาส 4/2563 หนี้ครัวเรือนของไทยปิดสิ้นปี 2563 ที่ผ่านมา ด้วยภาพของระดับหนี้ครัวเรือนที่ทะลุ 14 ล้านล้านบาท ซึ่งนับเป็นจุดสูงสุดใหม่ในรอบ 18 ปีตามสถิติที่มีการเก็บรวบรวมของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) โดยหนี้ครัวเรือนดังกล่าวคิดเป็นสัดส่วน 89.3% เมื่อเทียบกับจีดีพีในปี 2563 ขณะที่ข้อมูลสำรวจภาวะหนี้สินและการออมของประชาชนในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลโดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยในช่วงเดือนมีนาคม 2564 สะท้อนว่า ผลกระทบทางเศรษฐกิจจากวิกฤตโควิด 19 ทำให้กระแสรายได้และสถานะทางการเงินของครัวเรือนบางกลุ่มย่ำแย่ลง ซึ่งตอกย้ำวังวนปัญหาหนี้เพิ่มเร็วกว่ารายได้
• สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพี ปี 2563 ขยับขึ้นมาที่ 89.3% … แม้โควิด 19 ทำให้หนี้เติบโตช้าลง แต่ระดับหนี้ยังเพิ่มขึ้นสวนทางเศรษฐกิจที่หดตัว
จากผลสำรวจภาวะหนี้สินและการออมของประชาชนในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลในเดือนมีนาคม 2564 ของศูนย์วิจัยกสิกรไทย พบว่า วิกฤตโควิด 19 สร้างแรงกดดันต่อครัวเรือนหลายกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มผู้กู้รายย่อยที่ประกอบธุรกิจ (ขอสินเชื่อในนามบุคคลเพื่อเสริมสภาพคล่องให้กับภาคธุรกิจ) และกลุ่มที่มีปัญหาด้านรายได้ (สถานะของการทำงานและชั่วโมงการทำงานที่ปรับเปลี่ยนไป เช่น โดนลดชั่วโมงการทำงาน ค่าจ้าง และเงินเดือน) ซึ่งผู้กู้ทั้ง 2 กลุ่มนี้อาจต้องเผชิญกับแรง
นอกจากนี้ หากพิจารณาเฉพาะประชาชนที่มีเงินออมในผลสำรวจฯ ในปี 2564 จะพบว่า มีประชาชนเพียง 38.9% จากประชาชนผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด เป็นผู้ที่มีเงินออม แต่ในจำนวนนี้ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่มีเงินออมไม่สูงมาก โดยหากพิจารณาเฉพาะกลุ่มผู้ที่มีเงินออมในผลสำรวจฯ พบว่า มีเพียง 46.2% เท่านั้นที่มีเงินออมสะสมเพียงพอสามารถรองรับค่าใช้จ่ายได้มากกว่า 3 เดือน (ในกรณีที่ขาดรายได้ หรือตกงาน) ซึ่งสถานการณ์เงินออมจากผลสำรวจฯ รอบนี้ แย่ลงกว่าผลสำรวจฯ เมื่อปี 2562 อย่างชัดเจน โดยผลสำรวจฯ เมื่อปี 2562 สัดส่วนผู้มีเงินออมสะสมที่สามารถรองรับค่าใช้จ่ายได้มากกว่า 3 เดือน สูงถึง 75% ของผู้มีเงินออมทั้งหมด ดังนั้นแล้ว ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า ภาคครัวเรือนไทยจะต้องกลับมาให้ความสำคัญกับวินัยการออมมากขึ้นหลังจากวิกฤตโควิด 19 สิ้นสุดลง
กดดันจาก 2 โจทย์สำคัญที่หนักกว่ากลุ่มอื่นๆ คือ โจทย์เฉพาะหน้าในเรื่องความสามารถในการชำระคืนหนี้ และ/หรือมีช่องว่างในการก่อหนี้ก้อนใหม่ลดลง และโจทย์ระยะยาว เกิดขึ้นจากสถานการณ์รายได้ที่ไม่แน่นอน-ผันแปรตามสภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งมีผลกระทบต่อเนื่องไปยังระดับเงินออมของครัวเรือนให้ลดต่ำลง ซึ่งภาคครัวเรือนอาจต้องกลับมาให้ความสำคัญกับปัญหานี้มาขึ้นหลังจากวิกฤตโควิด 19 สิ้นสุดลง
ความสามารถในการชำระคืนหนี้ของลูกหนี้หลายกลุ่ม ถดถอยลงจากผลกระทบโควิด 19 โดยเฉพาะผู้กู้รายย่อยที่ประกอบธุรกิจ และผู้กู้รายย่อยที่มีปัญหาด้านรายได้
ผลสำรวจฯ ของศูนย์วิจัยกสิกรไทย พบว่า ผลกระทบโควิด 19 ทำให้กลุ่มผู้กู้รายย่อยที่ประกอบธุรกิจ และผู้กู้รายย่อยที่มีปัญหาด้านรายได้ มี “ภาระหนี้” หรือ Debt Service Ratio (DSR) สูงกว่าผู้กู้ในกลุ่มอื่นๆ โดย DSR ของผู้กู้รายย่อยที่ประกอบธุรกิจอยู่ที่ 44.1% ของรายได้ต่อเดือนในช่วงต้นปี 2564 ส่วน DSR ของผู้กู้รายย่อยที่มีปัญหาด้านรายได้อยู่ที่ 43.8% ซึ่งภาระหนี้ของผู้กู้ทั้ง 2 กลุ่มดังกล่าวอยู่สูงกว่าค่าเฉลี่ย DSR ภาพรวมของผู้ตอบแบบสอบถามในผลสำรวจฯ รอบนี้ซึ่งอยู่ที่ 42.8% ของรายได้ต่อเดือน
อย่างไรก็ดีคงต้องยอมรับว่า วิกฤตโควิด 19 ซึ่งมีผลกระทบรุนแรงในวงกว้างต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจในหลายภาคส่วน ก็ทำให้ DSR ภาพรวมในปี 2564 ขยับสูงขึ้นเมื่อเทียบกับ DSR ที่ 39.4% ในปี 2562 ที่ไม่มีโควิด 19 ซึ่งสะท้อนกว่า สถานะทางการเงินของประชาชนค่อนข้างตึงตัวมากขึ้น และสถานการณ์รายได้ของประชาชนหลายกลุ่มเริ่มจะไม่สัมพันธ์กับหนี้สินที่ต้องแบกรับภาระ
และเมื่อสอบถามถึงความสามารถในการผ่อนชำระคืนหนี้ในอนาคตนั้น ประชาชนส่วนใหญ่ กว่า 3 ใน 4 ของผลสำรวจฯ แสดงความกังวล เนื่องจากยังคงมีประเด็นรายได้ที่ไม่แน่นอน (45.3% ของผู้ตอบ) และค่าครองชีพและภาระหนี้เพิ่มขึ้นเร็วกว่ารายได้ (41.4%) รวมถึงการที่ภาระผ่อนหลังมาตรการเยอะและนานขึ้น (12.7%) ซึ่งตอกย้ำว่าปัญหาหนี้ครัวเรือนสูงน่าจะยังเป็นข้อจำกัดสำคัญในการฟื้นตัวของการใช้จ่ายภาคครัวเรือนในระยะที่เหลือของปี
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ทยอยฟื้นตัวขึ้นจากวิกฤตโควิด 19 น่าจะทำให้เงินกู้ยืมของภาคครัวเรือนปี 2564 มีโอกาสเติบโตขึ้นสูงกว่าปี 2563 ที่เติบโตเพียง 3.9% ซึ่งภาพดังกล่าวอาจส่งผลต่อเนื่องให้สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีขยับสูงขึ้นมาอยู่ในกรอบประมาณ 89.0-91.0% ต่อจีดีพีในปี 2564 เทียบกับระดับ 89.3% ต่อจีดีพีในปี 2563
อ่านฉบับเต็ม : หนี้ครัวเรือนปี2564ยังมีแนวโน้มสูงต่อเนื่องhttps://medias.thansettakij.com/media/pdf/2021/1617318739.pdf