กนง.ชี้รัฐหาวัคซีนน้อยกว่า 65ล้านโดสเศรษฐกิจสูญ9แสนล้าน ประเมิน การจัดหาและกระจายได้เร็วประชาชนพร้อมใจฉีด ดันจีดีพีขยายตัว 3-5.7%ปีนี้และปี65
กนง. ชี้วัคซีนเป็นหัวใจของนโยบายเศรษฐกิจ ประเมินการจัดหา กระจายและประชาชนพร้อมใจฉีดวัคซีนช่วยหนุนจีดีพีขยายตัวได้มาก - แต่หากจัดหาได้ 64.4ล้านโดส กว่าจะเกิดภูมิคุ้มกันหมู่ล่าช้าถึงปีหน้ากินต้นทุนเศรษฐกิจเพิ่มราว 5.7%ประมาณ 8-9แสนล้านบาทจีดีพีขยับ 1.0%และ1.1%ปีนี้และปีหน้า
นายทิตนันทิ์ มัลลิกะมาส เลขานุการคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) เปิดเผยว่าที่ประชุมกนง. ครั้งที่3/2564เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2564มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 0.50%ต่อปี เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจซึ่งแนวโน้มยังไม่ความไม่แน่นอน
สำหรับแรงขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจไทยมาจากการส่งออกสินค้าที่ฟื้นตัวตามเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า แต่ผลดีต่อการจ้างงานตลาดแรงงานโดยรวมยังมีจำกัด ขณะที่มาตรการเยียวยาและมาตรการการเงินเพิ่มเติมของภาครัฐจะมีส่วนสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในระยะสั้น แต่แรงกระตุ้นภาครัฐในงบประมาณปี2565 อาจลดลงจากการเร่งเบิกจ่ายบ้าง ,พ.ร.ก.เงินกู้ในปีงบประมาณปัจจุบัน(2564)ทั้งนี้ คณะกรรมการเห็นว่าความต่อเนื่องของมาตรการภาครัฐและการประสานนโยบายมีความสำคัญต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจากการระบาดระลอกใหม่ โดยควรเร่งจัดหาและกระจายวัคซีนเพื่อควบคุมไม่ให้การระบาดยืดเยื้อ ,มาตรการทางการคลังควรรักษาความต่อเนื่องของแรงกระตุ้นทางการคลัง ลดผลกระทบของการระบาด รวมทั้งสนับสนุนการฟื้นฟูเศรษฐกิจในระยะต่อไป
นายทิตนันทิ์กล่าวเพิ่มเติมว่า คณะกรรมการกนง.ประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจกรณีต่างๆ หลังเหตุการณ์ระบาดโควิดระลอก 3 โดยมีการปรับลดประมาณการเศรษฐกิจรอบนี้ ซึ่งระยะสั้นเป็นผลจากการระบาดของโควิดระลอก3 ส่วนระยะถัดไปเป็นผลจากจำนวนนักท่องเที่ยวและการเปิดประเทศ ทั้งนี้ ผลกระทบของการระบาดโควิดระลอก3 แม้ว่าคาดว่าจะมีผลกระทบมากกว่าระลอกสอง แต่น้อยกว่าการระบาดของระลอกแรก แต่ผลกระทบต่อจีดีพีระลอก3 จะน้อยกว่าระลอกแรกเมื่อปีก่อน แต่สายป่านของครัวเรือนและเอสเอ็มอีมีจำกัดลงเรื่อยๆ เพราะสภาพคล่องและเงินออมที่หร่อยหรอ เนื่องจากถูกกระทบในรอบแรกต่อเนื่องยาวนานมาจนถึงปัจจุบันซึ่งยังไม่สามารถฟื้นตัว
ธปท.ประมาณการเศรษฐกิจรอบนี้ ขึ้นอยู่กับ วัคซีน ซึ่งเป็นพระเอกของนโยบายเศรษฐกิจ ถ้าจัดหาวัคซีน กระจายวัคซีน และประชาชนพร้อมใจกันฉีดวัคซีนได้เร็วและเกิดภูมิคุ้มกันหมู่จะช่วยเศรษฐกิจให้ขยายตัวได้เร็ว ระหว่าง 3-5.7%ในปีนี้และปีหน้า
อย่างไรก็ตาม ธปท.มองเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มของการฟื้นตัวช้าลง ซึ่งจากผลกระทบของการระบาดของโควิดระลอก3 ธปท. ประมาณการเศรษฐกิจด 3กรณี ได้แก่ 1.กรณีจัดหา กระจายวัคซีนได้เร็วจำนวน 100ล้านโดสภายในปีนี้จะสามารถเกิดภูมิคุ้มกันหมู่กับประชาชน ในไตรมาสแรกของปีหน้า ซึ่งเป็นกรณีดีที่สุด และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจะปรับตัวได้เร็วหลังจากที่ถูกกระทบในไตรมาสสอง จะเห็นจีดีพีปีนี้ขยายตัว 2% และ 4.7%ในปี2565
2.กรณีจัดหาและกระจายวัคซีนจำนวน 64.4ล้านโดสตามแผนเดิมซึ่งล่าช้าออกไปกว่าจะเกิดภูมิคุ้มกันได้ประมาณไตรมาส3 จะทำให้ต้นทุนเศรษฐกิจจะเพิ่มขึ้นประมาณ 3%ของจีดีพีหรือประมาณ 5แสนล้านบาท โดย จีดีพีปีนี้จะขยับได้ 1.5%และ 2.8%ในปีหน้า และกรณีที่ 3.การจัดหาและกระจายวัคซีนได้น้อยกว่า 64.4ล้านโดส จีดีพีปีนี้จะขยับได้แค่ 1.0%และ 1.1%ในปีหน้า ) เพราะกว่าจะเกิดภูมิคุ้มกันหมู่ล่าช้าไปถึงปีหน้าและทำให้ต้นทุนเศรษฐกิจเพิ่มประมาณ 5.7%ของจีดีพีหรือราว 8-9แสนล้านบาท ทั้งนี้ต้นทุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจจะช่วยได้ดีขึ้นนั้น มาจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่สามารถเปิดประเทศได้เร็วขึ้น รวมถึงนักท่องเที่ยวในประเทศ
“การประชุมคณะกรรมการกนง.ครั้งนี้ มีการพูดถึง การจัดหาและการกระจายวัคซีนซึ่งเป็นพระเอกของนโยบายเศรษฐกิจ และมาตรการการเงินและอื่นๆเป็นมาตรการสนับสนุน โดยความเสี่ยงต่อการประมาณการครั้งนี้ คือ สถานการณ์ระบาดของโควิดที่รุนแรงและ การจัดหาและกระจายวัคซีน รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐเป็นปัจจัยเพิ่มเติม ซึ่งความเสี่ยงสำคัญระยะสั้นคือ ผลของการระบาดโควิดระลอก3 แต่ปลายปีนี้ไปถึงปีหน้า มีความไม่แน่นอนของการฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวที่เชื่อมโยงกับการจัดหาวัคซีน” นายทิตนันทิ์กล่าว
สำหรับผลของการฉีดวัคซีนได้เร็วนั้นมีประโยชน์หลายมิติ อาทิ ลดโอกาสการระบาดระลอกใหม่ ,ลดภาระทางการคลังจากการเยียวยา ถ้าควบคุมการระบาดระลอกต่อไปได้ ซึ่งความจำเป็นในการเยียวยาจะลดลง ขณะเดียวกันทำให้การเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติทำได้เร็วขึ้นทันฤดูกาลท่องเที่ยวปีนี้และสนับสนุนการท่องเที่ยวในปีหน้า
นอกจากนี้ ถ้าจัดหาวัคซีนมาได้เร็ว จะช่วยให้กลุ่มภาคแศรษฐกิจ (เอสเอ็มอี ท่องเที่ยว และภาคแรงงาน) เหล่านี้ที่ได้รับผลกระทบต่อเนื่องจะได้ฟื้นตัวเร็ว รวมถึงการบริหารจัดการเศรษฐกิจหันไปดูช่วงการฟื้นฟูได้
คณะกรรมกรกนง.ยังมีข้อสังเกตุในระยะสั้น โดยเฉพาะภาวะตลาดแรงงานบางกลุ่มเปราะบางเพิ่มมากขึ้น บางกลุ่มว่างงานมากขึ้น หากปล่อยทิ้งในระยะต่อไปจะเกิดเป็นแผลเป็นทางเศรษฐกิจที่รุนแรงขึ้น เห็นได้จากจากจำนวนผู้ว่างงานไตรมาสแรกปีนี้มีการปรับลดลงบ้าง แต่จำนวนผู้ว่างงานระยะปานกลางเริ่มเห็นสัญญาณผู้ว่างงานระยะยาวมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ยังมีผู้ที่จบการศึกษาและไม่เคยทำงานมาก่อนมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มและระยะต่อไปจะมีผู้จบการศึกษาใหม่เพิ่มอีก รวมถึงปีที่แล้วรัฐบาลมีการจ้างงานระยะสั้น 1-2ปีซึ่งกลุ่มนี้อาจจะกลับเข้ามาหางานเช่นกัน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :