โควิด-19ระลอก3 ระบาดหนัก มีผู้ติดเชื้อโควิด ทะลุ7หมื่นราย ที่น่าตกใจคือมีอัตราการติดเชื้อแล้วเสียชีวิตในเวลาอันรวดเร็ว จึงเป็นสาเหตุให้ การเดินทางท่องเที่ยวหยุดชะงักอีกทั้งรัฐบาลรวมถึงจังหวัดยกมาตราการควบคุมเข้มขึ้น ทำให้ธุรกิจโรงแรมร้านอาหารที่ได้รับความบอบซ้ำมาตั้งแต่วิกฤติโควิดรอบแรก ต่างประสบปัญหา ซึ่งสอดรับกับธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผย
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการที่พักโรงแรม เดือนเมษายน2564 โดยจาการสำรวจ พบว่าผู้ประกอบการที่พักโรงแรม ได้รับผลกระทบมากขึ้น ในเดือนดังกล่าว จากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา สายพันธ์ใหม่ หรือโควิด-19 ระลอก3 จากการสำรวจผู้ประกอบการที่พักโรงแรม 188 แห่ง (เป็น ASQ 30แห่ง) หรือโรงแรมที่เป็น สถานที่กักตัวทางเลือก หรือ Alternative State Quarantine (ASQ) ระหว่างวันที่ 12-26 เมษายน 2564พบว่า ในด้าน 'สภาพคล่อง' ของผู้ประกอบการโรงแรม พบว่า 56% มีสภาพคล่องลดลง 20% หากเทียบกับเดือนก่อนหน้า และ 47% มีสภาพคล่องเพียงพอในการดำเนินธุรกิจได้ไม่เกิน 3 เดือน
หากดูด้าน 'สถานะกิจการ' พบว่า 46% เปิดกิจการปกติ และ 13 % มีการปิดกิจการชั่วคราว โดยโรงแรมที่ปิดชั่วคราว ส่วนใหญ่อยู่ในภาคใต้ที่เดิม เน้นรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยคาดว่าจะกลับมาเปิดกิจการอีกครั้ง ในไตรมาส 4ปี 2564 ปีนี้
อีกทั้ง 80% มองว่าผลกระทบของโควิด-19 ระลอก 3 ในเดือนเมษายนส่งผลกระทบต่อรายได้มากกว่าระลอก 2 โดยโรงแรมส่วนใหญ่ รายได้ยังไม่ฟื้นตัว โดย 39% ของโรงแรมที่ปิดกิจการอยู่รายได้ยังกลับมาไม่ถึง 10% เมื่อเทียบกับช่วงปกติ ก่อนเกิดโควิด-19 และโรงแรมที่รายได้กลับมาเกินครึ่งมีเพียง 25% เท่านั้น
นอกจากนี้ หากดูข้อมูลสรุปการสำรวจ โรงแรมจาก 158 แห่ง ไม่รวมโรงแรมที่เป็น ASQ พบว่า เดือนเมษายนที่ผ่านมาอัตราเข้าพักอยู่เพียง 18% ยกเว้นภาคใต้ อัตราเข้าพักอยู่ที่ 23% โดยภาคเหนืออยู่ที่ 4.1% ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 10.9% ภาคกลาง 18.7% ภาคใต้ 23.2%
ทั้งนี้อัตราเข้าพักดังกล่าวน้อยกว่าที่คาด เนื่องจาก โควิด-19 ระลอก3 ทำให้โรงแรมจำนวนมาก 51% ถูกยกเลิกการจองห้องพักไปมากกว่าครึ่ง โดยคาดการณ์อัตราเข้าพักเฉลี่ยทั้งประเทศ เดือนพ.ค. อยู่เพียง 9% และต่ำกว่า 5% ในภาคเหนือ
ขณะด้านการจ้างงาน พบว่า การจ้างงาน เฉลี่ย 54% ของการจ้างงานเดิมก่อนโควิดระลอก 3 หากไม่รวมที่ปิดกิจการชั่วคราวจะเฉลี่ยอยู่ที่ 59% โดยภาคเหนือการจ้างงนอยู่ที่ 69.8% ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 58.4% ภาคกลาง 58.9% ภาคใต้ 41.7% โดยวิธีการบริหารจัดการพนักงาน เช่น การให้ใช้วันลาประจำปี สอง ให้สลับวันมาทำงาน สาม leave without pay และ ลดเงินเดือน
สำหรับภาพรวมของโรงแรม ASQ จำนวน 30 แห่ง พบว่า การฟื้นตัวของรายได้ ไม่แตกต่างกับโรงแรมที่ไม่เป็น ASQ อย่างมีนัยสำคัญ มีเพียง 27% ที่รายได้กลับมาเกินครึ่ง และจ้างงานกลับมาที่ 55%ขณะที่อัตราเข้าพัก อยู่ในระดับสูงกว่าโรงแรมที่ไม่เป็น ASQ แต่มีแนวโน้มลดลง อยู๋ที่จำนวน 30% และ 24% ในเดือนเมายนและพฤษภาคม ตามลำดับ
ส่วนสภาพคล่อง มีราว 37% มีสภาพคล่องลดลง มากกว่า 20% หากเทียบกับเดือนก่อน และ 43% มีสภาพคล่องเพียงพอในการดำเนินธุรกิจไม่เกิน 3 เดือนเท่านั้นดังนั้นสำหรับมาตรการช่วยเหลือที่กลุ่มนี้ต้องการ เช่น การสนับสนุนค่าจ้างพนักงานเดิม การพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย มาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว